รีเซต

'PRM' ฝ่าโควิดปี 64 กำไรสุทธิ 1,526.5 ล้าน บอร์ดเคาะจ่ายปันผลอีก 0.18 บาท/หุ้น มั่นใจปีนี้ธุรกิจยังโต 10%

'PRM' ฝ่าโควิดปี 64 กำไรสุทธิ 1,526.5 ล้าน บอร์ดเคาะจ่ายปันผลอีก 0.18 บาท/หุ้น มั่นใจปีนี้ธุรกิจยังโต 10%
มติชน
25 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:30 )
42
'PRM' ฝ่าโควิดปี 64 กำไรสุทธิ 1,526.5 ล้าน บอร์ดเคาะจ่ายปันผลอีก 0.18 บาท/หุ้น มั่นใจปีนี้ธุรกิจยังโต 10%

ข่าววันนี้ นายวิริทธิ์พล จุไรสินธุ์ ผู้อำนวยการสายงานการเงินและบัญชี บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) (“PRM”) เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2564 ว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ชะลอตัวลง จึงถือเป็นปีแห่งความท้าทายในเชิงการบริหารจัดการเพื่อรับมือกับปัจจัยลบที่เกิดขึ้น โดยบริษัทฯได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารพอร์ตกองเรือ ให้มีความเหมาะสมกับทิศทางของอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการขยายการลงทุนในธุรกิจเรือขนส่งระหว่างประเทศ และธุรกิจเรือ Offshore Support Vessel ซึ่งเป็น 2 กลุ่มธรกิจที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโต โดยการส่งมอบเรือขนาด VLCC จำนวน 1 ลำ เพื่อให้บริการแก่กลุ่มไทยออยล์ภายใต้สัญญาระยะยาว รวมถึงมีการขยายธุรกิจในเรือ Crew Boat จำนวน ที่ยังคงมีความต้องการสูงเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานในกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่อยู่ในช่วงขยายตัว เป็นผลให้ PRM ทำรายได้รวม 5,880.0 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,526.5 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จึงมีมติจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงานปี 2564 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.26 บาทต่อหุ้น โดยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ในอัตรา 0.08 บาทต่อหุ้น คงเหลือจ่ายเงินปันผลจากงวดการดำเนินงานในปี 2564 เพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหุ้นอีก 0.18 บาทต่อหุ้น โดยเป็นการจ่ายจากกำไรสุทธิส่วนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (Non-BOI) ในอัตรา 0.18 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินปันผลในครั้งนี้รวม 450 ล้านบาท กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 9 พฤษภาคม และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งจะเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติต่อไป

 

สำหรับเป้าหมายในปี 2565 บริษัทฯ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตประมาณ 10% จากการนำข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันด้านความพร้อมพอร์ตกองเรือเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งคาดว่าจะเห็นการเติบโตที่ชัดเจนตั้งแต่ช่วงครี่งปีหลังของปีนี้ โดยบริษัทฯ มีแผนส่งมอบเรือ VLCC จำนวน 2 ลำ เพื่อให้บริการแก่กลุ่มไทยออยล์ภายใต้สัญญาระยะยาว ซึ่งจะสร้างความมั่นคงของรายได้ประจำและสม่ำเสมอ (Recurring Income) และเป็นแรงผลักดันการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจเรือขนส่งภายในประเทศคาดว่าจะมีอัตราการใช้เรือเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงขยายการให้บริการเรือเพื่อการขนส่งปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มเรือ Offshore บริษัทฯ มีแผนนำเรือ Crew Boat ขยายการให้บริการเพิ่มเติม จากความต้องการในการใช้เรือที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจเรือ FSU ที่มุ่งบริหารจัดการเรือให้มีอัตราการใช้เรือในระดับสูง เพื่อสนับสนุนการเติบโตให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง