รีเซต

เป็นหนี้ช่วงโควิด-19 จะผ่อนปรนได้กี่วิธี

เป็นหนี้ช่วงโควิด-19 จะผ่อนปรนได้กี่วิธี
TrueID
14 ตุลาคม 2563 ( 09:10 )
5.2K
3

มาตรการผ่อนปรนแต่ละวิธีหมายถึงอะไร และเมื่อจบช่วงผ่อนปรนแล้ว ยอดหนี้คงเหลือของแต่ละวิธีจะเป็นอย่างไร รวมทั้งถ้าต้องเลือกระหว่างผ่อนชำระตามปกติ หรือใช้มาตรการผ่อนปรน จะเลือกทางไหนดี

 

          เริ่มจากวิธีที่ 1 “การพักชำระเงินต้น” หมายถึง การที่สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระคืนเงินต้นตามเวลาที่กำหนดกันไว้ แต่ยังต้องชำระส่วนของดอกเบี้ยตามปกติ

 

 ข้อดีของวิธีนี้ คือจะไม่สามารถชำระค่างวดได้ครบในช่วง 6 เดือนนี้ จะไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ ประวัติการผ่อนจ่ายชำระหนี้จะไม่เสีย และในขณะที่ยังมีความไม่แน่นอนว่าปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะจบลงเมื่อใดก็จะมีเงินเหลือจากการพักชำระเงินต้นกับธนาคาร ไว้ใช้สำหรับการดำรงชีพ

 

          สำหรับวิธีที่ 2 “การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย” คือการที่สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถ “เลื่อนงวดการผ่อนชำระ” ทั้งในส่วนชำระคืนเงินต้นและส่วนของดอกเบี้ย ออกไประยะหนึ่ง เช่น 6 เดือน

 

ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ มาตรการนี้ คือ การเลื่อน “วันครบกำหนดชำระ” ค่างวดออกไปจะไม่สามารถจ่ายค่างวดผ่อนบ้านได้ ก็จะไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และไม่เสียประวัติในฐานข้อมูลเครดิตบูโร นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการ คือ ในช่วง 6 เดือนนี้ที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน ก็จะมีเงินเหลือจากการที่ “ยังไม่ต้องชำระค่างวด” ไว้เป็นสภาพคล่องใช้สำหรับดำรงชีพ

 

          อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารผ่อนปรนให้ “ยังไม่ต้องชำระค่างวด” ไม่ได้หมายความว่าจะยกหนี้ส่วนที่เหลือให้ เพียงแค่บอกว่า “ยังไม่ต้องชำระคืนในช่วงนี้” โดยในช่วงผ่อนปรนนี้ ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินต่อไป

 

โดยสรุปแล้ว มาตรการผ่อนปรนให้สามารถพักหรือเลื่อนชำระหนี้ก็เพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 ที่ไม่สามารถชำระค่างวดได้เต็มตามสัญญา โดยยังไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่ทำให้เสียประวัติการผ่อนชำระในฐานข้อมูลเครดิตบูโร นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่อนปรนประชาชนจะมีสภาพคล่องไว้สำหรับใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

          อย่างไรก็ดี การผ่อนปรน คือ การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ออกไป ภาระหนี้จะยังคงอยู่และในช่วงที่ผ่อนปรน ดอกเบี้ยยังเดินอยู่ ซึ่งแต่ละคนอาจได้รับผลกระทบแตกต่างกันและสามารถเลือกวิธีผ่อนชำระที่เหมาะสมกับรายได้และเงินในกระเป๋าสตางค์ของตัวเองได้

 

คราวนี้ลองเปรียบเทียบว่าหลังจากเหตุการณ์ผ่านไป 6 เดือน ภายใต้ทางเลือกต่าง ๆ ภาระทางการเงินในแต่ละกรณีจะเป็นอย่างไร

 

          สมมติว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม เรามีภาระหนี้คงค้างอยู่ที่ 1,000,000 บาท และต้องผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท แบ่งเป็นส่วนที่ชำระคืนเงินต้น 4,000 บาท และส่วนของดอกเบี้ย 6,000 บาท

 

กรณีที่ 1 : “ผ่อนชำระปกติ” หรือจ่าย 10,000 บาท ทุกเดือน

          6 เดือนต่อมา ภาระหนี้จะลดลงเหลือ 976,000 บาท คิดจาก 1,000,000 บาท - 24,000 บาท (หักส่วนที่ชำระคืนเงินต้นเดือนละ 4,000 บาท x 6 เดือน)

กรณีที่ 2 : “พักชำระเงินต้น เป็นเวลา 6 เดือน จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งช่วงนี้เจ้าหนี้อนุโลมและไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้  

          6 เดือนต่อมา ภาระหนี้จะอยู่ที่ 1,000,000 บาท เท่ากับยอดหนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม

กรณีที่ 3: “พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย หรือเลื่อนงวดการผ่อนชำระออกไปก่อน ซึ่งช่วงนี้เจ้าหนี้อนุโลมและไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้

          6 เดือนต่อมา ภาระหนี้จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,036,000  บาท คิดจาก 1,000,000 บาท + 36,000 บาท (ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเดือนละ 6,000 บาท x 6 เดือน)

 

 

          ถ้าท่านอยู่ในกลุ่มที่ยังพอมีศักยภาพ อาจเลือกชำระตามปกติเพราะจะช่วยให้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม หนี้ไม่เพิ่ม และบางธนาคารให้สิทธิพิเศษปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่สำหรับท่านที่ได้รับผลกระทบ มีสภาพคล่องไม่พอ แนวทางการเลื่อนหรือพักชำระหนี้ก็จะเป็นทางออกหนึ่งสำหรับช่วงนี้

 

อ่าน มีบัตรเครติดแล้วเป็นหนี้ มีผลทางกฎหมายอย่างไร

ภาพโดย Goumbik จาก Pixabay 

 

++++++++++++++++++++

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง