เปิด 3 ข้อเรียกร้องจากผู้บริโภค ถึง ”ชัชชาติ” ล้มแผนขึ้นราคารถไฟฟ้า
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเพดานค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวราคา 59 บาทของนายชัชขาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และ คาดหวังกับผู้ว่าฯ กทม.ในเรื่องการทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงจนทำให้ผู้บริโภคทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากที่ผ่านมานายชัชขาติ เคยระบุในงานสัมมนาของสภาองค์กรของผู้บริโภค ในเวทีว่าที่ผู้ว่ากทม.ฯ ต่อการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่าไม่ควรต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว และเห็นว่าการกำหนดราคาค่าโดยสาร25-30 บาทมีความเป็นไปได้
ดังนั้นการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสาย 59 บาทจึงสร้างความผิดหวังให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้บริโภคต้องแบกรับค่าโดยสารในภาวะที่น้ำมันราคาแพง และค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องแบกค่าโดยสารในการเดินทางไปกลับมากถึง 118 บาท ซึ่งสูงกว่ารายได้ขั้นต่ำเกือบ 36 % ซึ่งถือว่าราคาสูงมากสำหรับผู้บริโภค
จึงเรียกร้องให้ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ยกเลิกมาตรการระยะสั้น หาทางออกในการแก้ไขปัญหาราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวระยาว โดยก่อนจะกำหนดราคใหม่ควรจะเปิดรับฟังความคิดเห็น ผู้บริโภค และหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอในเรื่องราคาดังกล่าว
“เรามีความหวังกับผู้ว่าฯกทม.ในการเข้าแก้ไขปัญหาเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ไม่อยากให้ผู้ว่าฯมาเพิ่มปัญหาใหม่ โดยหากผู้ว่าฯกทม.กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ไม่มองว่ารถไฟฟ้าเป็นขนส่งมวลชนสาธารณะทำให้การกำหนดราคาค่าโดยสารผิดพลาดไปด้วยไม่คำนึงถึงค่าโดยสารที่ผู้บริโภคยอมรับได้”
นางสารี กล่าวด้วยว่า เห็นด้วยการเก็บราคาค่าโดยสารส่วนต่อขยาย “คูคต-สะพรานใหม่-หมอชิต” แต่ราคาค่าโดยสารตลอดสายไม่ควรเกิน 44 บาท เพราะ ราคาดังกล่าวไม่ได้ไปรอนสิทธิในสัญญาสัมปทานที่ยังไม่หมดอายุสัมปทานในปี 2572 และเป็นราคาที่สอดคล้องกับอัตราสูงสุดของรถไฟฟ้าสีต่างๆ ในปัจจุบัน ที่กำหนดราคาสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ส่วนหลังหมดอายุสัมปทานในปี 2572 สามารถกำหนดราคาค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสายได้หลังจากหมดอายุสัมปทาน
ทั้งนี้ราคาค่าโดยสาร 25บาทสามารถทำได้จริงจากการทำข้อมูลวิชาการของสภาองค์กรผู้บริโภค โดยการคำนวณราคาค่าโดยสารจากการข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายการเดินรถของกรมขนส่งทางรางที่กำหนดราคา 49.83 บาท แต่สภาองค์กรของผู้บริโภคคำรวณค่าโดยสารจากรายได้ลงดลง 50 % และใช้ตัวเลขต้นทุนเท่าเดิมมยังพบว่ากทม.มีกำไรจากรถไฟฟ้าได้มมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากการทำงานของนักวิชาการ พบว่าต้นทุนการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ที่ 13-19 บาทต่อคนต่อเที่ยวดังนั้นหากสายสีเขียวหากไม่มีต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานสามารถกำหนดราคาด้ในราคา 25 บาท
“เราขอเรียกร้องให้ผู้ว่ากกทม.ยกเลิกการแกไขปัญหาระยะสั้น และเราพร้อมที่จะไปหารือเพื่อหาทางออกในเรื่องของการกำหนดราคา เพื่อความเหมาะสมกัผู้บริโภคกับผู้ว่าฯกทม.เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประยชน์สูงสุด”
ผู้บริโภค หมดหวังขึ้นค่ารถไฟฟ้าซ้ำเติมค่าใช้จ่าย
ด้านนาง กชนุช แสงแถลง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกตกใจและช็อคหลังจากทราบงาส ผู้ว่า กทม.ฯเคาะราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 บาท เพราะที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ผลักดัน และติดตามการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตั้งแต่ปี 2564 ที่กรุงเทพมหานครจะขึ้นราคาค่ารถไฟฟ้า 104 บาท โดยเราไปยื่นจดหมายชะลอปรับขึ้นราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวจนสามารถหยุดราคา 104 บาทได้และเราได้เฝ่าระวังในเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารมาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงรับไม่ได้กับการปรับราคาค่าโดยสาร 59 บาท เพราะเราคาดหวังกับกับผู้ว่า กทม.ที่จะทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง เนื่องจากขณะนี้ มีปัญหาค่าครองชีพจากราคาน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เรายังมีความหวังว่า ผู้ว่าฯ กทม จะทบทวน และขออย่าพึ่งมีขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า และหามาตรการในการส่งเสริมคนใช้รถสาธารณะมากขึ้น
ขณะที่ นาง วรวรรณ ทัพกระจาย ตัวแทนผู้บริโภค กรุงเทพฯ บอกว่า อยากขอเป็นตัวแทนผู้บริโภค กทม. โดยอยากสะท้อนเรื่องเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น รายได้กับรายจ่ายไม่สมดุลกัน อยากให้ผู้ว่ากทมฯรับฟังเสียงสะท้อน ของผู้บริโภคที่ต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจ การกำกหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 59 บาทยังแพงเกินไปสำหรับคนรายได้น้อย
“บ้านดิฉันอยู่พุทธมณฑลสาย 3 ต้องเดินทางเข้าเมือง ต้องนั่งรถวินอเตอร์ไซด์เพื่อต่อ รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือถ้าไม่ได้นั่งวินก็ไปนั่งเอ็มอาร์ที ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้วมากกว่า 100 บาท ต่อเที่ยว เดินทางไปกับเกือบ 200 บาท อยากให้ฟังเสียงผู้บริโภคอย่างเรา และฝากความหวังกับผู้ว่ากทม.ช่วยทบทวนราคาค่าโดยสารที่จะปรับเพิ่มเพราะตอนนี้ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงมากอยู่แล้ว”.
ด้าน สมชาย กระจ่างแสง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนรัฐสวัสดิการ บอกเช่นกันว่า ไม่อยากให้มองว่ารถไฟฟ้าเป็นเพียงทางเลือกของการเดินทาง แต่อยากให้มองเป็นขนส่งมวลชนสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพราะคิดว่ารถไฟฟ้า สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ เช่นเดียวกับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้คนจนที่มีรายได้น้อยสามารถขึ้นได้ ดังนั้นราคา 59 บาทก็ยังแพงเกินไป แต่ในอนาคตอยากให้การบริการรถสาธารณะเป็นรัฐสวัสดิการทำให้ราคาถูก หรือ ฟรี
สภาผู้บริโภคฯ จี้ชัชชาติเลิกแผนระยะสั้นขึ้นค่าค่าโดยสาร
ทั้งนี้แถลงการณ์ของสภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอให้กำหนด ราคาที่เหมาะสมกับค่าครองชีพและทำให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มรายได้สามารถใช้บริการได้ โดย
1.ระหว่างที่ยังไม่หมดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับบริษัทบีทีเอสในปี 2572 ควรกำหนดราคค่าโดยสารไม่เกิน 44 บาท รวมส่วนต่อขยายจากหมอชิต - คูคต และอ่อนนุช – เคหะสมุทรปราการ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราสูงสุดของรถไฟฟ้าสีต่างๆ ในปัจจุบัน ที่กำหนดราคาสูงสุดไม่เกิน 42 บาท และราคาดังกล่าวเป็นไปตามสิทธิของสัญญาสัมปทานของบริษัทบีทีเอส
2.เพื่อความโปร่งใส สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอให้ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พิจารณาราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ในราคา 44 บาทก่อนหมดสัมปทานปี 2572 และราคา 25 บาท ตลอดสายหลังจากหมดอายุสัมปทาน ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมที่ประชาชนทุกคนใช้รถไฟฟ้าได้ทุกวัน
3.สภาองค์กรของผู้บริโภค อยากเรียกร้องให้ ผู้ว่ากรุงเทพมหานครเปิดเผยสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อประชาชนรับรู้ และร่วมกันหาทางออกเพื่อสามารถกำหนด
ราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคอย่างแท้จริง
ล่าสุด "ชัชชาติ" เชิญสภาองค์กรผู้บริโภค เข้าพบเพื่อหารือ กรณี กทม.เคาะราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 59 บาท พรุ่งนี้ วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา10.00 น. ณ ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า
ภาพ กทม.