Quantum Key Distribution ยุคใหม่แห่งการสื่อสารปลอดภัย ด้วยควอนตัมฟิสิกส์ของโตชิบา
คอมพิวเตอร์ควอนตัมมีศักยภาพในการถอดรหัสข้อมูลละเอียดอ่อนที่ส่งผ่านเครือข่ายทั่วไป จึงถือเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลละเอียดอ่อนที่เก็บระยะยาว เช่น การบริการทางการเงิน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเป็นพิเศษจากการโจมตีเหล่านี้
ขณะนี้ ผู้ไม่หวังดีได้เริ่มรวบรวมข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้ว เพื่อรอให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมพัฒนาไปไกลในอนาคตที่จะถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ได้ การโจมตีแบบนี้เรียกว่า "เก็บก่อน ถอดรหัสทีหลัง" และมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมอย่างธนาคารและฝ่ายต่างๆ ในหน่วยงานรัฐบาล การโจมตีลักษณะนี้อาศัยการที่ข้อมูลสำคัญมักมีอายุขัยยาวนาน ใช้เวลานานกว่าจะหมดประโยชน์ ดังนั้น หากต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์กรต่างๆ จะต้องดำเนินการเชิงรุกและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครือข่ายของตนมีการเข้ารหัสป้องกันชนิดปลอดภัยระดับควอนตัมไว้ล่วงหน้า
เครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมเป็นทางออกเดียวในการปกป้องไม่ให้ข้อมูลถูกดักเก็บและนำไปถอดรหัสแม้ว่าผู้โจมตีจะใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ตาม การนำเครือข่ายประเภทนี้มาใช้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือได้ ยั่งยืน และยืดหยุ่นต่อการโจมตี
Quantum Key Distribution (QKD) ของโตชิบาเป็นตัวอย่างวิธีการส่งข้อมูลที่ปลอดภัยระดับควอนตัม ซึ่งทำงานด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสแบบปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ ทำให้เครือข่ายยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามควอนตัมต่างๆ เทคโนโลยี QKD ของโตชิบาได้รับการพัฒนามาตลอดกว่าสองทศวรรษ และสามารถติดตั้งเข้ากับเครือข่ายใยแก้วที่มีอยู่ได้ ทำให้เป็นโซลูชันที่สมบูรณ์อันดับแนวหน้าของโลก
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 JPMorgan Chase โตชิบา และ Ciena ได้ร่วมกันแสดงศักยภาพเครือข่าย Quantum Key Distribution (QKD) เครือข่ายแรก ซึ่งช่วยรับประกันความปลอดภัยให้กับการนำบล็อกเชนในภารกิจที่ขาด บล็อกเชนไม่ได้ ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มโตชิบาและ KT ได้ร่วมมือกันในโครงการนำร่อง Quantum Key Distribution ในเกาหลีใต้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 EY ได้กลายเป็นลูกค้าเชิงพาณิชย์รายแรกของเครือข่าย Quantum-Secured Metro Network (QSMN) ซึ่งเป็นการทดลองเครือข่าย QKD ที่สร้างโดยใช้ฮาร์ดแวร์ QKD ของโตชิบาและซอฟต์แวร์การจัดการกุญแจเข้ารหัสในเครือข่ายไฟเบอร์ของ BT เชิงพาณิชย์ครั้งแรกในโลก และล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 HSBC ได้กลายเป็นธนาคารแห่งแรกที่เข้าร่วมเครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมเชิงพาณิชย์รุ่นบุกเบิกของสหราชอาณาจักร
ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โตชิบาได้เปิดตัวศูนย์ Quantum Networks EXperience Center (QNEX) ซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์และดำเนินการโดย SpeQtral Pte. Ltd. (SpeQtral) ซึ่งเป็นพันธมิตรของโตชิบา เพื่อสาธิตเทคโนโลยี QKD และการนำไปประยุกต์ใช้จริงในการรักษาความปลอดภัยให้แก่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและข้อมูลละเอียดอ่อน และล่าสุด SpeQtral และ SPTel ได้จับมือกันยื่นข้อเสนอไปยังองค์กรการพัฒนาสื่อสารสนเทศ Infocomm Media Development Authority (IMDA) เพื่อสร้างเครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัมแห่งชาติ National Quantum-Safe Network Plus (NQSN+) ในสิงคโปร์
ผังเวลาการพัฒนา QKD ของโตชิบา จากงานวิจัยสู่ความเป็นจริง
2534 | ก่อตั้งห้องปฏิบัติการในเคมบริดจ์ | |
2543 | พัฒนาเครื่องตรวจจับโฟตอนเดี่ยวได้สำเร็จ | |
2547 | ใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงได้อย่างเสถียรเกินหนึ่งเดือน | |
2551 | ส่งข้อมูลระยะ 20 กม. ด้วยความเร็ว 1Mbps | เร็วที่สุดในโลก |
2555 | ส่งข้อมูลระยะ 50 กม. ด้วยความเร็ว 1Mbps | ทำลายสถิติเร็วสุดในโลก |
2559 | ใช้งานกับข้อมูลจีโนม | ครั้งแรกในญี่ปุ่น |
2563 | ส่งข้อมูลระยะ 10 กม. ด้วยความเร็ว 10Mbps เปิดตัวธุรกิจระบบ QKD | สถิติโลกครั้งใหม่ |
2565 | BT และโตชิบาทดลองเชิงพาณิชย์ครั้งแรก โตชิบาชนะสองรางวัลจากงาน iF DESIGN AWARD 2022 กลุ่มโตชิบาผนึกกำลังกับ KT JPMorgan Chase โตชิบา และ Ciena สร้างเครือข่าย QKD แห่งแรกขึ้น |
เมื่อนำวิธีการปลอดภัยระดับควอนตัมมาใช้แล้ว สถาบันการเงินต่างๆ ก็จะสามารถปกป้องข้อมูลละเอียดอ่อน รักษาความไว้วางใจของลูกค้า และพร้อมเข้าสู่ยุคควอนตัม โตชิบามุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ปกป้องผู้คนและองค์กรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามใหม่ที่เกิดขึ้น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ : https://www.toshiba-clip.com/en/detail/p=3544