รีเซต

เช็กเส้นทางเดินรถ “บขส.” เดินทางข้ามจังหวัด เส้นทางไหนได้บ้าง?

เช็กเส้นทางเดินรถ “บขส.” เดินทางข้ามจังหวัด เส้นทางไหนได้บ้าง?
Ingonn
1 กันยายน 2564 ( 11:59 )
1.1K
เช็กเส้นทางเดินรถ “บขส.” เดินทางข้ามจังหวัด เส้นทางไหนได้บ้าง?

หลังจากที่ ศบค. มีมติ "คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย." ทำให้สามารถเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้ ทำให้ บขส.พร้อมเพื่อเปิดให้บริการประชาชน ตั้งแต่ 1 ก.ย. 64 นี้เป็นต้นไป ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 ของกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบก บขส.

 

 

 

ในการเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ระบบขนส่งสาธารณะจำกัดจำนวนผู้โดยสาร ไม่เกิน 75% นั้น ทาง บขส. ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A อาทิ เว้นระยะระหว่างกัน , หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น , สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา , ล้างมือบ่อย ๆ , ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ 

 

 

 

กรณีไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันได้ สามารถกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และหากเคยไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ขอให้ใช้มาตรการกักตนเอง (Self-quarantine) อย่างเคร่งครัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง

 

 

 

เช็กเส้นทางเดินรถ บขส. เปิดที่ไหนบ้าง


เส้นทางภาคเหนือ จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย


กรุงเทพฯ-คลองลาน


กรุงเทพฯ-หล่มเก่า


กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ข)


กรุงเทพฯ-ทุ่งช้าง


กรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์


กรุงเทพฯ-แม่สอด


กรุงเทพฯ-แม่สาย 


กรุงเทพฯ-ป่าแดด-เชียงของ

 

 

 

เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จำนวน 10 เส้นทาง ประกอบด้วย 


กรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู


กรุงเทพฯ-นครพนม


กรุงเทพฯ-เลย-เชียงคาน


กรุงเทพฯ-สุรินทร์


กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์


กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี


กรุงเทพฯ-มุกดาหาร


กรุงเทพฯ-รัตนบุรี


กรุงเทพฯ-จันทบุรี-ตราด 


กรุงเทพฯ-สระบุรี

 

 


เส้นทางภาคใต้ จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย 


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-ตะกั่วป่า-โคกกลอย


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-ภูเก็ต


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-กระบี่


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-ตรัง-สตูล


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-เกาะสมุย


กรุงเทพฯ (หมอชิต 2)-หาดใหญ่


กรุงเทพฯ-สงขลา 


กรุงเทพฯ-สุไหงโกลก

 

 

 

 


ช่องทางการจองตั๋วล่วงหน้าเดินทางกับ บขส. 


1.ผ่าน website บขส. https://tcl99web.transport.co.th/Home 

 


2.ร้าน 7-Eleven เคาน์เตอร์เซอวิส ทุกสาขา 

 


3.ตัวแทนจำหน่ายตั๋วของ บขส. และสามารถชำระค่าโดยสาร บขส. 

 

 

 

วิธีการจองตั๋วล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ บขส.


1.เข้าเว็บไซต์ ticket.transport

 


2.ค้นหาเที่ยวรถ และเลือกเที่ยวรถ

 


3.กรอกรายละเอียดแบบฟอร์ม การจองตั๋วรถ

 


4.ชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ

 


5.พิมพ์ตั๋ว ผ่านเว็บไซต์ด้วยตนเอง

 


6.เดินทางตามกำหนดการ

 

 

 

ช่องทางการชำระเงิน


เมื่อจองตั๋วโดยสารผ่านเว็บไซต์ แล้วได้รับรหัสการจอง นำรหัสการจองที่ได้ ไปชำระเงินและรับตั๋วโดยสารที่


1. ช่องจำหน่ายตั๋ว ภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร, เอกมัย, ถนนบรมราชชนนี) และที่ทำการสถานีเดินรถ บขส. ทั่วประเทศ

 


2. ตัวแทนรับชำระ 7-11 หรือ Counter Service ชำระเงินได้ที่ 7-11 หรือตัวแทนรับชำระที่มี Counter Service

 


3. บัตรเครดิต/ บัตรเดบิต

 

 

 

ใช้ “คนละครึ่ง” ซื้อตั๋ว บขส.ได้


สามารถใช้สิทธิ์โครงการ “คนละครึ่ง” ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตังค์” ได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าว ไม่สามารถใช้กับการจองตั๋วล่วงหน้าได้ และไม่สามารถยกเลิก/คืน/เปลี่ยนแปลงตั๋วได้ทุกกรณี 

 

 


สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม ได้ที่ ช่องจำหน่ายตั๋วรถโดยสารของ บขส. ทั่วประเทศ และ Call Center1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

ข้อมูลจาก บขส.

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง