รีเซต

ซากท่อหินใต้เมืองหลวงโบราณ เผยทักษะการใช้น้ำของราชวงศ์จีน

ซากท่อหินใต้เมืองหลวงโบราณ เผยทักษะการใช้น้ำของราชวงศ์จีน
Xinhua
8 มกราคม 2566 ( 12:22 )
44

เจิ้งโจว, 8 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อไม่นานนี้ ซากเมืองโบราณลั่วหยางอันเป็นนครหลวงยุคโบราณ ณ มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีนในยุคปัจจุบัน ได้ค้นพบช่องทางน้ำจากยุคราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น (ปี 220-420) ความยาวกว่า 80 เมตรการค้นพบนี้บ่งชี้เทคนิคการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการอนุรักษ์น้ำ และความสามารถของราชวงศ์จีนโบราณในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในเวลานั้นการขุดค้นที่ซากประตูเชียนชิวของวังโบราณเริ่มต้นในปี 2021 และต่อมาคณะนักวิจัยค้นพบช่องทางน้ำใต้ดินขนาดใหญ่อยู่ข้างใต้จัตุรัสของซากประตูดังกล่าวกัวเสี่ยวเทา เจ้าหน้าที่สถาบันโบราณคดี สังกัดสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน เผยว่าปัจจุบันมีการค้นพบช่องทางน้ำ 4 แห่ง ทั้งหมดเป็นท่อหินทอดตัวคู่ขนานจากทิศตะวันตกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการยืนยันว่าช่องทางทั้งหมดถูกก่อสร้างพร้อมกันตามแผนการก่อสร้างหนึ่งเดียวรายงานระบุว่านับเป็นครั้งแรกของการค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการอนุรักษ์น้ำดังกล่าวที่มีแผนผังขนาดใหญ่และการออกแบบอย่างประณีตระหว่างการขุดค้นซากเมืองโบราณลั่วหยางฝาปิดเหนือช่องทางน้ำมีรูสี่เหลี่ยมเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการกักเก็บน้ำฝน โดยมีการสันนิษฐานว่าซากช่องทางน้ำนี้นำน้ำจากแหล่งภายนอกเข้าสู่เขตวังโบราณ และปล่อยให้ไหลสู่ทะเลสาบของสวนซีโหยวทางตอนเหนือของวังหลวงหลิวเทา เจ้าหน้าที่สถาบันฯ เผยว่าสิ่งอำนวยความสะดวกนี้มีแนวโน้มเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผันน้ำของสวนซีโหยวภายในวังของเมืองหลวงโบราณ และต่อมาถูกใช้งานอีกครั้งโดยจักรพรรดิเสี้ยวเหวินของราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปี 386-534)หลิวเสริมว่าการค้นพบนี้ช่วยสำรวจแผนผังสวนหลวงของเมืองโบราณลั่วหยางในเวลานั้นเพิ่มเติม และถือเป็นแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำในเมืองที่มีความก้าวหน้าในเวลานั้นอนึ่ง ซากเมืองโบราณลั่วหยางตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยางของยุคปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์เก่าแก่มากกว่า 1,500 ปี โดยลั่วหยางเคยเป็นราชธานีของหลายราชวงศ์จีนโบราณนานราว 600 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง