รีเซต

เผายาเสพติดครั้งใหญ่ 25 ตัน มูลค่ามหาศาล

เผายาเสพติดครั้งใหญ่ 25 ตัน มูลค่ามหาศาล
77ข่าวเด็ด
26 มิถุนายน 2563 ( 07:25 )
117
เผายาเสพติดครั้งใหญ่ 25 ตัน มูลค่ามหาศาล

พระนครศรีอยุธยา-เผาเท่าไหร่ก็ยังจับไม่หมด สธ. เผายาเสพติดให้โทษครั้งใหญ่ รวมน้ำหนักกว่า 25 ตัน มูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

วันที่ 26 มิถุนายน  ที่ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางชั้นต้นมีคำสั่งหรือพิพากษาให้ริบของกลาง โดยมี นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทูตานุทูต 

ผู้บริหารจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  ร่วมเป็นสักชีพยานในครั้งนี้  โดยมีของกลางในคดียาเสพติดรวมทั้งสิ้น 2,751 คดี  จำนวน 25,301 กิโลกรัม ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า น้ำหนักกว่า 18,303 กิโลกรัม (ประมาณ 203 ล้านเม็ด) มูลค่าประมาณ 40,674 ล้านบาทยาไอซ์น้ำหนักกว่า 5,878 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 12,932 ล้านบาท เฮโรอีน น้ำหนักกว่า 541 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 2,301 ล้านบาท ยาอี น้ำหนักกว่า 26 กรัม มูลค่าประมาณ 53,500 บาท ฝิ่น น้ำหนักกว่า 9.41 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 941,200 บาท โคคาอีน น้ำหนักกว่า 10.70 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 32 ล้านบาท และยาเสพติดให้โทษอื่น ๆ น้ำหนักกว่า 557 กิโลกรัม  รวมหนักกว่า 25,301 กิโลกรัม  มูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท

 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขจัดยาเสพติดให้โทษให้หมดไปทุกรูปแบบ โดยในปีนี้ถือเป็นครั้งที่ 50 แล้ว และเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์  รวมหนักกว่า 25,301 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท 

และเนื่องจากจำนวนยาเสพติดให้โทษของกลางที่จะเผาทำลายในปีนี้มีจำนวนมาก จึงได้กำหนดวันเผาทำลายเพิ่มเติมในวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563 โดยของกลางทั้งหมดจะถูกนำไปเผาทำลายที่ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ด้วยวิธีไพโรไลติก อินซิเนอะเรชั่น (Pyrolytic Incineration) ซึ่งเป็นการเผาที่อุณหภูมิสูงมาก ไม่ต่ำกว่า 850 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้เกิดการสลายตัวของโมเลกุลกลายเป็นคาร์บอนในระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 15 มิถุนายน 2563 นำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัดๆ แล้ว 128,520 คน คิดเป็นร้อยละ 60.92 จากระบบสมัครใจ 4,490 คน ระบบบังคับบำบัด 66,253 คน และระบบต้องโทษ 13,788 คน ทั้งนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมให้คำปรึกษาและนำเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยประชาชนสมารถสอบถามข้อมูลการเลิกยาเสพติดได้ที่สายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง