ผู้พิพากษาแคนาดาตัดสินให้การส่งอีโมจิยกนิ้ว คือ การยอมรับข้อตกลงในสัญญา
ผู้พิพากษาในรัฐซัสแคตเช ประเทศแคนาดาตัดสินให้การส่งข้อความด้วยอีโมจิยกนิ้วโป้งที่คล้ายกับสัญลักษณ์การกด Like เป็นข้อตกลงในสัญญาและให้ถือเป็นลายเซ็นในสัญญา โดยศาลให้เหตุผลว่าเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยรูปแบบวิธีการสื่อสาร
ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นหลังผู้ซื้อธัญพืชคนหนึ่งส่งข้อความพูดคุยเรื่องการซื้อขายกับเกษตรกรโดยมีข้อตกลงซื้อต้นปอ 86 ต้น ในราคา 13 ดอลลาร์ต่อบุชเชล (หน่วยวัดทางการเกษตร) รวมเป็นเงิน 1,712.73 ดอลลาร์แคนาดา หรือ 45,400 บาท และเรียกร้องให้เกษตรกรยืนยันการซื้อขายในราคาดังกล่าว ต่อมาเกษตรกรได้ส่งข้อความเป็นอีโมจิยกนิ้วโป้งกลับมา
อย่างไรก็ตามเมื่อราคาผ้าลินินสูงขึ้นเกษตรกรได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าวทำให้ผู้ซื้อธัญพืชคนดังกล่าวยื่นฟ้องเกษตรกรในข้อหาที่ตกลงการซื้อขายและไม่ทำตามเงื่อนไข แม้ว่าจะเป็นการส่งอีโมจิยกนิ้วโป้งก็ตาม
คดีดังกล่าวศาลตัดสินให้ผู้ซื้อธัญพืชชนะคดีและฝ่ายเกษตรกรจะต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นมูลค่า 62,000 ดอลลาร์แคนาดา หรือประมาณ 1,641,500 บาท แม้ฝ่ายเกษตรอ้างว่าเขาไม่มีเวลาตรวจสอบรายละเอียดสัญญาและการส่งอีโมจิยกนิ้วโป้งให้เป็นเพียงการรับทราบใบเสร็จการรับเงินเท่านั้น
นอกจากนี้ฝ่ายเกษตรกรยังแย้งว่าหากศาลให้ความสำคัญกับการส่งอีโมจิยกนิ้วโป้ง ในอนาคตอีโมจิรูปอื่น ๆ อาจถูกนำมาประกอบคำตัดสินของศาลได้เช่นเดียวกันซึ่งอาจทำให้กระบวนการตัดสินคดีอื่น ๆ ยุ่งยากมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อไปดูความหมายที่แท้จริงของอีโมจิยกนิ้วโป้งพบมีความหมายว่า “การแสดงความยินยอม อนุมัติ หรือสนับสนุนในการสื่อสารดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัฒนธรรมตะวันตก” ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาลตัดสินให้ฝ่ายผู้ซื้อธัญพืชเป็นฝ่ายชนะคดี
ที่มาของข้อมูล Engadget, Theguardian
ที่มาของรูปภาพ Pixabay