รีเซต

ภาครัฐ เอกชนและสื่อมวลชน สะท้อนน้ำท่วมอุบลปี62 แนะรัฐพัฒนาระบบเตือนภัย พร้อมเยียวยา ปชช.ให้ทั่วถึง

ภาครัฐ เอกชนและสื่อมวลชน สะท้อนน้ำท่วมอุบลปี62 แนะรัฐพัฒนาระบบเตือนภัย พร้อมเยียวยา ปชช.ให้ทั่วถึง
77ข่าวเด็ด
30 กรกฎาคม 2563 ( 22:44 )
231
ภาครัฐ เอกชนและสื่อมวลชน สะท้อนน้ำท่วมอุบลปี62 แนะรัฐพัฒนาระบบเตือนภัย พร้อมเยียวยา ปชช.ให้ทั่วถึง

อุบลราชธานี – เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์แสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (OTOP CENTER) ศูนย์พัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จัดเวทีสาธารณะเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการกับภัยพิบัติอุทกภัยของชาวอุบลราชธานีปีที่ 1 :ภาพสะท้อนผลกระทบจากชาวอุบลราชธานี” ครั้งที่ 1 โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิด

ซึ่งเวทีครั้งที่1 เป็นการเปิดรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชนและสื่อมวลชน เพื่อหาแนวทางบูรณาการและวิธีการแก้ไขจัดการปัญหาน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีอย่างยั่งยืน ทั้งนี้มีหน่วยงานต่างๆ ภาคเอกชนและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนถอดบทเรียนหาทางออกเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติอุทกภัยครั้งต่อไป

นายแพทย์ปราโมทย์ ศรีสำอาง รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ตนเป็นหนึ่งในประชาชนที่รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยในเหตุการณ์ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตของการสื่อสารในเวลาวิกฤตการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ การสร้างระบบเตือนภัยให้เข้มแข็งเข้าถึงทุกพื้นที่เป็นสิ่งหน่วยงานภาครัฐควรพึงจะทำใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยให้ตอบโจทย์สถานการณ์ แต่ทั้งนี้ในวิกฤตยังมีโอกาสอยากเสนอแนวทางการบูรณาการของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ทำการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเป็นไปอย่างทันท่วงที ต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นตัวกลางกระจายข้อมูลข่าวสารให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ถึงปัญหาและพื้นที่ความเสียหาย

มงคล จุลทรรศน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้ภาคธุรกิจขายรถยนต์มือสองของตนเองและเครือข่ายได้รับผลกระทบยอดค้าลดลงธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งในกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วมีความเห็นว่าเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วมอยากให้ภาครัฐเตรียมศูนย์ให้เพียงพอต่อจำนวนประชาชนและแก้ไขระบบการแจ้งเตือนภัย เพราะปัจจุบันการแจ้งเตือนของภาครัฐข่าวสารล่าช้า ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถป้องกันและเตรียมตัวได้ทัน ซึ่งหากอนาคตภาครัฐสามารถกระจายข่าวสารได้รวดเร็วภาคประชาชนรับมือได้ทันจะสามารถลดมูลค่าความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วมได้ไม่น้อย

ส่วนภาคเอกชนผู้ประกอบการร้านอาหารแพปทุมมา หาดคูเดื่อ จังหวัดอุบลราชธานี นายอำนาจ ราชอุดม เล่าว่า ร้านอาหารแพปทุมมาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมประเมินมูลค่าความเสียหายประมาณ  5 ล้านบาท พนักงานในร้านต้องหยุดงานขาดรายได้ ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้หลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือ

ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่ตนได้เผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมมาหลายครั้งอยากเสนอ 1) ให้มีการขุดเส้นทางมูลรลัดจากพื้นที่หนองกินเพลถึงพื้นที่ปากกุดหวาย ระยะทางประมาณ 4 ก.ม. ขนาดเท่าลำมูลน้อย ลดการไหลของน้ำเป็นลักษณะแก้มลิง 2) ขุดมูลรัดให้น้ำไปลงที่แก่งตะนะ ลดปัญหาน้ำท่วมในตัวจังหวัดอุบลฯ 3) ในช่วงเดือนสิงหาคมภาครัฐควรเริ่มเตรียมตัวรับมือกับอุทกภัย เช่น เครื่องผลักดันน้ำ เป็นต้น

ซึ่งต่อมา นายชัยวัฒน์ บรรหาญพิทักษ์  ผู้ประกอบการร้านอาหารชมจันทร์ เสริมว่า ในช่วงเวลาที่มวลกำลังจะเคลื่อนมาจังหวัดอุบลฯ ทางร้านอาหารชมจันทร์ได้เกาะติดข่าวสารประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยทางร้านคาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจึงตัดสินใจย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สู่ปลอดภัย ซึ่งจากการคาดการณ์นั้นทำให้ร้านสามารถรับมือกับมวลน้ำได้ทัน ทั้งนี้ตนจึงอยากสะท้อนปัญหาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า อยากให้ภาครัฐลงมาเยียวยาผู้ประกอบการภาคเอกชนหลังน้ำลดส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรับปรุงระบบเตือนภัยแจ้งข่าวสารที่เป็นจริง อย่ากังวลว่าประชาชนจะแตกตื่น

นายกำพลแสน อรรคบุตร ผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท เอนิว เอสเตท จำกัด ผู้รับผิดชอบโครงการหมู่บ้าน The River Ubon เล่าว่า หมู่บ้าน The River Ubon เป็นโครงการอสังหาทรัพย์มีผู้อาศัยอยู่ 200 หลังคาเรือน โดยในส่วนของตัวโครงการไม่ได้รับผลกระทบเพราะทางบริหารได้คาดการณ์ตั้งจุดวิกฤตของสถานการณ์จึงสามารถรับมือแจ้งเตือนลูกค้าภายในโครงการได้ทันท่วงที แต่ส่วนที่รับได้ผลกระทบจะอยู่ที่บริเวณถนนหน้าโครงการมีน้ำท่วมขังสูงระดับเอว

ทั้งนี้ต้องยกความดีความชอบการแก้ปัญหาจัดการภายในหมู่บ้านให้กับผู้บริหารโครงการที่ยึดหลัก “ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกบ้านเดือดร้อน” ซึ่งในส่วนนี้เองจึงอยากเสนอให้หน่วยที่เกี่ยวข้องลองใช้แนวคิดของ The River Ubon เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ยึดหลักทำเพื่อประโชยน์ของประชาชน

จากนั้นด้าน พระครูวิศิษฎ์ ธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดท่ากกแห่ เล่าถึงผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมว่า ในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมขังภายในวัดระยะเวลาประมาณ 1 เดือนกว่า พระภิกษุ สามเณร ทั้งหมด 20 รูปลำบากไม่สามารถออกบิณฑบาตได้และเมื่อน้ำลดบริเวณตลิ่งของวัดเกิดการตลิ่งทรุด โดยเกิดจากสาเหตุการระบายแบบฉับพลัน ซึ่งจากเหตุการณ์นี้อยากให้ภาครัฐเข้ามาเยียวซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความที่เสียหายสนับสนุนงบประมาณบำรุงวัด

ส่วน นายเจริญ บุดดีเสาร์ ตัวแทนชาวบ้านพื้นที่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เล่าถึงผลกระทบว่า อำเภอเขื่องในมีแม่น้ำหลายสายล้อมรอบ ทำให้หลายพื้นได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีน้ำท่วมขังส่งผลให้พืชเกษตรได้รับความเสียหายนาข้าวแช่น้ำเป็นเวลาหลายวัน นอกจากนี้หลังจากสถานการณ์คลี่คลายสิ่งที่ตามมาคือระบบประปาในหมู่บ้านเสียหาย ฝากถึงภาครัฐให้เข้ามาระบบสาธารณูปโภคของชาวบ้านให้กลับมาเป็นปกติดังเดิม

ต่อมา นายพงศภัค ตรีผลา ตัวแทนจาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า สาเหตุของเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านเกิดจากร่องกดอากาศพัดผ่านตามฤดูกาล ส่วนการแจ้งเตือนภัยมีทุกระยะแต่การแจ้งเตือนภัยเป็นระบบมีศูนย์บัญชาการสั่งการระดับจังหวัด อำเภอและท้องถิ่น ซึ่งกระบวนแจ้งเตือนจากท้องถิ่นไปยังชุมชนอาจจะมีส่วนขาดหายในช่วงนั้น ในภาวะฉุกเฉินการแจ้งเตือนอาจมีสิ่งรบกวนในพื้น ด้านช่วยเหลือหน่วยงาน ปภ. มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 24 คน ยังมีข้อจำกัดในเคลื่อนกำลังเข้าพื้นที่และการเยียวยาต้อประเมินสถานการณ์เป็นระยะเพื่อที่การเยียวยาจะได้เข้าไปยังตรงจุด

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2562 เป็นบทเรียนสำคัญให้กับหน่วยงาน ปภ. หลังจากนี้จะมีการประชุมซักซ้อมแผนอุทกภัยและแก้ปัญหาจุดที่ยังไม่เติมเต็ม ด้านการเยียวยาจะดำเนินการตามแบบระบบกระทรวงการคลังซึ่งทางจังหวัดก็ติดตามเป็นระยะเป็นระเบียบราชการ

จากนั้น นางบันเทิง พลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาลดงห่องแห่ ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2562 เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถรับมือได้ทัน ซึ่งตนได้ลงพื้นที่และสะท้อนออกมาว่า 1) ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายเกิดภาวะเครียดบางรายถึงขั้นเกิดอาการซึมเศร้าอยากฆ่าตัวตาย 2) ศูนย์พักพิงไม่เพียงพอ ไม่มีหน่วยงานท้องถิ่นรับผิดชอบ 3) การแจกอาหารกับชาวบ้านในพื้นที่ทับซ้อน เกิดจาการแย่งชิงอาหารในศูนย์พักพิง 4) ความเสียหายของทรัพย์สิน ชาวบ้านขาดกำลังช่วยขนย้ายและบางส่วนยังใจเย็นกับสถานการณ์

5) เรือช่วยเหลือไม่เพียงพอ ต้องอาศัยเรือจากมูลนิธิและภาคเอกชน แต่ผู้ที่จะเข้ามาช่วยเหลือไม่ใช่คนในพื้นที่ขาดประสบการณ์ ต้องอาศัยคนในพื้นที่ 6) ขาดผู้ดูแลคนป่วยและผู้สูงอายุ 7) ปัญหาอาชญากรรมในศูนย์ ควรผู้นำศูนย์คอดูแล อย่างไรก็ตามหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งชาวบ้านพึ่งพาตนเองและทั้งนี้อยากเสนอให้ทางจังหวัดลงพื้นที่นำชุมชนซักซ้อมแผนรับมือน้ำท่วมสร้างความรับรู้ให้กับประชาชนพร้อมรับมือกับอุทกภัย

ด้านตัวแทนสื่อมวลชน ชลธิษ จันทร์สิงห์ นายกสมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานี เผยมุมมองว่า การเกิดภัยพิบัติต้องยอมรับว่าการช่วยเหลือพร้อมกันจำนวนมากอาจจะไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ทำให้สิ่งที่ประชาชนควรจะทำคือเริ่มช่วยตนเองเป็นอันดับและส่วนการสื่อสารแจ้งเตือนภัยของภาครัฐที่ล้าช้าควรปรับปรุงลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นเท่าทันเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ด้านคนที่ในพื้นที่ก็ยังเชื่อกับภูมิปัญญาความเชื่อเดิมทำให้เกิดความชะล้าใจ

ดังนั้นประชาชนเองต้องเริ่มเรียนรู้พร้อมรับความรู้ใหม่สร้างการตื่นตัวและชุมชนกับภาครัฐ ต้องเริ่มคาดการณ์รู้จักวางแผนเพื่อลดความเสียหายภัยธรรมชาติป้องกันไม่ได้แต่เราสามารถรับมือได้ นอกจากนี้เรื่องสิทธิเยียวยาเป็นสิ่งสำคัญประชาชนที่ได้รับผลกระทบควรได้รับสิทธิเยียวยา ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องมาดูแลทำลายกำแพงปัญหาระเบียบการต่างๆให้หมดไป

ส่วนตัวแทนนักวิชาการจาก มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต (Nature care) สรุปเป็นภาพรวมว่า ข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำท่วมสูงระดับสีแดง 5 อำเภอ ซึ่งสาเหตุหลักของน้ำท่วมครั้งนี้มาจากธรรมชาติ กายภาพ การบริหารจัดการและผลของน้ำท่วมกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัยากรสุขภาพ

ซึ่งจากภาพรวมสะท้อนเป็นทางแนวจัดการ 1) สร้างระบบช่วยเหลือรวดเร็ว 2) บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยใช้ชุมชนเป็นที่ตั้ง 3) พัฒนานวัตกรรมแจ้งเตือนภัย 4) ภาครัฐจัดพื้นที่ดูแลกลุ่มเปราะบาง 5) จัดจุดอำนวยบริหารจัดการเป็นระบบ 6) การเยียวยาต้องการกระจายไปให้ทั่วถึง 7) ขุดมูลลัด หนองกินเพล-ปากกุดหวาย ขนาดเท่าลำมูลน้อย ระยะ 4 กม.

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง