รีเซต

ยาน Dragon ทดสอบติดเครื่องยนต์ขับดันเพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

ยาน Dragon ทดสอบติดเครื่องยนต์ขับดันเพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
TNN ช่อง16
9 พฤศจิกายน 2567 ( 23:33 )
7
ยาน Dragon ทดสอบติดเครื่องยนต์ขับดันเพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

ยานอวกาศ Dragon ของบริษัท SpaceX ทดสอบติดเครื่องยนต์ขับดันเพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS นับเป็นครั้งแรกของบริษัท SpaceX ที่ทำการทดสอบในลักษณะดังกล่าว โดยการหน้านี้ภารกิจการติดเครื่องยนต์เพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของยานอวกาศ Progress ของรัสเซีย และยานอวกาศ Cygnus ของบริษัท Northrop Grumman ในบางภารกิจ


กระบวนการทดสอบเริ่มต้นจากยานอวกาศ Dragon ได้ติดเครื่องยนต์ด้านข้างของยานเป็นเวลา 12 นาที 30 วินาที เพื่อเร่งความเร็วให้กับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และทำให้ตำแหน่งวงโคจรสูงขึ้นประมาณ 112 เมตร จากตำแหน่งความสูงเดิม ซึ่งปกติแล้วสถานีอวกาศนานาชาติ ISS จะโคจรอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 300-400 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก โดยขั้นตอนทั้งหมดมีการเก็บข้อมูลอย่างใกล้ชิด


ภารกิจของานอวกาศ Dragon ในครั้งนี้เดิมทีเป็นภารกิจขนส่งเสบียงและทรัพยากรต่าง ๆ ขึ้นสู่สถานีอวกาศเพื่อให้นักบินอวกาศสามารถดำรงชีพได้บนอวกาศ โดยการทดสอบติดเครื่องยนต์ขับดันเพื่อปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่บริษัท SpaceX กระทำร่วมกับนาซาเพื่อทำภารกิจปรับวงโคจรของสถานีอวกาศให้ตกลงสู่ชั้นบรรยากาศโลกและมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงหลังปี 2030 เมื่อสถานีอวกาศอวกาศนานาชาติ ISS ปลดประจำการ


"วันนี้เป็นการสาธิตที่ดีถึงความสามารถของยาน Dragonในขณะที่บริษัทกำลังออกแบบยานอวกาศลำใหม่สำหรับใช้ทำภารกิจปรับวงโคจร ISS" จาเร็ด เมตเตอร์ (Jared Metter) ผู้อำนวยการด้านความน่าเชื่อถือภารกิจเที่ยวบินของบริษัท SpaceX กล่าวเพิ่มเติม


แม้ว่าปัจจุบันยังมีความตึงเครียดจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนในปี 2022 แต่ความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกา และรัสเซียเกี่ยวกับสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงอย่างน้อยปี 2030 โดยความสำเร็จของในการทดสอบ Dragon ในครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกามีตัวเลือกอื่น ๆ ที่ลดการพึ่งพารัสเซีย ในการปรับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ISS หากความร่วมมือกับรัสเซียสิ้นสุดลง ซึ่งคาดว่ารัสเซียต้องการสร้างสถานีอวกาศของตัวเองแห่งใหม่ส่งขึ้นวงโคจรของโลกภายในปี 2027


ที่มาของข้อมูล

https://www.space.com/space-exploration/international-space-station/spacex-dragon-fires-thrusters-to-boost-iss-orbit-for-the-1st-time

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง