เจาะลึก “แคชเมียร์” ดินแดนความขัดแย้ง อิหร่าน-ปากีฯ ต่างแก่งแย่ง

เหตุกราดยิงอันน่าสลดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแคชเมียร์ของอินเดีย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 26 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก และถือว่าเป็นเหตุโจมตีรุนแรงสุดในรอบ 20 ปีของภูมิภาคนี้
กลุ่มติดอาวุธ TRF อ้างอยู่เบื้องหลังเหตุอุกอาจนี้ โดยกลุ่มนี้ เชื่อว่า เป็นกลุ่มใหม่ที่แยกตัวจากกลุ่มก่อการร้ายลาชการ-เอ-ไทบา ของปากีสถาน มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาลอินเดีย และไม่เห็นด้วยกับการให้คนนอกพื้นที่เข้ามาตั้งรกราก
อันที่จริง ดินแดนแคชเมียร์ เป็นพื้นที่ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานที่มีมาอย่างยาวนาน
แล้วทำไม 2 ประเทศนี้ จึงมีข้อพิพาทพื้นที่นี้ จนก่อให้เกิดความรุนแรงหลายครั้ง
จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างอินเดีย และปากีสถานเริ่มขึ้นเมื่อปี 1947 หลังอังกฤษแบ่งอินเดียออกเป็น 2 ประเทศ คือ อินเดีย ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู และปากีสถาน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม
ระหว่างนั้น ได้เปิดให้แคว้นจัมมูและแคชเมียร์ เลือกประเทศที่จะเข้าร่วม เพราะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างทั้ง 2 ประเทศนี้
ณ เวลานั้น มหาราชา หรือ ผู้ปกครองแคว้นแคชเมียร์ต้องการเป็นดินแดนอิสระ
จุดเปลี่ยนคือ เมื่อนักรบปากีสถานบุกเข้ามาในพื้นที่ มหาราชาจึงตัดสินใจเข้าร่วมกับอินเดีย เพื่อรับความช่วยเหลือ นำไปสู่สงครามความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย
แต่ต่อมาในปี 1949 ทั้งสองประเทศ ก็ร่วมลงนามข้อตกลงการาจี เพื่อหยุดยิง และให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
แม้หยุดยิง แต่ความสงบไม่เกิด
หลังลงนามข้อตกลงดังกล่าว ดูเหมือน ความขัดแย้งบริเวณแคชเมียร์จะลดลง แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะหลังจากนั้น ก็เกิดการปะทะกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นอีก ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
สงครามระหว่างอินเดียและปากีสถาน เกิดขึ้นอีก 2 ครั้ง ในปี 1965 และ 1971 หลังจากนั้น มีการลงนามข้อตกลงซิมลา ในปี 1972 เพื่อกำหนดแนวควบคุมระหว่างดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอินเดียและปากีสถานอย่างเป็นทางการ
ถึงแม้จะมีการแบ่งพื้นที่การปกครองแคชเมียร์ให้อยู่การควบคุมดูแลของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ทั้งอินเดียและปากีสถานก็อ้างว่า พื้นที่ทั้งหมดในแคชเมียร์เป็นของตน
สงครามระหว่างอินเดียและปากีสถาน เกิดขึ้นอีก 2 ครั้ง ในปี 1965 และ 1971 หลังจากนั้น มีการลงนามข้อตกลงซิมลา ในปี 1972 เพื่อกำหนดแนวควบคุมระหว่างดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอินเดียและปากีสถานอย่างเป็นทางการ
ถึงแม้จะมีการแบ่งพื้นที่การปกครองแคชเมียร์ให้อยู่การควบคุมดูแลของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ทั้งอินเดียและปากีสถานก็อ้างว่า พื้นที่ทั้งหมดในแคชเมียร์เป็นของตน
ความตึงเครียดบนภูมิภาคนี้ ยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่ออินเดียตัดสินใจยกเลิกสถานะพิเศษ ตามมาตรา 370 ของแคชเมียร์ออกในปี 2019 ซึ่งข้อกฎหมายนี้ อนุญาตให้สิทธิปกครองตนเองแก่ชาวแคชเมียร์ และนั่นทำให้คนท้องถิ่นไม่พอใจอย่างมาก
ขณะที่ อินเดียก็เพิ่มการควบคุมบนพื้นที่นี้ ปิดเมือง จำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นเวลา 1 ปี
ประชาชน และนักการเมืองถูกจับ และปี 2023 ศาลฎีกาอินเดียได้ยืนยันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้สถานะพิเศษของแคชเมียร์ภายใต้กฎหมายอินเดียสิ้นสุดลง
โศกนาฏกรรมในรอบ 20 ปี
ก่อนที่โศกนาฏกรรมนองเลือดในรอบ 20 ปี จะเกิดขึ้น และทำให้ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานถูกพูดถึงอีกครั้ง
เหตุการณ์กราดยิงใส่นักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในเมืองพาฮาวแกม รัฐแคชเมียร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน
กลุ่มติดอาวุธ The Resistance Front หรือ TRF ที่อ้างเป็นผู้ก่อเหตุ ให้เหตุผลว่า ไม่พอใจเรื่องที่มีคนนอกกว่า 85,000 คน เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาค ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์
กลุ่ม TRF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2019 ในช่วงที่อินเดียยกเลิกสถานะพิเศษพอดี แม้ว่าจะเป็นกลุ่มใหม่ และไม่ใหญ่มาก แต่เหตุการณ์กราดยิงที่เกิดขึ้นล่าสุด ก็ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจกลุ่มนี้มากขึ้น และพยายามหาว่า พวกเขาเป็นใคร
นอกจากนี้ การโจมตีล่าสุดยังได้สร้างความกังวลอย่างมาก เพราะเป้าหมายไม่ใช่บุคคลจากกองทัพ หรือ การเมือง แต่เป็นประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น
ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียประกาศให้กลุ่ม TRF เป็นกลุ่มก่อการร้าย และกำลังเดินหน้าการสอบสวนอย่างจริงจัง รวมถึงหาความเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น ๆ ด้วย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/10537286
https://www.cfr.org/global-conflict-tracker/conflict/conflict-between-india-and-pakistan