รีเซต

เด็กควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่?

เด็กควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่?
TeaC
8 กันยายน 2564 ( 16:38 )
206

เด็กควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่? เป็นอีกหนึงความสงสัยของผู้ปกครองหรือครอบครัวที่มีบุตรหลาน สรุปแล้วเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ เนื่องจากมีคำแนะนำจากแพทย์ว่า เด็กอายุระหว่าง 12-15 ปีที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ Pfizer ประกอบกับข้อมูลจากกรมอนามัยพบแนวโน้มการติดเชื้อโควิดในกลุ่มเด็กอายุ 12-18 ปี เพิ่มขึ้น เฉพาะสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 8,733 คน ขณะที่ ภาพรวมนับตั้งแต่เดือนเมาายนที่ผ่านมา พบติดเชื้อสะสม 41,832 คน คิดเป็น 0.8% เสียชีวิต 8 คน คิดเป็นร้อยละ 12 จากข้อมูลกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น จึงเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มมากขึ้น

 

ล่าสุด ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคในจังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 7 โรค ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยยังไม่แนะนำสำหรับเด็กทั่วไป ที่มีร่างกายปกติ แข็งแรงดี จนกว่าจะมีวัคซีนที่มากขึ้น

 

โดยวัคซีนที่ใช้ในกลุ่มเด็กอายุ 12-15 ปี กลุ่มเสี่ยง 7 โรค ได้แก่ โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน และกลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ระบุว่า ควรเป็นวัคซีนของ Pfizer ซึ่งผลิตขึ้นจากเทคโนโลยี mRNA และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาเท่านั้น

 

ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ยังชี้ว่า เด็กอายุ 16-18 ปี สามารถได้รับการฉีดวัคซีนของ Pfizer ได้ หากไม่มีข้อห้ามในการฉีด เนื่องจากกลุ่มอายุดังกล่าว กำลังมีร่างกายที่เจริญเติบโตเท่าผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยจึงมีเพียงพอในกลุ่มอายุ 16-18 ปี

 

 

เปิดประเทศฉีดวัคซีนโควิดให้เด็ก มีที่ไหนบ้าง?

 

สำหรับต่างประเทศนั้น มีหลายประเทศที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิดให้กลุ่มเด็ก อย่างกรณีประเทศคิวบา เป็นประเทศแรกของโลกที่ฉีดวัคซีนที่ชื่อว่า โซเบอรานา (Soberana) ป้องกันโควิด-19 ให้กับประชากรกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 2- 11 ปี โดยใช้วัคซีนที่เขาพัฒนาขึ้นเอง ต้องฉีด 3 เข็ม เป็นชนิดรีคอมบิแนนต์โปรตีนเช่นเดียวกับโนวาแวกซ์แต่ยังไม่ได้รับการรอบรองจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา 

 

ถัดมา ประเทศชิลี เป้นประเทศแรกในละตินอเมริกาที่หน่วยงานด้านสุขภาพได้อนุมัติการใช้วัคซีนซิโนแวคสำหรับเด็กระหว่างอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยกระทรวงสาธารณสุขชีลิกำลังกำหนดวันและกลไกในการเริ่มฉีดวัคซีนแล้ว 

 

แต่ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยคาธอลิกแห่งชิลี ยังได้ศึกษาเด็กจำนวน 4,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 3-17 ปี ถึงผลกระทบของการฉีดวัคซีนซิโนแวค แต่นายการ์เซียกล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสาธารณสุขได้ตัดสินใจจากการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากห้องปฏิบัติการของซิโนแวค และข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ขณะที่ ประเทศในละตินอเมริกา มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่อนุมัติการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยเป็นวัคซีนไฟเซอร์เท่านั้น

 

สำหรับ ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศจีน ได้มีการอนุญาตให้ใช้วัคซีนซิโนแวคและวัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับเด็กอายุระหว่าง 3-17 ปีแล้ว

 

เด็กยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด ต้องดูแลยังไง?

 

สำหรับกลุ่มเด็ก หรือบุตรหลานของเราที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด สิ่งที่ต้องลืมไม่ได้เลยคือ เด็กทุกคนสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนผู้ใหญ่ อย่างกรณีที่ปรากฎเป็นข่าวให้เห็นที่ผ่านมา ทั้งเด็กแรกเกิดที่คลาดจากแมาติดเชื้อ เด็กอายุน้อยเพียง 2 เดือน จนถึงเด็กอายุ 15 ปี โดยล้วนติดเชื้อมาจากคนในครอบครัว หรือคนที่ใกล้ชิด สัมผัสเด็ก ส่วนใหญ่มีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไปเด็กที่มีอาการรุนแรง มักเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ

 

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่จะป้องกันให้เด็กเสี่ยงได้รับเชื้อน้อยที่สุดล้วนมาจาก "ผู้ใหญ่" ที่ต้องเข้มงวดในการป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ถูกวิธี ล้างมือ อาบน้ำ ก่อนสัมผัสเด็กเสมอ ให้พึงเป็นข้อที่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง

 

ป้องกันเด็กอายุมากกว่า 2 ปี จากโควิดได้อย่างไร?

 

สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรสอนให้ลูกรู้จักสวมหน้ากากอนามัย และเน้นให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี อันนี้ต้องใช้ความใกล้ชิด ความใส่ใจและควรระมัดระวังในการสวมหน้ากากอนามัยอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ที่ใกล้ชิดเด็กเริ่มมีอาการเจ็บป่วย ควรหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับเด็กเด็ดขาด เพื่อลดเสี่ยงการส่งเชื้อโรคได้

 

 

 

ข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ, ThaiPBS, กรุงเทพธุรกิจ

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง