รีเซต

เลย ผอ.จิตเวชเลย เผย มีการฆ่าตัวตายที่เลยช่วงนี้และช่วงโควิด 19 สูงขึ้น

เลย ผอ.จิตเวชเลย เผย มีการฆ่าตัวตายที่เลยช่วงนี้และช่วงโควิด 19 สูงขึ้น
77ข่าวเด็ด
7 พฤษภาคม 2563 ( 06:38 )
125
เลย ผอ.จิตเวชเลย เผย มีการฆ่าตัวตายที่เลยช่วงนี้และช่วงโควิด 19 สูงขึ้น

 

ได้รับการเปิดเผย นายแพทย์อาทิตย์ เล่าสุอังกูร  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ กล่าวถึงสถานการณ์ ของโคโรนาไวรัส 2019 ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียด กับประชาชนทั่วไปรวมถึงชุมชนและสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากให้ทุกคนได้ตระหนักไว้และอยากจะแนะนำ ได้แก่

 

1. ต้องติดตามข่าวสารที่ถูกต้อง ข่าวที่แฉมาโดยที่ยังไม่ได้กลั่นกรองก็ต้องพึ่งตระหนักไว้ว่าอาจจะไม่ใช่ความจริง

 

๒. การคิดในแง่บวก เมื่อเจอข่าวสารใดๆ ก็ตามให้เราคิดในแง่บวกไว้ก่อน และไม่ควรตีตราคนในสังคมถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักมีอาการน้อย มีส่วนน้อยที่มีอาการหนัก ซึ่งกลุ่มอาการหนักก็จะได้รับการรักษาอย่างดีในโรงพยาบาล

 

 

นอกจากนี้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีในสังคม จึงอยากให้พวกเราได้ฟันฝ่าตรงนี้ไปด้วยกัน โดยสโลแกนของกรมสุขภาพจิตคือ อึด ฮึด สู้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเราผ่านตรงนี้ไปได้

 

นายแพทย์อาทิตย์  กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายในพื้นที่จังหวัดเลย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่จังหวัดเลยและใกล้เคียงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2562 อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ประมาณ 5ต่อแสนประชากร แต่เมื่อครบระยะเวลาสองไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ประมาณ 6.9 ต่อแสนประชากร แสดงให้เห็นว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งเกินค่าเป้าหมายที่6.3ต่อแสนประชากรมาเล็กน้อย

 

 

ซึ่งเกิดจากสาเหตุในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล การตกงานขาดรายได้ ปัญหาการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ความเครียดจากการถูกกักตัว ปัญหาความเครียดจากการห้ามขายสุรา ความกดดันจากสังคมรอบข้าง

 

 

ข้อแนะนำสำหรับกลุ่มคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช

สำหรับในกลุ่มที่มีความเครียดสูง วิตกกังวล มีภาวะซึมเศร้า ภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และในกลุ่มคนทำงานจะมีภาวะ burnout หรือภาวะหมดไฟได้ จึงอยากจะฝากข้อแนะนำไว้ว่า

 

1. อยากให้พวกเราทุกคนดูแลตัวเองก่อนโดยการคิดบวก มองในแง่ดี บางอย่างที่เป็นดังใจ ก็ให้ let ‘to หรือช่างมันไปก่อนให้ตนเองมีความเข้มแข็งฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน

2. ใช้หลัก 3 ส เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส ที่หนึ่งคือ สอดส่อง มองหา หมายถึง การสำรวจตนเอง และสำรวจคนรอบข้าง โดยสอกส่องมองหาว่าเขามีความเครียดไหม มีภาวะซึมเศร้าหรือภาวะอยากฆ่าตัวตายหรือไม่ เพื่อที่เราจะได้เข้าไปดูแลเขา ส ที่สองคือ ใส่ใจรับฟัง หมายถึง การเข้าไปถามไถ่รับฟัง ให้กำลังใจเขา และถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือเราก็จะได้ยื่นมือเข้าไปช่วย ส ที่สามคือ ส่งต่อ เชื่อมโยง หมายถึง

 

เมื่อพบว่าคนรอบข้างต้องการความช่วยเหลือเราก็สามารถส่งต่อเขาให้ได้รับการช่วยเหลือ เช่น มาที่สถานพยาบาล หรือแม่แต่ตัวเราเองถ้ามีอาการที่ไม่ไหวก็ส่งต่อตัวเราเองมาเพื่อขอความช่วยเหลือได้ ซึ่งช่องทางการให้ความช่วยเหลือมีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล แอฟพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอฟสบายใจ เป็นไลน์แอด ของโรงพยาบาลจิตเวช รายการทีวีบ้านพลังใจ เบอร์โทรฮอตไลน์สายด่วน ของกรมสุขภาพจิต สำหรับประชาชน โทรได้ที่เบอร์ 1323 ตลอด24ชั่วโมง และสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถโทรเข้ามาที่เบอร์ฮอตไลน์พิเศษสำหรับบุคลากรกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ที่เบอร์ด้านล่างนี้  สายด่วนสุขภาพจิต 1323  ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง