รีเซต

สถานการณ์ภัยแล้ง 2567 พิจิตร ปิดบานประตู กั้นแม่น้ำยม-ฝายสามง่าม แก้ปัญหาภัยแล้ง

สถานการณ์ภัยแล้ง 2567 พิจิตร ปิดบานประตู กั้นแม่น้ำยม-ฝายสามง่าม แก้ปัญหาภัยแล้ง
TNN ช่อง16
7 มีนาคม 2567 ( 09:49 )
21
สถานการณ์ภัยแล้ง 2567 พิจิตร ปิดบานประตู กั้นแม่น้ำยม-ฝายสามง่าม แก้ปัญหาภัยแล้ง

ที่จังหวัดพิจิตร วันที่ 7 มีนาคม 2567 นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้กล่าวขณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการร์น้ำมนแม่น้ำยม บริเวณฝายสามง่าม ตำบลรังนก อำเภอสามง่ามจังหวัดพิจิตร ว่าพื้นที่จังหวัดพิจิตรได้เข้าสู่ฤดูแล้ง แหล่งน้ำตามธรรมชาติหลายแห่ง ได้ลดระดับลงและแห้งขอดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีผลต่อการดำรงอาชีพ และวิถีชีวิตชาวจังหวัดพิจิตรเป็นอย่างมาก


 

ดังนั้นชลประทานจังหวัดพิจิตรได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลุ่มแม่น้ำยม ในช่วงฤดูแล้ง โดยได้ทำการยกปิดบานประตูไฮโดลิค กั้นแม่น้ำยม ทั้งหมด 4 บานประตู ที่บริเวณฝายสามง่าม  อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร เพื่อกักเก็บน้ำในลำน้ำยมไว้ให้ประชาชนและเกษตรกรได้ทำการเกษตร และอุปโภคต่างๆ มาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษจิกายนที่ผ่านมา มีแผนจนถึงปลายเดือนเมษายนนี้ ส่งผลให้ลำน้ำยมตอนเหนือของฝายสามง่าม มีน้ำกักเก็บในลำน้ำยม มากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรกรสามารถใช้น้ำทำการเกษตรได้ประมาณ 3 หมื่นไร่ ในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอสามง่าม ประกอบไปด้วย ตำบลรังนก  ตำบลสามง่าม และตำบลกำแพงดิน โดยในลำน้ำยมตอนบน มีสถานีสูบน้ำย่อยประมาณ 10 กว่าสถานี ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งนั้น มีการบริหารจัดการน้ำตามรอบเวรให้เกษตรกรได้อย่างพอเพียง 



ส่วนทางด้านท้ายฝายสามง่าม จะเปิดระบายน้ำ ประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่อยู่ด้านท้ายฝายแม่น้ำยมด้วย ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอบึงนาราง และอำเภอโพทะเล  ได้ใช้น้ำตามความเหมาะสมเป็นช่วงๆไป  สำหรับทางด้านเหนือฝายสามง่าม สามารถเก็บกักน้ำให้ได้ถึงตลอดฤดูแล้ง คือถึงปลายเดือนเมษายน หลังจากเดือนเมษายนนี้แล้ว ทางชลประทานจังหวัดพิจิตร จะได้บริหารจัดการในช่วงฤดูฝนต่อไป  


อย่างไรก็ตามในฤดูแล้งปีนี้เกษตรกรที่ทำนาปังในรอบที่ 1 ไปแล้วนั้น ขอความร่วมมือให้งดทำนาปรังรอบ 2 เนื่องจากปริมาณน้ำที่เป็นน้ำต้นทุนในลุ่มแม่น้ำยม มีไม่เพียงพอในการทำนาปรังรอบ 2 หากเกษตรกรฝืนทำนาปรังรอบที่ 2 ต่อก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรกรได้  จึงควรงดทำนาปรังรอบ 2 อีกทั้งจะเป็นการพักหน้าดินอีกด้วย



ภาพ ผู้สื่อข่าว จ.พิจิตร 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง