จีนส่งโมดูล 'เมิ่งเทียน' สู่วงโคจร หนุนสร้างสถานีอวกาศขั้นสุดท้าย
เหวินชาง, 31 ต.ค. (ซินหัว) -- วันจันทร์ (31 ต.ค.) จีนส่งโมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียน (Mengtian) ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งนับเป็นการเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการก่อสร้างสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ของประเทศ
โมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียนจะรวมเข้ากับอีกสองโมดูล ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศก่อนหน้านี้และโคจรอยู่ที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกราว 400 กิโลเมตร โดยโมดูลเมิ่งเทียนถือเป็น "องค์ประกอบการก่อสร้างส่วนสุดท้าย" ที่จะทำให้สถานีอวกาศฯ ประกอบเป็นโครงสร้างรูปตัวที (T) ซึ่งเป็นรูปแบบสถานีอวกาศฯ ตามแผนเมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์มีการคาดการณ์ว่าการเชื่อมโมดูลเมิ่งเทียนเข้ากับอีกสองโมดูลจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง หลังจากมีการดำเนินงานขับเคลื่อนอย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงการเทียบท่าและการเคลื่อนย้ายในวงโคจรองค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (CMSA) ระบุว่าจรวดขนส่งลองมาร์ช-5บี วาย4 (Long March-5B Y4) ซึ่งบรรทุกโมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียน ทะยานออกจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชาง ในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของประเทศ ตอน 15.37 น. ตามเวลาปักกิ่งรายงานระบุว่าโมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียนแยกตัวออกจากจรวดฯ ในราว 8 นาทีถัดมา และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดสำเร็จ ทำให้องค์การฯ ประกาศว่าภารกิจดังกล่าวประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ โดยการส่งโมดูลขึ้นสู่อวกาศครั้งนี้ถือเป็นภารกิจการบิน ครั้งที่ 25 นับตั้งแต่จีนอนุมัติและริเริ่มโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมในปี 1992อนึ่ง การสร้างสถานีอวกาศเทียนกงเป็นห้องปฏิบัติการอวกาศแห่งชาติด้วยโมดูล 3 ชิ้น ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในความพยายามตลอดสามทศวรรษของจีน เพื่อพัฒนาโครงการอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมของประเทศ