ทล.สรุปสถานการณ์อุทกภัย 7-14 ก.ย. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม-ดินสไลด์ 26 จังหวัด 48 สายทาง
กรมทางหลวงสรุปสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวง ระหว่างวันที่ 7-14 กันยายน 2564 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 26 จังหวัด 48 สายทาง พร้อมเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จากกรณีที่มีหลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) ในพื้นที่หลายจังหวัดเกิดน้ำท่วมและดินสไลด์ ทำให้ประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ และหน่วยงานในสังกัดกรมทางหลวงได้ลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังพายุดีเปรสชัน โกนเซินพร้อมดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ โดยเตรียมความพร้อมในการป้องกัน, การฟื้นฟู และการเยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติ พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ให้รายงานผลการดำเนินงานมายังกระทรวงฯ รับทราบทุกวัน พร้อมทั้งมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์การดำเนินการไปยังสื่อมวลชนและประชาชนให้รับทราบด้วย นั้น
กรมทางหลวงขานรับข้อสั่งการดังกล่าว โดยนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย สำนักบริหารบำรุงทาง, สำนักงานทางหลวง, ศูนย์สร้างทาง, ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน แขวงทางหลวง และหมวดทางหลวงทั่วประเทศ เตรียมพร้อมบุคลากร เครื่องมือ และเครื่องจักรตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทันทีตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โดยในระหว่างวันที่ 7 – 14 กันยายน 2564 พบทางหลวงถูกน้ำท่วมและดินสไลด์จำนวน 26 จังหวัด 48 สายทาง ดังนี้
ภาคกลาง จำนวน 6 จังหวัด สายทาง 16 สายทาง
1. จ.สมุทรปราการ (7 สายทาง) ได้แก่ ทล.3 ตอน แบริ่ง – ท้ายบ้าน, ทล.34 ตอน ทางเข้าท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิ – บางวัว, ทล.3117 ตอน คลองด่าน – บางบ่อ, ทล. 3268 ตอน สำโรง – บางเมือง, ทล.3413 ตอน ทางเข้าบางบ่อ, ทล.3344 ตอน อุดมสุช – สมุทรปราการ, ทล.3901 ตอน พระประแดง – บา
2. จ.ปทุมธานี (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.1 ตอน สนามกีฬาธูปะเตมีย์ – ต่างระดับคลองหลวง
3. จ.พิษณุโลก (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.1086 ตอน พิษณุโลก – มะขามสูง
4. จ.สุโขทัย (2 สายทาง) ได้แก่ ทล.101 ตอน คลองโพธิ์ – ท่าช้าง และ ทล.1048 ตอน หอรบ – สวรรคโลก
5. จ.เพชรบูรณ์ (4 สายทาง) ได้แก่ ทล.2216 ตอน โคกมน-กกกะทอน, ทล.2008 ตอน หล่มสัก – น้ำก้อ ,
ทล.2343 ตอน สักหลง – วังมล, ทล.2466 ตอน หล่มสัก – สักหลง
6. จ.กำแพงเพชร (1 สายทาง ) ได้แก่ ทล.1 ตอน โนนปอแดง – ปากดง
ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด 4 สายทาง
7. จ.ตราด (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.3 ตอน เขาสมิง – แม่น้ำตราด
8. จ.ชลบุรี (2 สายทาง) ได้แก่ ทล.331 ตอน เนินโมก – แปลงยาว และ ทล.3241 ตอน ศรีราชา – อ่างเก็บน้ำหนองค้อ
9. จ.ปราจีนบุรี (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.3077 ตอน ศาลนเรศวร – เขาใหญ่
ภาคใต้ จำนวน 2 จังหวัด 2 สายทาง
10. จ.ตรัง (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.4046 ตอน ตรัง – สิเกา
11. จ.สตูล (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.404 ตอน บ้านนา – ละงู
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 จังหวัด 16 สายทาง
12. จ.สกลนคร (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.2094 ตอน ผาอินทร์ – ท่าก้อน
13. จ.มหาสารคาม (1 สายทาง) ได้แก่ ทล. 213 มหาสารคาม – หนองขอน
14. จ.ร้อยเอ็ด (2 สายทาง) ได้แก่ ทล.215 ตอน สุวรรณภูมิ – สาหร่าย และ ทล.2116 ตอน โพนทอง – ห้วยคล้อ
15. จ.กาฬสินธ์ (3 สายทาง) ได้แก่ ทล. 12 ตอน ห้วยสีดา – ลำน้ำพาน, หนองผ้าอ้อม – สี่แยกสมเด็จ, ทล.227 ตอน กาฬสินธุ์ – แยกดงแหลม และ ทล.2336 ตอน หนองผ้าอ้อม – กุฉินารายณ์
16. จ.ชัยภูมิ (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.2174 ตอน จัตุรัส – บำเหน็จณรงค์
17. จ.นครราชสีมา (5 สายทาง) ได้แก่ ทล.2 ตอน ไร่โคกสูง – โคกกรวด, ทล.201 ตอน หินกล่อง – ด่านขุนทด และ
ตอน ทางต่างระดับสีคิ้ว – หินกล่อง , ทล.205 ตอน โคกสวาย – แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 1 ,ทล.2090 ตอน ปางแก – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ ทล.2247 ตอน ป่าไผ่ – ปากช่อง
18. จ.ยโสธร (1 สายทาง) ได้แก่ ทล. 2169 กุดชุม – เลิงนกทา
19. จ.เลย (2 สายทาง) ได้แก่ ทล.201 ตอน ผานกเค้า – หลักร้อยหกสิบ และ ทล.2114 ตอน ด่านซ้าย – ปากหมัน
ภาคตะวันตก จำนวน 3 จังหวัด 5 สายทาง
20. จ.ตาก (3 สายทาง) ได้แก่ ทล.1 ตอน วังเจ้า – ตาก – วังม่วง, ทล.12 ตอน แม่ละเมา – ตาก เกิดดินสไลด์ 1 ช่อง จราจร และ ทล. 1175 ตอนห้วยส้มป่อย – เจดีย์ยุทธหัตถี เกิดดินสไลด์ ต้นไม้หักโค่นปิดทับผิวทาง
21. จ.กาญจนบุรี (1 สายทาง) ทล.3306 ตอน หนองปรือ – สระกระโจม
22. จ.เพชรบุรี (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.4 ตอน สระพระ – ห้วยทรายใต้
ภาคเหนือ จำนวน 4 จังหวัด 5 สายทาง
23. จ.เชียงใหม่ (2 สายทาง) ได้แก่ ทล.108 ตอน เชียงใหม่ – ปากทางลี่ และ ทล.1012 ตอน ฮอด – วังลุง
24. จ.ลำพูน (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.1274 ตอน ลี้ – แม่บอน
25. จ.แพร่ (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.1124 ตอน ปางกุ่ม – วังชิ้น เกิดน้ำป่าไหลหลาก กัดเซาะคอสะพาน
26. จ.ลำปาง (1 สายทาง) ได้แก่ ทล.1124 ตอน ท่าผา – ปางกุ่ม น้ำป่าไหลหลากกัดเซาะสะพานขาด
สำหรับในกรณีที่เกิดดินสไลด์ ต้นไม้หักโค่นปิดทับผิวทาง คอสะพานขาด กรมทางหลวงได้ดำเนินการเคลียร์พื้นที่และซ่อมแซมเส้นทางดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และเปิดให้บริการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)