รีเซต

ทีมวิจัยข้ามชาติพัฒนาวิธี 'โคลนต้นไม้' ทางพันธุกรรม

ทีมวิจัยข้ามชาติพัฒนาวิธี 'โคลนต้นไม้' ทางพันธุกรรม
Xinhua
12 กุมภาพันธ์ 2567 ( 12:49 )
35

(แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกเหนือภูเขามะกอกในนครเยรูซาเล็ม วันที่ 29 ต.ค. 2022)

เยรูซาเล็ม, 12 ก.พ. (ซินหัว) -- เมื่อวันอาทิตย์ (11 ก.พ.) มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟของอิสราเอล เปิดเผยว่าทีมวิจัยข้ามชาติได้พัฒนาวิธีการโคลนต้นไม้ทางพันธุกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากดำเนินการศึกษามานาน 8 ปี โดยวิธีการดังกล่าวใช้วัสดุที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมกับสถาบันโวลเคนี (Volcani) ของอิสราเอลวารสารเนเจอร์ ไบโอเทคโนโลยี (Nature Biotechnology) ซึ่งเผยแพร่วิธีการข้างต้น ระบุว่าการวิจัยนี้มุ่งเน้นที่เทคนิคตัดชำกิ่งแบบทั่วไป ซึ่งสามารถทวีคูณคุณสมบัติของต้นไม้ตามที่ต้องการ เช่น รสชาติของผลไม้ และการต้านทานความแห้งและโรค ทว่าใช้ไม่ได้ในทางเศรษฐกิจกับพืชพันธุ์จำนวนมากที่มักหยั่งรากไม่ถึงร้อยละ 50 แม้ใช้ฮอร์โมนพืชออกซิน (auxin)ทีมนักวิจัยจึงสร้าง "ห้องสมุด" ของโมเลกุล ซึ่งจับยึดฮอร์โมนพืชออกซินสังเคราะห์เข้ากับกลุ่มสารเคมีต่างๆ เพื่อแสวงหาตัวเลือกที่ดีกว่าฮอร์โมนพืชออกซิน และหลังจากทำการทดลองกับต้นยูคาลิปตัส แกรนดิส ได้พบสารที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการหยั่งราก ทำให้สารออกฤทธิ์อยู่ในต้นไม้นานหนึ่งสัปดาห์ครึ่ง ซึ่งมากกว่าระยะสองวันอันเป็นมาตรฐานวิธีการใหม่นี้ช่วยเพิ่มอัตราการหยั่งรากเป็นร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าวิธีการแบบมาตรฐานถึง 6 เท่า โดยทีมนักวิจัยชี้ว่าวิธีการใหม่อาจลดต้นทุนของเกษตรกรและผู้บริโภค เพิ่มปริมาณผลผลิต และมีส่วนส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาพันธุ์พืชที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง