รีเซต

เครื่องบินบนดาวอังคารตัวช่วยไขปริศนาก๊าซมีเทนบนดาวเคราะห์แดง

เครื่องบินบนดาวอังคารตัวช่วยไขปริศนาก๊าซมีเทนบนดาวเคราะห์แดง
TNN ช่อง16
29 มีนาคม 2567 ( 18:49 )
16
เครื่องบินบนดาวอังคารตัวช่วยไขปริศนาก๊าซมีเทนบนดาวเคราะห์แดง

ดาวอังคารยังคงเป็นหนึ่งในเป้าหมายการสำรวจอวกาศของมนุษย์ และการสำรวจสำรวจดาวอังคารโดยใช้เครื่องบินอาจกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยไขความลับของดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ได้เป็นอย่างดี ล่าสุดเครื่องบินบนดาวอังคาร MAGGIE หรือ Mars Aerial and Ground Global Intelligent Explorer ได้รับทุนสนับสนุนจากนาซาให้พัฒนาเครื่องบินที่รองรับภารกิจการบินบนท้องฟ้าดาวอังคาร โดยระยะแรกใช้เวลาในการวิจัยพัฒนาเครื่องบินลำนี้ประมาณ 9 เดือน


เครื่องบิน MAGGIE ไม่ใช่โครงการอากาศยานบินแรกบนดาวอังคาร ก่อนหน้านี้นาซาเคยส่งเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ไปทำทดสอบบนดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 และนับเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศลำแรกที่ทะยานบนดาวอังคาร โดยทำการบินเสร็จไปกว่า 72 เที่ยวบิน ก่อนยุติภารกิจลงในเดือนมกราคมปี 2024 เนื่องจากการชำรุดของใบพัด


สำหรับเครื่องบิน MAGGIE อยู่ภายใต้การพัฒนาของโครงการ NASA Innovative Advanced Concepts (NIAC) มีลักษณะเป็นเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า รองรับภารกิจการบินบนดาวอังคารประมาณ 1 ปี หรือเวลาประมาณ 2 ปี หากเปรียบเทียบกับเวลาบนโลก โดยมีเพดานบินที่ระดับความสูง 3,300 ฟุต หรือ 1 กิโลเมตร โดยหนึ่งในภารกิจหลักของเครื่องบิน MAGGIE คือ การค้นหาก๊าซมีเทนบนชั้นบรรยากาศและทำการศึกษาด้านต่างๆ 


ก๊าซมีเทนบนโลกส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต  ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีสมุติฐานว่าก๊าซมีเทนบนดาวอังคารอาจเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นหาแหล่งกำเนิดหรือทำความเข้าใจก๊าซมีเทนบนดาวอังคารได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าก๊าซมีเทนบนดาวอังคารจะถูกค้นพบมาได้ระยะหนึ่งแล้วก็ตาม เช่น การค้นพบก๊าซมีเทนในภารกิจรถแลนด์โรเวอร์คิวริออสซิตี้ (Curiosity) ซึ่งมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ระหว่าง 0.5-20 PPB (Parts Per Billion)


ที่มาของข้อมูล Space.com

ที่มาของรูปภาพ Mars Aerial and Ground Global Intelligent Explorer (MAGGIE) (Ge-Cheng Zha)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง