รีเซต

#ย้ายประเทศกันเถอะ ส่องค่าแรงขั้นต่ำของประเทศน่าอยู่ในโลก

#ย้ายประเทศกันเถอะ ส่องค่าแรงขั้นต่ำของประเทศน่าอยู่ในโลก
Ingonn
5 พฤษภาคม 2564 ( 14:29 )
31.6K

จากกระแสร้อนแรงในโซเชียลมีเดีย ถึง #ย้ายประเทศกันเถอะ ทำให้มีการพูดถึงประเทศที่น่าอยู่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงมีการแชร์ประสบการณ์เชิงแนะแนวการศึกษา และแนะนำแนวทางประกอบอาชีพในต่างประเทศที่น่าสนใจอีกด้วย

 


วันนี้ True ID จึงรวบรวมค่าแรงขั้นต่ำของประเทศที่กำลังเป็นที่สนใจว่ามีค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่กันบ้าง

 


1.ประเทศฟินแลนด์
ค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ที่ประมาณ 1,011 บาทต่อชั่วโมง หรือประมาณ 26.96 ยูโร ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำที่สูงมาก

 

 

2.ประเทศสวีเดน
ค่าแรงขั้นต่ำ จะอยู่ที่ประมาณ 461 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งที่สวีเดนจะทำงานประมาณวันลละ 8 ชม. ทำให้วันนึงได้รายได้ขั้นต่ำประมาณ 3,688 บาท

 


3.ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 
มีกำหนดที่จะปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 3,500 ปอนด์ (ราว 140,000 บาท) ต่อเดือน ค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ประมาณ 23 ฟรังก์สวิสต่อชั่วโมง ราว 780 บาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทางรัฐตัดสินใจโหวตผ่านมติการปรับค่าแรงนี้ เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19

 

 

4.ประเทศเนเธอร์แลนด์
ตามกฎหมายแรงงานผู้ที่อายุ 21 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ 1,680 ยูโร หรือประมาณ 63,016.49 บาท กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานเต็มสัปดาห์ โดยปกติจะอยู่ที่ 36, 38 หรือ 40 ชั่วโมงเต็มสัปดาห์ หากเทียบค่าแรงขั้นต่ำเมื่อทำงานรายชั่วโมงจะอยู่ที่ประมาณ 365 – 406 บาท

 

 

5.ประเทศเกาหลีใต้ 
มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นในช่วงต้นปี โดยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมง 8,590 วอน หรือ 227 บาท และ 1,795,310 วอนต่อเดือน ประมาณ 47,424 บาท 
 

 

6.ประเทศสหรัฐฯ 
ค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลกลางในปี 2020 คือ 7.25 ดอลล่าร์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 229.71 บาท บางรัฐ ก็มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่สูงกว่าของรัฐบาลกลาง เช่น วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นรัฐที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดถึง 13.50 ดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 427.35 บาท
 

 

7.ประเทศแคนาดา 
ค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ และดินแดน โดยอยู่ที่ 11.32 – 15 ดอลล่าร์แคนาดา ต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ยที่ 13.16 ดอลลาร์แคนาดา ซึ่งประมาณ 309.34 บาท 
 

 

8.ประเทศเยอรมนี 
เยอรมนีได้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 9.35 ยูโร หรือประมาณ 339.36 บาท และอาจจะขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 10.45 ยูโร หรือประมาณ 381.02 บาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า 

 


9.ประเทศนิวซีแลนด์ 
อัตราค่าแรงต่อชั่วโมงได้เพิ่ม 1.20 ดอลล่าร์นิวซีแลนด์ หรือประมาณ 25.23 บาท หรือที่ 18.90 ดอลล่าร์นิวซีแลนด์ต่อชั่วโมง หรือชั่วโมงละ 397.38 บาท

 


 
10.ประเทศออสเตรเลีย
ได้มีการประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำในปี 2020-21 ที่จะเพิ่มขึ้น 1.75% เป็น 19.84 ดอลล่าร์ออสเตรเลียต่อชั่วโมง หรือประมาณ 445.17 บาท 

 

 

11.ประเทศสิงคโปร์
นับเป็นประเทศที่มีรายได้สูงสุดในอาเซียน โดยหลักๆ แล้วนักธุรกิจและนักธุรกิจจะเข้าไปประเทศสิงคโปร์ในฐานะของการเป็นบริษัทเทรดดิ้ง และโฮลดิ้ง คอมพานี โดยประชาชนมีรายได้ต่อหัวต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5,596 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 124,894 บาท

 

 

12.ประเทศบรูไน
มีรายได้หลักจากพลังงาน ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมดของบรูไน ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 3,242 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 78,393 บาท

 

 

13.ประเทศมาเลเซีย
ประกาศเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำรายเดือน เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยจะปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เฉพาะในเมืองหลักๆ เท่านั้น โดยปรับเพิ่มเป็น 1,200 ริงกิต ประมาณ 8,700 บาท หรือคิดเป็นวันละ 395 บาท

 

 

14.ประเทศฟิลิปปินส์
อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำรายวันของฟิลิปปินส์ บังคับใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยอัตราค่าจ้างแรงงานสูงสุดวันละ 537 เปโซ หรือ 320 บาท สำหรับแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในภาคเกษตรกรรม และหากอยู่ในภาคเกษตร ธุรกิจค้าปลีก และโรงงาน ที่มีคนงานต่ำกว่า 15 คน จะได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละประมาณ 300 บาท

 

 

15.ประเทศอินโดนีเซีย
ประกาศเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำรายเดือน เมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จะปรับอัตราค่าจ้างอีกร้อยละ 8.51 จากเดิมในเขตที่มีค่าแรงสูงสุดอยู่ที่ 3.9 ล้านรูเปียห์ จะเพิ่มเป็น 4.2 ล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 9,250 บาท หากคิดเป็นรายวันจะอยู่ที่ประมาณ 420 บาทต่อวัน ขณะที่ในเขตที่ค่าจ้างต่ำสุดอยู่ในเขตพิเศษยอกยาการ์ตา ทางตอนใต้ของเกาะชวา โดยมีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำประมาณ 3,700 บาท หรือวันละ 168 บาท


ทั้งนี้การกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในอินโดนีเซียแบ่งออกเป็น 34 เขต เขตค่าจ้างแรงงานสูงๆ คือ ในเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงจาร์กาต้า ปาปัว สุลาเวสีเหนือ

 


ขณะเดียวกัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จับตา กรุ๊ปเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” หากมีเนื้อหาสร้างความแตกแยก สร้างความเกลียดชัง แต่หากเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษาหรืออาชีพในต่างประเทศ รัฐบาลคงไม่ปิดกั้น เพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีความเป็นห่วงในบางข้อความที่ไม่เหมาะสม อาทิ การแนะนำวิธีลักลอบเข้าเมือง หรือการอาศัยอยู่เกินกำหนดอย่างผิดกฎหมาย หรือที่เรียกว่า "โดดวีซ่า" ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และอาจจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

 

 


ข้อมูลจาก Rocket Media Lab ย้ายไปประเทศไหนดี , businesstoday , thematter

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง