รีเซต

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ต.ค. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ต.ค. 66
TNN ช่อง16
10 ตุลาคม 2566 ( 08:57 )
82
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ต.ค. 66

สภาพอากาศวันนี้ :ร่องมรสุมพาดผ่านผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ 


คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 11–14 ต.ค. 66 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

พายุดีเปรสชัน “โคอินุ” บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ 


ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย 


ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 9 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 8,928 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังเพียงพอสำหรับกิจกรรมการใช้น้ำในช่วงฤดูฝนนี้ ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรม

ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและพอเพียง สำหรับการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม และการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งถัดไป สรุปได้ดังนี้


ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 57,512 ล้าน ลบ.ม. (70%)

ปริมาณน้ำใช้การ 33,345 ล้าน ลบ.ม. (58%)



เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่


เฝ้าระวังน้ำมาก 9 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก และกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร

น้ำพุง และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล


ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย


เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา  ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก: ปราณบุรี 


ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย


คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี 


สทนช. ประกาศ ฉบับที่ 3/2566 เรื่องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 12 – 18 ต.ค. 2566 ดังนี้ 


1. อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการ อ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ 

อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม แม่มอก น้ำห้วยหลวง น้ำพุง และ หนองหาร อุบลรัตน์ ลำปาว และขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีแนวโน้มปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80


2. พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ


2.1 แม่น้ำยม บริเวณ อ.ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง  เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จ.สุโขทัย อ.พรหมพิราม และบางระกำ 

จ.พิษณุโลก อ.สามง่าม และโพทะเล จ.พิจิตร


2.2 แม่น้ำมูล บริเวณสถานี M.7 อ.เมืองอุบลราชธานี  จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ที่ +113.00 ถึง +113.50 ม. รทก. สูงกว่าตลิ่ง 1.00 – 1.50 ม. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ บริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ พิบูลมังสาหาร ดอนมดแดง ตระการพืชผล และม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี 


2.3 แม่น้ำยัง บริเวณสถานี E.92 อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าระดับจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงกว่าตลิ่ง 1.00 - 1.50 ม. ในวันที่ 10 - 11 ต.ค.66 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณ อ.เสลภูมิ และโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด และลดลงต่ำกว่าตลิ่ง ในวันที่ 13 - 14 ต.ค. 66 


พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 


1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์  ขอนแก่น หนองบัวลำภู และอุดรธานี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช และยะลา


สถานการณ์อุทกภัย


พื้นที่ชุมชน รวม 9 จังหวัด 34 อำเภอ 117 ตำบล 631 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,566 ครัวเรือน ดังนี้ 

- ภาคเหนือ จ.สุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ระดับน้ำ

มีแนวโน้มลดลง ส่วน จ.เพชรบูรณ์ ระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองบัวลำภู มหาสารคามเลย และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง จ.กาฬสินธุ์ 

ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

พื้นที่เกษตรกรรม รวม 19 จังหวัด 429,082ไร่ ได้แก่ จ.เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี เพชรบูรณ์ สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา จะเชิงเทรา อ่างทอง และสุพรรณบุรี


ศูนย์ฯ ส่วนหน้าภาคกลาง ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นการรับน้ำเข้าทุ่งผักไห่ เน้นสำรองน้ำใช้รับมือฤดูแล้งปีหน้า

เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 66 สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคกลาง ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน และสำนักงานเกษตร อ.ผักไห่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านในประเด็นการรับน้ำเข้าทุ่งผักไห่ ณ ศาลาการเรียนรู้ ศพท. อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยในที่ประชุม ได้มีมติสมัครใจในการนำน้ำเข้าทุ่งฯ ทั้งนี้ชาวบ้านยังบอกอีกว่าการรับน้ำเข้าทุ่งนั้น ยังสามารถช่วยในเรื่องของไล่หนู และเป็นการกำจัดวัชพืชในนาอีกทั้งยังเป็นการเติมปุ๋ยธรรมชาติ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาได้อีกด้วย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง