รีเซต

ทำความรู้จัก สารไนเตรทหรือไนไตรท์ และภาวะเมทฮีโมโกลบิน จาก "ไส้กรอกมรณะ"

ทำความรู้จัก สารไนเตรทหรือไนไตรท์ และภาวะเมทฮีโมโกลบิน จาก "ไส้กรอกมรณะ"
Oopsoi5
4 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:08 )
753
ทำความรู้จัก สารไนเตรทหรือไนไตรท์ และภาวะเมทฮีโมโกลบิน จาก "ไส้กรอกมรณะ"

จากกรณีที่ กรมควบคุมโรค เผยว่าเด็กเกิดภาวะเมทฮีโมโกลบิน หลังกินไส้กรอกไร้ยี่ห้อ ไม่มี อย. เกิดจากสารไนเตรทหรือไนไตรท์วัตถุกันเสียที่มากเกินกำหนด ทำให้ส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายน้อยลง จนเกิดอาการอาเจียน หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต สารไนเตรทหรือไนไตรท์ ที่ใส่เข้าไปในไส้กรอกคืออะไร TrueID หาคำตอบมาให้แล้ว

 

ไนเตรทหรือไนไตรท์

เป็นสารเจือปนอาหารเพื่อช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะ คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเชื้อนี้มีอันตรายต่อสุขภาพของคนสูงมาก และสามารถเจริญได้ดีในสภาวะการบรรจุแบบสุญญากาศ ดังนั้น การใช้สารไนเตรทหรือไนไตรท์ในไส้กรอกจึงมีความจำเป็น และ หากไม่ใส่อาจเกิดโทษมากกว่า

 

ควรใส่ไนเตรทปริมาณเท่าไร?

การใส่ไนไตรท์ และไนเตรทในอาหารจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ สารไนเตรทหรือไนไตรท์ ในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งไนไตรท์และไนเตรทให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากความปลอดภัยของผู้บริโภคมีความสำคัญ

 

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน คืออะไร?

ภาวะเมธฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) คือ ภาวะที่เม็ดฮีโมโกลบินในเลือดมากผิกปกติ เพราะมีสารอื่นไปจับเม็ดเลือดแดง แทนที่ออกซิเจน ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดอ็อกซิเจน ทำให้มีอาการเหนื่อยล้าง่าย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน หากมีอาการมาก จะทำให้ปลายมือเท้าเขียว และอาจขั้นหมดสติ หรือเสียชีวิตได้

 

กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับสารไนไตรท์ในปริมาณที่สูงมากโดยฉับพลัน สารไนไตรท์จะจับตัวกับฮีโมโกลบินในเลือด จนเลือดเกิดเป็น “เมทฮีโมโกลบิน” (methaemoglobin) ร่างกายขาดฮีโมโกลบินที่จะไปจับกับออกซิเจน ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเลือด มีอาการตัวเขียว เล็บเขียว หอบ เหนื่อย หัวใจเต้นแรง และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หรืออาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเบื้องต้น

 

ทั้งนี้จากข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ถ้าคำนวณเทียบกับน้ำหนักตัวเฉลี่ยของวัยรุ่นอายุ 9-18 ปี โดยคิดน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 44.5 กิโลกรัม และผู้ใหญ่วัย 19 ปีขึ้นไป ค่าน้ำหนักเฉลี่ยที่ 54.5 กิโลกรัม จะพบว่า ปริมาณไนไตรท์ที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ในการบริโภคหนึ่งครั้ง คือ 1,424 และ 1,744 มิลลิกรัม ตามลำดับ

 

ข้อมูล : มติชน , mahidol

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง