รีเซต

ทุบบ้านเรือนเก่าชี้แจงไม่เคลียร์ เรื่องถึง ปปช.

ทุบบ้านเรือนเก่าชี้แจงไม่เคลียร์  เรื่องถึง ปปช.
77ข่าวเด็ด
19 มิถุนายน 2563 ( 23:35 )
153

 

ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์13 แจงTOR ไม่เคลียร์ พบไม่มีมาตรฐานการซ่อมบ้านเก่า รองอธิบดีกรมอุทยานฯขอโทษชาวแพร่ ยอมใช้งบประมาณกรมบูรณะ

เวลา13.00 น.วันที่19 มิถุนายน. นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์. ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดเวทีชี้แจงกรณีผู้รับผิดชอบจ้างผู้รับเหมาทุบทำลาย ซี่งมีผู้นับผิดชอบโครงการนายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 นายนายสมหวัง เรืองนิรัติศรัย รองอธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. นายต่อศักดิ์ ลาภมากผู้แทนบริษัทผู้รับเหมารื้อถอนห้างหุ้นส่วนจำกัดโกสินก่อสร้าง.  นายไกรสิน อุ่นใจจินต์ ผู้แทนสำนักศิลปากรจ.เชียงใหม่ ตัวแทนภาคประชาชน เครือข่ายภาคีรักษ์เมืองเก่า. นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่. นางพรรณี แสงสันต์เลขานายวรวัจน์เอื้ออภิญญกุล. อดีตส.ส. แพร่ นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่. นายวรญาณ. บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ในฐานะประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง เข้าร่วม

 

 

นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้กล่าวความรู้สึกแสดงความเสียใจกับเหตุการที่เกิดขึ้นพร้อมกับขอโทษชาวแพร่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น.และยืนยันว่าทางจังหวัดมีเจตนาในการอนุมัติให้ซ่อมแซมอาคาร. ไม่ใช่รื้อถอน จากนั้นได้เปิดให้นายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 ได้ทำการชี้แจงว่าเป็นโครงการในความรับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 แต่ได้มอบให้ผู้รับจ้างไปทำงานตามแผนงานที่สถาปนิกสำรวจออกแบบในTOR จากนั้นได้มอบให้ผู้รับจ้างคือห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่โกสินทร์ก่อสร้างได้ทำการชี้แจง ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้กับงานซ่อมแต่กลายเป็นรื้อถอน ผู้รับจ้างพยายามโชว์เอกสารว่าทำตามขั้นตอน ที่ประชุมไม่รับฟัง มีเสียงต่อว่าผู้รับจ้างว่าทำไปทำไม ในที่สุดก็เผยตัวเองว่าอดีตเป็นคนในชุมชนเชตวันเหมือนกันแต่ที่ทำไปเพราะผู้ว่าจ้าง

 

 

นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ชี้แจงว่าเอกสารที่มีการออกมาเผยแพร่เป็นเอกสารมอบอำนาจให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์13.รับผิดชอบงบประมาณ ส่วนโครงการนี้มาจากกลุ่มงานยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของจังหวัดที่เน้นไปที่พัฒนาเมืองเก่า โครงการนี้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเมืองเก่า. แต่สภาพที่เห็นก็รู้สึกเหมือนกันว่าไม่ถูกต้องนัก

 

 

กลุ่มอนุรักษ์และสื่อมวลชนถามหาหลักฐาน.TOR และผลการศึกษาทางวิชาการถึงสภาพบ้านก่อนรื้อถอน รวมทั้งการถอดประกอบได้ทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งของวัสดุหรืือไม่ ซึ่งทั้ง3 กรณีไม่มีคำตอบ


จนนางพรรณี. แสงสันต์ เลขานายวรวัจน์. เอื้ออภิญญกุล ได้มองเห็นความสับสนของการดำเนินงาน ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่านายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์. และนายศรีสุวรรณ. จรรยาได้รวมหลักฐานส่ง ปปช.แล้วในวันนี้

 

นายนายไกรสิน อุ่นใจจินต์. ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรเชียงใหม่ ผู้แทนจากกรมศิลปากร โครงการกังกล่าวยังไม่ถึงกรมศิลปากร ทราบจากข่าวพบว่าอาคารมีสภาพถูกรื้อถอนแล้ว. จึงได้เข้ามาดูซึ่งกลับคืนไม่ได้แล้วควรให้เป็นบทเรียนสำคัญ เพราะอาคารนี้เข้าข่ายโบราณสถานชัดเจน สิ่งที่ต้องคำนึงในการบูรณะใหม่ ต้องอยู่ที่เดิม วัสดุสำคัญที่มีอยู่ ศิลปะการทำงานของช่างไม้ในยุคนั้น สัดส่วนของบ้านรวมทั้งจิตวิญญาณความเป็นพื้นที่การป่าไม้วันที่21 มิถุนายนทีมทำงานเก็บรายละเอียดกรมศิลปากรจะเริ่มเข้ามาทำงาน

 

นายสมหวัง เรืองนิรัติศรัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่ากรมอุทฯต้องขอโทษในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมหางบประมาณในการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งอาจทำเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติการป่าไม้ไปเลย

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า. แม้มีการหาข้อยุติได้ท่าม กลางข้อสงสัยทำไมจึงทำลายบ้าน  อย่างไรก็ตามกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงยังคงต้องดำเนินการสอบเพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย ต้องมีผู้รับผิดชอบในความเสียหายทั้งทางวินัยและทางอาญา. ส่วนการฟื้นฟูในรูปแบบบูรณะใหม่เป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร ใช้งบประมาณของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์์พืชในปีงบประมาณ2563-2564

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง