สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ กสพท. ปี 2565
จากการระบาดของโควิด 19 จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างยากลำบากแล้ว ซึ่งแม้จะมีการเรียนการสอนออนไลน์เข้ามาช่วย แต่น้อง ๆ นักเรียนหลาย ๆ คน ก็ยังคงรู้สึกถึงประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่น้อยลง เรื่องนี้ต้องบอกว่านอกจากจะส่งผลไปยังการเรียนการสอน หรือแม้แต่การสอบภายในโรงเรียนแล้ว สำหรับการสอบเพื่อเข้าอุดมศึกษาอย่างการสอบ กสพท. คืออะไรที่ใครหลายคนยังคงสงสัยอยู่นั้น วันนี้ TrueID จะมาตอบข้อสงสัยให้ทราบกัน
กสพท. คืออะไร ?
กสพท. เป็นคำที่ย่อมาจาก กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งก็จะเป็นการรวมกลุ่มของ 4 คณะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งการสอบ กสพท. คือที่ได้อธิบายไปนี้ จะเป็นการสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย
กสพท. คุณสมบัติ เป็นอย่างไร ?
- นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้น ม. 6 และเทียบเท่า เด็กซิ่ว กศน. ปวช. หรือ จบ ป.ตรี
- คณะทันตแพทยศาสตร์ รับเฉพาะแผนการเรียน วิทย์ – คณิต เท่านั้น
- คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ รับทุกแผนการเรียน
- ถ้าเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 1 ไม่ต้องลาออก *ยกเว้นเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในคณะที่จะสมัคร ต้องลาออกก่อนตามวันที่กำหนดตามระเบียบการรับสมัครของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยในปีการศึกษานั้นๆ
- กรณีเด็กซิ่วเกินปี 1 ขึ้นไป ต้องลาออกก่อนวันสมัครสอบ
กสพท. 65 สอบอะไรบ้าง ?
การสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก
โดยส่วนแรกคือ วิชาสามัญ สัดส่วนน้ำหนัก 70%
ซึ่งจะเป็นการรวมจาก 7 วิชา โดยเกณฑ์การคัดเลือกก็คือจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำ 30% จากคะแนนเต็มในแต่ละวิชา ซึ่งในแต่ละวิชาก็จะมีสัดส่วนน้ำหนักต่างกัน คือ
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) สัดส่วน 40% ซึ่งจะเป็นวิชาที่มีน้ำหนักสูงสุดใน 7 กลุ่มวิชาสามัญเลยทีเดียว หากน้อง ๆ คนไหนสามารถทำคะแนนวิชานี้ได้สูง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการสอบติดทั้ง 4 คณะที่ในฝันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม
- วิชาภาษาอังกฤษและวิชาคณิตศาสตร์ สัดส่วน อย่างละ 20%
- วิชาสังคมศึกษาและวิชาภาษาไทย สัดส่วน อย่างละ 10% เพียงเท่านั้นก็จะครบ 100% ของกลุ่มวิชาสามัญ นั่นเอง
อีกสัดส่วน 30% จะเป็นคะแนนเฉพาะการสอบ กสพท 65
ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วน
- เชาว์ปัญญา กลุ่มอนุกรมและการทดสอบเชาว์ กลุ่มมิติสัมพันธ์ กลุ่ม MATH ม.ต้น + ม.ปลาย ทั่วไป
- จริยธรรมทางการแพทย์ ที่ไม่มีเรียนในห้องเรียน
- ความคิดเชื่อมโยง ใช้การคิดวิเคราะห์จับใจความ คล้ายกับข้อสอบ GATเชื่อมโยง แต่มีความเป็นเหตุเป็นผลที่ค่อนข้างยากกว่า
กสพท. มหาลัยที่เข้าร่วมมีอะไรบ้าง ?
สำหรับโอกาสที่เปิดรับสมัครนั้น ก็ต้องบอกว่า กสพท 65 จากข้อมูลล่าสุดนั้น จะเปิดรับสมัครทั้งหมด 2,600 คนซึ่งลดลงจากปีก่อนที่เปิดรับสมัคร 2,622 คน ซึ่งหากในอนาคตจะมีสถาบันมาเปิดรับเพิ่มหรือไม่ ก็ต้องติดตามความคืบหน้ากันด้วย ทีนี้เราลองมาดูสถานศึกษาที่เข้าร่วมการสอบ กสพท 65 ล่าสุดครบทั้ง 4 คณะกันเลย ดังนี้
คณะแพทยศาสตร์ ทั้งหมด 21 แห่ง จำนวนรวม 1,211 คน ประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (โรงพยาบาลราชวิถี) (สถาบันเอกชน)
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (โรงพยาบาลเลิดสิน) (สถาบันเอกชน)
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี) (สถาบันเอกชน)
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช-โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า** เพศชาย
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า** เพศหญิง
- สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยสยาม (สถาบันเอกชน)
คณะเภสัชศาสตร์ ทั้งหมด 12 แห่ง จำนวนรวม 560 คน ประกอบด้วย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยเนชั่น (สถาบันเอกชน)
- มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น (สถาบันเอกชน)
- มหาวิทยาลัยรังสิต (สถาบันเอกชน)
คณะทันตแพทยศาสตร์ ทั้งหมด 12 แห่ง จำนวนรวม 528 คน ประกอบด้วย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (สถาบันเอกชน)
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทั้งหมด 13 แห่ง จำนวนรวม 301 คน ประกอบด้วย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ)
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ)
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยสยาม (สถาบันเอกชน) (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (สถาบันเอกชน)
- มหาวิทยาลัยพายัพ (สถาบันเอกชน) (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม)
สมัครที่ไหน / ค่าสมัครสอบเท่าไหร่
วิชาสามัญ(รวมทั้งหมด 7 วิชา)
ราคา 700 บาท สมัครผ่าน สทศ. www.niets.or.th
วิชาเฉพาะหรือ วิชาความถนัดแพทย์
ราคา 800 บาท สมัครผ่าน กสพท www9.si.mahidol.ac.th
ชำระเงินออนไลน์ ผ่านช่องทางดังนี้
- app SCB เท่านั้น
- ตู้ ATM SCB
- ธนาคารสาขาย่อย (ซึ่งต้องพิมพ์เอกสารกสพท.02 หรือใบจ่ายเงินไปด้วย)
รายชื่อสนามสอบ วิชาเฉพาะ กสพท.
สนามสอบ จะมีทั้งหมด 9 แห่ง
- กรุงเทพและปริมณฑล
- ชลบุรี
- นครนายก (มศว องครักษ์) **เปิดใหม่
- เชียงใหม่
- พิษณุโลก
- นครราชสีมา
- อุบลราชธานี
- ขอนแก่น
- สงขลา
**อาจจะเปิดเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ ควรเลือกสนามสอบให้ดี หากมีปัญหาจะไม่สามารถเปลี่ยนได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >>>คะแนน กสพท 65 ออกแล้ว! เช็กผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะ สถิติคะแนน ที่นี่
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<