รีเซต

ไขปริศนา "สะพานข้ามแยก" ถอดบทเรียนกับดักมรณะ อุบัติเหตุที่ต้องรู้ทัน

ไขปริศนา "สะพานข้ามแยก" ถอดบทเรียนกับดักมรณะ อุบัติเหตุที่ต้องรู้ทัน
TNN ช่อง16
10 ตุลาคม 2567 ( 17:59 )
26
ไขปริศนา "สะพานข้ามแยก" ถอดบทเรียนกับดักมรณะ อุบัติเหตุที่ต้องรู้ทัน

อุบัติเหตุรถตู้ชนรถจักรยานยนต์บนสะพานข้ามแยกถนนเทพรักษ์ แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร เพราะผู้ขับขี่ คือ นายศิริศักดิ์ นันทเสน หรือ ติ๊ก ชิโร่ นักร้องชื่อดังวัย 63 ปีเป็นผู้ขับ ซึ่งหลังเกิดเหตุ ติ๊ก ชีโร่ ยืนรอมอบตัวในที่เกิดเหตุ พร้อมแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสีย 

 

ในส่วนของรูปคดีคงต้องรอตำรวจสรุปอีกครั้ง หลังการตรวจสอบพยานหลักฐานในจุดเกิดเหตุ กล้องหน้ารถ รวมถึงรอผลการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของนักน้องชื่อดังว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

  

แต่สิ่งที่สังควรน่าจะได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นี้คือความเสี่ยงของการใช้รถ ใช้ถนนในยามค่ำคืน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงเช่นสะพานข้ามแยก หรือ ทางด่วน  จากข้อมูลของนพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระบุว่าอุบัติเหตุทางถนนบนสะพานข้ามแยก หรือ บนทางด่วนกว่า 2 ใน 3 มักจะเกิดในช่วงเวลากลางคืน โดยมีปัจจัยอย่างน้อย 3 เรื่องคือ 

 

1.ในช่วงกลางคืนผู้ขับขี่มักจะขับรถด้วยความเร็วมากกว่าในช่วงกลางวัน เพราะผู้ใช้รถมีจำนวนน้อยกว่า ถนนโล่งกว่า

 

2.เรื่องของทัศนวิสัย จุดอับ ซึ่งเวลากลางคืนมีแสงน้อยกว่าช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาจเป็นเรื่องของไฟส่องสว่าง หรือ บางจุดมีเงาจากตัวอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ทับลงมาทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน 


3.ลักษณะทางกายภาพของสะพาน ทั้งสะพานข้ามแยก จุดกลับรถ หรือ ทางด่วน ซึ่งจังหวะเข้าโค้ง หรือ ขึ้นเนินเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหากขับมาด้วยความเร็ว เพราะอาจหักเลี้ยวไม่ทัน หรือ หากเกิดอุบัติเหตุก็อาจทำให้กระเด็นตกจากที่สูงได้ เพราะแบริเออร์กั้นขอบสะพานมีความสูงไม่มากนัก ไม่เพียงพอที่จะกั้นไม่ให้ผู้ประสบอุบัติเหตุตกลงจากที่สูง 

 

ส่วนกรณีอุบัติเหตุของ "นักร้องชื่อดัง" จากการตรวจสอบภาพถ่ายจากจุดเกิดเหตุ ประกอบกับการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของถนนในจุดดังกล่าวผ่าน Google Earth พบว่าสะพานข้ามแยกถนนเทพรักษ์เป็นถนน 2 ช่องทาง ซึ่งไหล่ทางมีความแคบ ทำให้การจอดรถบริเวณเนินทางขึ้นสะพานจะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ หากรถยนต์ที่ขับตามหลังมาขับมาด้วยความเร็วสูง อาจไม่ทันสังเกตเห็นรถที่จอดอยู่บนทางขึ้นสะพาน เพราะเนินขึ้นมักเป็นจุดอับสายตาของผู้ขับขี่ หรือ หากสังเกตเห็นด้วยความเร็วก็อาจจะตัดสินใจ หรือ แก้ปัญหาด้วยการหักเลี้ยว หรือ เบรกรถไม่ทัน

 

สำหรับแนวทางแก้ไขเพื่อลดความรุนแรงในอุบัติเหตุดังกล่าว นพ.ธนะพงศ์ มองว่าควรแก้ไขใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 

1.พฤติกรรมในการขับขี่ในช่วงเวลากลางคืน ควรขับด้วยความระมัดระวังมากขึ้น มากกว่าเพิ่มความเร็วเมื่อเห็นว่าถนนโล่ง 

2.พฤติกรรมในการจอดรถในจุดเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถบนสะพาน หรือ ถนนที่มีลักษณะเป็นเนินโดยเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ  หรือ หากจำเป็นต้องจอดฉุกเฉินควรหลีกเลี่ยงจอดบริเวณเนินทางขึ้น เพราะรถที่ขับตามหลังมาอาจไม่ทันสังเกตเห็น ควรขยับไปจอดบริเวณทางลง หรือ บริเวณพื้นราบจะดีที่สุด เพราะสามารถสังเกตได้ในระยะไกล

ที่สำคัญควรเปิดไฟสัญญาณฉุกเฉิน ขณะที่รถจักรยานยนต์ควรติดแถบสะท้อนแสงเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มการมองเห็นในช่วงเวลากลางคืน

3.ควรมีการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของถนน ในจุดที่มีความเสี่ยงทั้งสะพาน จุดกลับรถ โดยการติดแถบส่องสว่าง หรือ เพิ่มความสูงของแบริเออร์ เพื่อป้องกันผู้ประสบอุบัติเหตุตกจากทางด่วน ซึ่งจะทำให้เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากการบาดเจ็บโดยการตกจากที่สูง  

สุดท้ายผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ย้ำว่าการใช้รถ ใช้ถนนในช่วงกลางคืนควรตระหนักถึงความปลอดภัย และ ไม่พยายามจอดรถในจุดเสี่ยงโดยไม่จำเป็น   โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีความเสี่ยงมากกว่ารถยนต์ โดยตัวเลขอุบัติเหตุชี้ว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์คิดเป็นกว่าร้อยละ 90 จากรถทุกชนิด  

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง