รองนายกฯ ไทยชี้ ไทยสนับสนุน 'ระบบพหุภาคี-แผนริเริ่มพัฒนาโลก'
กรุงเทพฯ, 1 ก.ค. (ซินหัว) -- ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เน้นย้ำว่าไทยสนับสนุนระบบพหุภาคี แผนริเริ่มการพัฒนาโลก (GDI) ที่จีนเป็นผู้นำเสนอ และแผนริเริ่มความร่วมมือ "บริกส์ พลัส" (BRICS Plus)
ดอนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวในแบบลายลักษณ์อักษรว่าไทยสนับสนุนบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของจีนในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบ ที่มีส่วนส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก โดยแผนริเริ่มการพัฒนาโลก และแผนริเริ่มความมั่นคงโลก สะท้อนความมุ่งมั่นของจีนที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียวของไทย มีแนวคิดหลักเดียวกันกับแผนริเริ่มการพัฒนาโลก โดยมุ่งเน้นความเจริญรุ่งเรืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการเติบโตที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม โดยดอนชี้ว่ามีอีกหลากหลายด้านที่ทั้งสองประเทศสามารถร่วมมือกันเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development)"ไทยยินดีเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรของแผนริเริ่มการพัฒนาโลกของจีน และหวังว่าค่านิยมร่วมของการเปิดกว้างและความครอบคลุมจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาระดับโลกที่มีความสมดุลยิ่งขึ้น" ดอนกล่าวดอนแสดงความคิดเห็นภายหลังการเสวนาระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาโลก ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์เมื่อสัปดาห์ก่อน โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย รับรองการสนับสนุนของไทยต่อระบบพหุภาคี แผนริเริ่มการพัฒนาโลก และแผนริเริ่มของจีนว่าด้วยการจัดตั้งบริกส์ พลัส อย่างเป็นทางการกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ดอนกล่าวชื่นชมความเป็นผู้นำของจีนในการปกป้องระบบพหุภาคี ระบุว่าการปฏิบัติตามระบบพหุภาคีเป็นหนทางเดียวเพื่อมุ่งหน้าสู่อนาคตดอนระบุว่าโลกกำลังเผชิญ "พายุแห่งวิกฤตอันเลวร้าย" ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) วิกฤตอาหารและพลังงานทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบางส่วนเป็นผลจากฝีมือมนุษย์ดอนแนะนำว่าเราควรร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาระดับโลก ซึ่งกำหนดแนวทางสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มั่นคงและการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนในยุคใหม่ แทนการใช้แนวทางแบบฝ่ายเดียวและการกีดกันทางการค้าดอนเน้นย้ำการสนับสนุนของไทยต่อแผนริเริ่มของจีนว่าด้วยการจัดตั้งบริกส์ พลัส อย่างเป็นทางการกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเขาเชื่อมั่นว่าเราสามารถขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และพัฒนาการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ผ่านการเข้าร่วมบริกส์ พลัสของไทยในปีนี้นอกจากนั้นดอนระบุด้วยว่าไทยในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก ยังคงมุ่งมั่นมีส่วนร่วมรับรองการขนส่งอาหารและสินค้าจำเป็นไปยังคนที่มีความต้องการอย่างราบรื่น เพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตอาหารระดับโลกด้วย