รีเซต

อาชีพในฝันของคนจีนรุ่นใหม่ หนุ่มสาวสอบราชการกว่า 2.1 ล้านคน หวังได้ ‘งานที่มั่นคง’ แม้เงินเดือนต่ำ

อาชีพในฝันของคนจีนรุ่นใหม่ หนุ่มสาวสอบราชการกว่า 2.1 ล้านคน หวังได้ ‘งานที่มั่นคง’ แม้เงินเดือนต่ำ
TNN ช่อง16
4 ธันวาคม 2564 ( 20:53 )
251
อาชีพในฝันของคนจีนรุ่นใหม่ หนุ่มสาวสอบราชการกว่า 2.1 ล้านคน หวังได้ ‘งานที่มั่นคง’ แม้เงินเดือนต่ำ

สำนักข่าว SCMP รายงานเกี่ยวกับสถิติการสอบราชการของหนุ่มสาวชาวจีน ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนรุ่นใหม่เแสวงหาอาชีพที่มั่งคง หนีจากการทำงานภาคเอกชน หลังรัฐบาลคุมเข้มหนัก


---งานในฝันของคนจีนที่เปลี่ยนไป---


ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับผลกระทบของประชากรสูงอายุของจีน ที่มีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความสัมพันธ์ที่เสื่อมโทรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก ชาวจีนจำนวนมากต่างขวนขวายงานราชการ ซึ่งพวกเขามองว่า “เป็นอาชีพที่มั่นคงและมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย


แม้แต่บรรดาบัณฑิตที่กลับมาบ้านเกิด หลังจบการศึกษาต่อในต่างประเทศ ก็ยังกระโดดเข้าสู่การสอบข้าราชการพลเรือน 


ปีนี้มีผู้สมัครสอบข้าราชการพลเรือนของจีน มากกว่า 2.12 ล้านคน โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มจาก 1.58 ล้านคน ในปีที่แล้ว และ 1.05 ล้านคนในปี 2009 รวมถึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากจำนวน 125,000 คน ในปี 2003 


ในปีนี้ พวกเขากำลังแข่งขันกันเพื่อชิงตำแหน่งงาน 31,200 ตำแหน่ง ในหน่วยงานรัฐบาลกลาง 75 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 23 แห่ง ทำให้พวกเขามีโอกาส 1 ใน 68 ที่จะเป็นผู้ที่ได้รับการจ้างงาน


อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้สมัครดังกล่าว เป็นเพียงตำแหน่งราชการระดับชาติ หากรวมการสอบระดับมณฑลและระดับท้องถิ่น ปีนี้จะมีผู้สมัครประมาณ 9 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบใหม่


---แผนทำงานระยะยาวเลี่ยงปัญหาตกงาน---


ปัจจุบัน Generation Z ของจีน ไม่ค่อยกระตือรือร้น ที่จะทำงานในบริษัทเอกชนและบริษัทต่างชาติเท่าใดนัก” เผิง ป๋อหลุน นักศึกษาในมณฑลเจียงซี และจบปริญญาโท ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม กล่าว


มันเหนื่อยเกินไป และโอกาสตกงานหลังจากอายุ 35 หรือ 40 ปีนั้น สูงมาก” เขา กล่าว 


ข้าราชการทั่วไป มีรายได้มากกว่าเงินเดือนต่อหัวในท้องถิ่น โดยมีความเสี่ยงต่ำมากที่จะว่างงาน และไม่มีวิกฤตงานวัยกลางคน รวมถึงได้สนุกกับวันหยุดประจำ ไม่ต้องพูดถึงเงินบำนาญและผลประโยชน์ การเกษียณอายุยังดีกว่าภาคเอกชนที่เกษียณอายุแล้วด้วยซ้ำ” เผิง กล่าว


เราไม่เห็นสถิติด้านอื่น  แต่บรรดาบัณฑิตที่ดีที่สุดในสาขา ต่างสอบเข้ารับราชการ แทนที่จะรับข้อเสนอจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำเหมือนที่เคยทำมา” หัวหน้าสาขาวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยชั้นนำในกวางตุ้ง ซึ่งไม่ขอระบุชื่อ กล่าว 


บัณฑิตบางคนได้รับข้อเสนอถึง 400,000 หยวนต่อปี (ราว 2,123,200 บาทจากบริษัทเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียง อาทิ Huawei และ Tencent แต่สุดท้าย พวกเขาตัดสินใจเป็นตำรวจไซเบอร์” เขา กล่าว 


---มุ่งสู่เส้นทางการทำงานที่มั่นคง---


การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ บัณฑิตรุ่นใหม่กำลังมองหาความมั่นคงในการทำงาน” หัวหน้าสาขาวิศวกรรม กล่าว


ที่จริงแล้ว เป็นไปได้มากทีเดียวที่บัณฑิตดีเด่นจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จะได้รับเงินเดือนต่อปี ถึง 1 ล้านหยวน หลังจากทำงานในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตครบ 10 ปี แต่พวกเขาเต็มใจที่จะละทิ้งเส้นทางอาชีพดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย  เพื่อก้าวสู่เส้นทางการทำงานในระบบของรัฐบาล 


ในความคิดของผู้ที่มีปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของจีน ปีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลดำเนินการอย่างเข้มงวด ผ่านการปราบปรามและกฎระเบียบใหม่สำหรับบริษัทเอกชนและพนักงาน ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง


---แม้เรียนต่างประเทศก็ไม่ได้เปรียบหากอยากรับราชการ---


จาง จิ่วชิง หนึ่งในบรรดาผู้ที่แสวงหาความมั่นคงในชีวิตและอาชีพการงาน ผ่านการเข้ารับราชการ ชาวปักกิ่งวัย 26 ปีรายนี้ ย้ายกลับบ้านเมื่อปีที่แล้ว หลังจากใช้เวลา 2 ปีในเยอรมนี เพื่อศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาภาษาเยอรมัน


แต่เธอประเมินความสามารถในการแข่งขันและความยากลำบาก ในการสมัครงานข้าราชการต่ำเกินไป หลังสอบไม่ผ่านหลายต่อหลายครั้ง เธอจึงวางแผนที่จะศึกษาและทำข้อสอบข้าราชการประจำปีซ้ำ  จนกว่าจะผ่าน หรืออายุครบ 35 ปี ซึ่งเป็นอายุที่ไม่สามารถเข้าสอบได้แล้ว


ทั้งการทดสอบความถนัดในการบริหารและการเขียนเรียงความ ล้วนต้องการให้ผู้สมัครมีความรู้เรื่องเงื่อนไขที่ซับซ้อน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองและนโยบายสาธารณะของหน่วยงานต่าง ” หลี่ ตงเจี๋ย ผู้ดำเนินการศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการในเซินเจิ้น กล่าว 


ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ศึกษาต่อต่างประเทศ จึงไม่มีข้อได้เปรียบเหมือนงานอื่น ” หลี่ กล่าว “หนุ่มสาวจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของพวกเขา จะทำทุกวิถีทางเพื่อประสบความสำเร็จ แม้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นทุกปี

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Xinhua

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง