รีเซต

SCBS แนะกลยุทธ์ลงทุน Q4/64 ชู 5 หุ้น Laggard

SCBS แนะกลยุทธ์ลงทุน Q4/64 ชู 5 หุ้น Laggard
ทันหุ้น
22 กันยายน 2564 ( 14:47 )
218

ทันหุ้น - บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) มองความกังวลภาวะ stagflation พบสัญญาณของภาวะ stagflation (ภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น) เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ฝั่งอุปสงค์ถูกกดดันจากปัจจัยลบบางอย่าง เช่น การเกิดขึ้นของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และการคุมเข้มนโยบายเศรษฐกิจมากขึ้น Equity returns และ Sharpe Ratios มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงในช่วงนี้ เนื่องจากส่วนผสมของการเติบโต อัตราเงินเฟ้อ และมาตรการกระตุ้นดูดีน้อยลง กลุ่มที่คาดว่าจะปรับตัว outperform ในรอบนี้ คือ สาธารณูปโภค เทคโนโลยี REIT กลุ่ม beta ต่ำ หุ้นที่มีคุณภาพ และหุ้นขนาดใหญ่

 

การลด QE ไม่เคยเป็นเรื่องง่ายสำหรับตลาดการเงิน ประธานเฟดส่งสัญญาณปรับลดวงเงินมาตรการ QE (QE tapering) ในปีนี้ แต่จะไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราว โดยคาดว่าเฟดจะเริ่มลด QE จริงใน Q4/64 การทำ QE tapering อาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับสินทรัพย์ทางการเงิน เมื่อสินทรัพย์รวมของธนาคารกลางปรับตัวลดลง ผลตอบแทนของตลาดจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้เมื่อ yield curve เปลี่ยนเป็น Bear หรือ Bull flattening ผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์เสี่ยง (รวมถึง SET) ยังคงเป็นบวก แต่จะลดลงสู่ตัวเลขหลักเดียว และหุ้นเชิงรับอย่างกลุ่มพาณิชย์ อาหารและเครื่องดื่ม และการแพทย์น่าจะปรับตัว outperform

 

ไม่มีการล็อกดาวน์อีกต่อไป ฝ่ายวิจัยพบว่าการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในหลายๆ ภูมิภาคและประเทศไทย ยังคงเชื่อว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจลดน้อยลง เมื่อภูมิคุ้มกันสูง เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้น เมื่อมีการผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ ผลกระทบหลักๆ คือ การฟื้นตัวในระยะเวลาต่อมา และคาดว่าประเทศไทยจะผ่อนคลายข้อจำกัดเกี่ยวกับการเดินทางภายในประเทศในเดือนพ.ย. 2564 และระหว่างประเทศใน Q1/65

 

ความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และความหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นลดน้อยลง ความกังวลอยู่ที่องค์ประกอบที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากไวรัสสายพันธุ์เดลตาและจีน และการเริ่มปรับลดวงเงิน QE ของเฟด กรณีดังกล่าวมีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอัตราชะลอตัวลง เนื่องจากแรงกระตุ้นจากการเปิดประเทศและมาตรการการคลังจะเริ่มแผ่วลง และธนาคารกลางจะหันมาให้ความสนใจกับการปรับนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ

 

เปลี่ยนกลุ่มเล่นจาก DM ไปยัง EM หุ้นในตลาดเกิดใหม่ (EM) มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งในปี 2022 โดยได้รับการสนับสนุนจาก 4 ปัจจัย: 1) การเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้น 2) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น  3) DM มีแรงต้านทางเศรษฐกิจมหภาค และ 4) valuation ของ EM ถูกกว่า DM โดย P/E อยู่ที่ 13 เท่า เทียบกับ DM ที่ 19 เท่า

 

กลุ่ม global cyclical ทำจุดสูงสุดไปแล้ว? กลุ่ม domestic ถึงจุดต่ำสุด? การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็วจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวและส่งผลทำให้กำไรทำจุดต่ำสุดใน Q3/64 ดังนั้นหุ้นที่มี exposure กับเศรษฐกิจภายในประเทศสูง น่าจะปรับตัว outperform หุ้นกลุ่ม global cyclical ซึ่งราคาปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากแล้วหลังจาก rally ขึ้นมาหลายปีด้วยกัน แต่คาดว่าจะทำจุดสูงสุดใน Q4/64 ชอบหุ้น domestic reopening มากกว่า tourism play เพราะ: 1) ฟื้นตัวเร็วกว่า 2)งบดุลแข็งแรงกว่า 3) ราคาหุ้นฟื้นตัวขึ้นมาน้อยกว่า และ 4) valuation ถูกกว่า tourism play

 

แนวโน้มปี  2565 แนวโน้มการเติบโตและนโยบายน่าจะเป็นมิตรน้อยลง การเติบโตของภาคบริการจะช่วยชดเชยการเติบโตของภาคการผลิต เราคาดว่ากำไรจะเติบโต 9% YoY ในปี 2565 โดยได้รับการสนับสนุนจาก GDP ที่เติบโต 3.6%

 

เป้า SET Index เป้า SET index ปี 2565 ที่อิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,600 จุด เราเชื่อว่า core portfolio ควรจะเป็นหุ้นเชิงรับที่กำไรมีแนวโน้มเติบโต และโฟกัสมากขึ้นที่ conviction idea จากธีมการฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เช่น นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเศรษฐกิจสีเขียว พร้อมกับ tactical call กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และโรงกลั่น

 

โฟกัสที่หุ้นเชิงรับ กลุ่ม domestic reopening มีอำนาจในการกำหนดราคาสูง และกำไรมีคุณภาพ เราแนะนำหุ้นเชิงรับที่: 1) มี exposure กับเศรษฐกิจภายในประเทศสูง และมีปัจจัยขับเคลื่อนที่ชัดเจนและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2) ยังมีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว 3) กำไรเติบโตหรือฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และ 4) มีความเสี่ยงทางการเงินจำกัด หรืองบดุลแข็งแรง และ 5) laggard หุ้นแนะนำใน Q4/64 ของฝ่ายวิจัย คือ BEM, KCE, OSP, SECURE และ ZEN

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง