Into the past : ปิดตำนาน "เชลล์ชวนชิม" , “Guinness World Records” ฉบับแรกถูกตีพิมพ์ (27ส.ค.)
Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
Into the past : ประเทศไทย
พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ถึงแก่กรรม ปิดตำนาน "เชลล์ชวนชิม"
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นศิลปินแห่งชาติ นักแสดง นักร้อง นักเขียน และนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแนะนำและจัดระดับความอร่อยของร้านอาหาร ในชื่อ "เชลล์ชวนชิม" สัญลักษณ์ชามลายผักกาด ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 โดยดัดแปลงมาจาก "มิชลินไกด์" ของผลิตภัณฑ์มิชลิน
โดย ม.ร.ว.ถนัดศรี ได้รับการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญในการทำอาหารมาจากหม่อมมารดา หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ผู้เคยปรุงพระกระยาหารถวายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ด้วยเลือดศิลปินการขับร้องเพลงไทยเดิมจาก คุณตา หลวงกล่อมโกศลศัพท์ (จอน สุนทรเกศ) ซึ่งเป็นน้าของหม่อมมารดา และ หม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (เศวตะทัต) หม่อมมารดา พรสวรรค์จากสายเลือด จึงทำให้คุณชายได้กลายเป็นนักร้องสุนทราภรณ์รุ่นแรก และออกแผ่นเสียง และอัลบัม โด่งดังอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีเพลงโด่งดังระดับตำนานมากมาย เช่น สีชัง ยามรัก หวงรัก วนาสวาท จนได้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2551
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลเปาโล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 11.35 น.
=====
Into the past : รอบโลก
พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - “Guinness World Records” ฉบับแรกถูกตีพิมพ์
ภาพประกอบจาก : AFP
"The Guinness Book of Records" ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร มันก็เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อหนังสือ “ Guinness World Records” ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ประจำปีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์มากมาย
“Guinness World Records” มีจุดเริ่มต้นในโรงเบียร์กินเนสส์ โดย เซอร์ฮิวจ์ บีเวอร์ ผู้จัดการโรงเบียร์ได้ถกเถียงกับเพื่อนๆ ว่า นกหัวโตหลังจุดสีทอง หรือไก่ป่าเกราส์ บินเร็วกว่ากัน ซึ่งไม่สามารถหาอะไรมาอ้างอิงได้ และเขาพบว่ายังมีคำถามอีกมากมายในผับทั่วอังกฤษที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ จึงเกิดความคิดที่จะรวบรวมคำตอบของคำถามเหล่านี้ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า The Guinness Book of Records ตีพิมพ์ครั้งแรก 1,000 เล่ม เมื่อปี ค.ศ. 1955 โดยชื่อกินเนสส์มาจากชื่อโรงเบียร์กินเนสส์นั่นเอง โดยโรงเบียร์กินเนสส์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการผลิตหนังสือแต่อย่างใด.
==========
Into the past : เรื่องราวในวันวาน 26 สิงหาคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ข้อมูล : history , wikipedia