3 เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาขยะอาหาร
รู้หรือไม่ ขยะจากอาหารที่เรากินเหลือ หรือที่ถูกคัดทิ้งจากร้านสะดวกซื้อ เมื่อขยะอาหารเหล่านั้นเน่าเสียจะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน (Methane) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกเกิดภาวะเรือนกระจก และเมื่อเกิดภาวะเรือนกระจกที่รุนแรงกว่าปกติ จะส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น กล่าวก็คือ ยิ่งเราก่อให้เกิดขยะจากอาหารมากเท่าไหร่ แนวโน้มความรุนแรงของภาวะเรือนกระจกของโลกเราก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
3 เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาขยะอาหาร
เซนเซอร์เคมีและชีวภาพสามารถใช้สำหรับการตรวจสอบอาหารและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ เพื่อการวัดเครื่องหมายความสด, สารก่อภูมิแพ้, เชื้อก่อโรค, สารปลอมปน และสารพิษ ซึ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบสถานะของอาหาร, ลดเศษอาหาร, ยืดอายุการเก็บรักษา และปรับปรุงคุณภาพอาหารโดยรวม
แอปพลิเคชันจำหน่ายอาหารเหลือ เช่น แอปพลิเคชัน Yindii (ยินดี) สำหรับส่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหาร, ซูเปอร์มาร์เก็ต และอื่น ๆ ในราคาถูก ทำให้อาหารเหล่านั้นไม่กลายเป็นอาหารหมดอายุและถูกทิ้งกลายเป็นขยะอาหาร
เว็บไซต์สร้างเมนูอาหาร เช่น www.supercook.com ที่จะช่วยสร้างสูตรอาหารจากวัตถุดิบที่เราเลือก ทำให้วัตถุดิบที่เหลือในตู้เย็นไม่ถูกปล่อยทิ้งไปจนเน่าเสีย และยังทำให้ได้เมนูอาหารใหม่ ๆ
ขยะอาหารในประเทศไทย
โดยในแต่ละปี อาหารกว่า 1,300 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก ต้องกลายเป็นขยะอาหารที่ถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า ในขณะที่คนกว่า 830 ล้านคน ทั่วโลกกลับประสบภาวะอดอยาก และสำหรับประเทศไทย กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของขยะเป็นขยะอาหาร ซึ่งคิดเป็นคนไทย 1 คน สร้างขยะอาหารประมาณ 250 กิโลกรัมต่อปี อย่างไรก็ตามแม้เทคโนโลยีช่วยแก้ปัญหาขยะอาหารระดับปลายทางจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขยะระดับต้นทางเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อลดการเกิดขยะอาหารตั้งแต่แรก
ข้อมูลจาก www.warpnews.org
ภาพจาก www.gettyimages.com