รีเซต

พบหลักฐานใหม่! คาดรู้สาเหตุ "เรือดำน้ำไททัน" ระเบิดได้ชัดเจนขึ้น

พบหลักฐานใหม่! คาดรู้สาเหตุ "เรือดำน้ำไททัน" ระเบิดได้ชัดเจนขึ้น
TNN ช่อง16
30 มิถุนายน 2566 ( 08:04 )
119

พบหลักฐานซากตัวเรือ อุปกรณ์ลงจอด รวมถึงชิ้นส่วนมนุษย์ คาดรู้สาเหตุ "เรือดำน้ำไททัน" ระเบิดได้มากขึ้น โดยเฉพาะความปลอดภัยของวัสดุที่ใช้ประกอบเรือลำนี้


ประเด็นการสอบสวนสาเหตุการเกิดระเบิดของเรือไททัน เริ่มมีความชัดเจนขึ้น เมื่อได้มีการค้นพบซากตัวเรือ อุปกรณ์ลงจอด รวมถึงชิ้นส่วนมนุษย์ที่ติดมากับซาก รวมไปถึงสายเคเบิลใช้ระบบกลไกเรือ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสาเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น โดยเฉพาะความปลอดภัยของวัสดุที่ใช้ประกอบเรือลำนี้ขึ้นมา 

หน่วยงานยามฝั่งสหรัฐฯ แถลงว่า ทางหน่วยงานซึ่งเป็นผู้นำการสอบสวนได้รับชิ้นส่วนซากเรือดำน้ำ “ไททัน ซับเมอร์ซิเบิล”( Titan submersible) และหลักฐานที่รวมไปถึงสิ่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนร่างมนุษย์ ที่ได้จากก้นมหาสมุทรในจุดเกิดเหตุที่เชื่อว่าเรือดำน้ำ ซึ่งนำผู้โดยสารมหาเศรษฐี 4 คน และซีอีโอเจ้าของโอเชียนเกต สต็อกตัน รัช (Stockton Rush) 1 คน ดำดิ่งลงใต้มหาสมุทร จนเกิดการระเบิด ทำให้ทุกคนเสียชีวิต

หน่วยงานยามฝั่งสหรัฐฯ แถลงว่า หลักฐานทั้งหมดจะส่งไปท่าเรือในสหรัฐฯ เพื่อการวิเคราะห์และทดสอบโดยบอร์ดทางทะเลของการสอบสวน

ทั้งนี้ ชิ้นส่วนถูกพบที่ก้นมหาสมุทร ระดับความลึกเกือบ4 กิโมตร จุดที่พบห่างจากเรือไททานิค 500 เมตร พบว่าในการค้นหาโดยเรือแคนาดา ฮอไรซัน อาร์คติก ใช้หุ่นยนต์ดำน้ำลึกบังคับจากระยะไกลหรือ ROV  ในการสำรวจ ซึ่งหุ่นยนต์ดำน้ำลึก ROV ตัวที่ออกปฎิบัติการมีความสามารถดำน้ำได้ลึกมาถึง 20,000 ฟุต ขณะที่จุดที่ซากเรือไททานิคล่มนั้นอยู่ระดับความลึกที่ 12,500 ฟุตวัดจากผิวน้ำ 

โดยพบชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้นที่ละม้ายคล้ายกับส่วนของตัวเรือที่มีสีขาว และส่วนลงจอดที่ออกแบบสำหรับการลงจอดบนก้นมหาสมุทร โดยพบชิ้นส่วนมนุษย์ติดมากับซากเรือด้วย

นอกจากนี้ ในการค้นพบล่าสุดยังรวมไปถึงสายเคเบิลที่บิดเบี้ยวเกี่ยวข้องกับระบบกลไกของเรือดำน้ำไททันรวมอยู่กับซากชิ้นส่วนจากเรือดำน้ำไททัน

ซึ่งซากชิ้นส่วนหลายชิ้นของเรือดำน้ำที่เกิดระเบิดภายใน ได้ถูกนำขึ้นฝั่งในนิวฟาวแลนด์ (Newfoundland) แคนาดาในเช้าวันที่ 28 มิถุนายน ถือเป็นหลักฐานที่บรรดาเจ้าหน้าที่กล่าวว่าจะช่วยเหลือในการสอบสวนต่อเหตุโศกนาฎกรรม และสามารถตอบคำถามได้เกี่ยวกับการออกแบบในเชิงทดสอบของตัวเรือดำน้ำ มาตรฐานความปลอดภัยและการไม่มีใบอนุญาตรับรอง

นอกจากนี้ เป็นเวลาหลายปีก่อนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมที่คร่าชีวิตซีอีโอโอเชียนเกต เคยมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ออกมาเตือนรัชถึงข้อบกพร่องของการออกแบบเรือดำน้ำของเขาที่มีการใช้วัตถุคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fiber)มาใช้สำหรับวัสดุเพื่อเป็นตัวเรือดำน้ำและกลายเป็นจุดตายของเรือดำน้ำไททัน ซับเมอร์ซิเบิลโดยให้เหตุผลว่า คาร์บอน ไฟเบอร์ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัสดุสำหรับการดำน้ำระดับความลึกมากเช่นนี้ส่งผลทำให้เรือดำน้ำไม่มีความปลอดภัยสูง



ภาพจาก รอยเตอร์



ข่าวที่เกี่ยวข้อง