รีเซต

สำรวจอาการ Post COVID-19 Syndrome หายป่วยโควิด ชีวิตเปลี่ยน

สำรวจอาการ Post COVID-19 Syndrome หายป่วยโควิด ชีวิตเปลี่ยน
Ingonn
8 กันยายน 2564 ( 14:29 )
309
สำรวจอาการ Post COVID-19 Syndrome หายป่วยโควิด ชีวิตเปลี่ยน

หายป่วยจากโรคโควิด ใครจะคิดว่ามันไม่ได้หายไปหมดเหมือนเวลาหายเป็นหวัด ซึ่งอาการป่วยโควิดที่หลงเหลืออยู่เป็นเวลานาน ยาวนานมากกว่า 1 เดือนหรือมากกว่า 4-6 สัปดาห์เสียอีก สิ่งที่เกิดขึ้นเราเรียกมันว่า “Post COVID-19 Syndrome” หรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า “Long COVID” คือ  อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19

 

 

ภาวะ Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันได้แล้วแต่คน ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท,ระบบทางเดินอาหาร,หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว

 

 

แต่ Post COVID-19 Syndrome นพ.วินัย โบเวจา หัวหน้าศูนย์สุขภาพปอด อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 กล่าวว่า อาจเกิดจากผลข้างเคียงของการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากโควิด-19 เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ให้ปอดอักเสบ และทำให้การนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ล้มเหลวลง เมื่อร่างกายต้องต้านเชื้อโควิดที่ลงปอด จึงต้องรับประทานยามากขึ้นเพื่อลดการอักเสบของปอด ทำให้ผู้ป่วยโควิดต้องรับประทานยาเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากมีโรคเบาหวาน และในคนที่มีอาการหอบเหนื่อยมาก เคลื่อนไหวลำบาก ก็อาจเกิดภาวะปอดแฟ่บ เนื่องจากการกดทับบริเวณเดิมติดต่อกันนานๆ ทำให้ออกซิเจนหมุนเวียนในปอดได้น้อยลง และอาจมีภาวะกล้ามเนื้อลีบ หรือเกิดแผลกดทับได้ ซึ่งเมื่อรักษาหายก็ต้องอาศัยระยะเวลาให้ปอดและระบบภูมิคุ้มกันได้ฟื้นตัว

 

 


อาการที่พบในผู้ป่วย “Post COVID-19 Syndrome” หรือ “Long COVID”


อาการที่พบบ่อย


รู้สึกเหนื่อยล้ามาก อ่อนเพลีย, หายใจถี่, แน่นเจ็บหน้าอก และปวดข้อเข่า หรือในบางรายอาจมีอาการ อย่าง ปวดตามกล้ามเนื้อ, ปวดหัว, มีไข้เป็นๆ หายๆ, ใจสั่น และอาจมีภาวะซึมเศร้าได้

 

 

หากอาการหลังหายป่วยยังยาวนานต่อเนื่อง


อาจส่งผลข้างเคียงต่ออวัยวะร่างกายส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ปอดทำงานผิดปกติ, ผมร่วง, ผื่นขึ้น, มีปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่นและการรับรสชาติ, นอนไม่หลับ, มีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิ และอารมณ์แปรปรวน

 

 

ไม่เพียงแค่นั้น หากเริ่มสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติรุนแรง เช่น อาการหายใจไม่ออกแย่ลงกว่าเดิม, เริ่มมีภาวะสับสน มีปัญหาการรับรู้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน การมองเห็น หรือการพูด นี่เป็นสัญญาณว่าควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

 


กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วย “Post COVID-19 Syndrome” หรือ “Long COVID”


1.ผู้สูงอายุ

 

2.ผู้ทีมีภาวะอ้วน

 

3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว

 

4.ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

 

5.ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง จะมีความเสี่ยง ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

 

 

 

ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองหลังออกจากโรงพยาบาล โดยเลือกกินอาหารดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณคาเฟอีน สำหรับคนที่หายป่วยจากโควิด-19 ยังไม่แนะนำให้ออกกำลังกายมากเกินไปและออกกำลังกายจนเหนื่อยเกินไป ควรปรับให้เป็นการออกกำลังแบบเบา ๆ เพื่อให้ปอดไม่ทำงานหนักจนเกินไปและร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัวและปรับตัวกลับสู่สภาวะที่แข็งแรง และหากสังเกตเห็นว่ามีอาการผิดปกติรุนแรง ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ตรงกับสาเหตุของอาการที่เป็นอยู่ เพราะอาการลองโควิด (Long COVID) หรือ “Post COVID-19 Syndrome” ไม่ใช่แค่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจส่งผลกระทบรุนแรงถึงชีวิตได้

 

 

นอกจากนั้นยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kings College London ที่ชี้ว่า “วัคซีนโควิด-19” ยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิดในระยะยาว หรือ Long COVID นอกเหนือจากการป้องกันการติดเชื้อและเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่สุดในการดูแลตัวเองในช่วงโควิด-19 ระบาดเลยทีเดียว

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ หนองแขม , healthaddict , voathai

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง