รีเซต

'ปธ.ป.ป.ช.' น้อมรับ คอมเมนต์โครงการต้านโกง ยัน จะได้ไม่เกิดขึ้นอีก

'ปธ.ป.ป.ช.' น้อมรับ คอมเมนต์โครงการต้านโกง ยัน จะได้ไม่เกิดขึ้นอีก
มติชน
23 สิงหาคม 2564 ( 15:42 )
60

 

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์โครงการต้านโกง กรณีพูดต้านโกงใช้เงินถึง เจ็ดล้านบาทมีตัวชี้วัดอย่างไร ว่า เป็นเรื่องของกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ได้มีการจัดตั้ง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีอยู่ 4 วัตถุประสงค์ แต่วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือสนับสนุนภาคเอกชนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ในการป้องกันการทุจริต ฉะนั้นเมื่อมีโครงการสนับสนุนภาคเอกชนในการจะเผยแพร่เอกชนก็มีสิทธิ์เสนอโครงการเข้ามาและเมื่อเสนอโครงการเข้ามาทางเราก็วิเคราะห์ ฝโดยมีสำนักนโยบายและแผน และสำนักสื่อสารองค์กร ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์การสร้างความรับรู้ก็จะวิเคราะห์คำขอและเงื่อนไขต่างๆทั้งเรื่องงบประมาณที่จะใช้และตัวชี้วัด

 

 

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เมื่อผ่าน 2 สำนักนี้แล้วก็จะเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการ ในส่วนของอนุกรรมการก็จะมีตัวแทนจากทางกองทุนฯและมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาช่วยกันวิเคราะห์ว่าโครงการที่ภาคเอกชนขอมามีความเหมาะสมหรือไม่ แล้วเรื่องนี้ก็มีการผ่านอนุกรรมการเรียบร้อยแล้ว หลังจากผ่านอนุกรรมการก็ได้มีการปรับลดมีการกำหนดตัวชี้วัดมีการเพิ่มเติมคำแนะนำเงื่อนไขต่างๆและจากนั้นเรื่องก็จะเข้าสู่การประชุมกองทุนฯ โดยตนเป็นประธานและมีคณะกรรมการป.ป.ช. ผู้ทรงคุณวุฒิในต่างละด้านมีผู้แทนส่วนราชการจากสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังร่วมด้วย คณะกรรมจะวิเคราะห์ตามที่อนุกรรมการได้เสนอมา เมื่ออนุมัติก็ดำเนินการต่อ

 

 

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ต้องดูว่าการประเมินตามตัวชี้วัดต่างๆเป็นไปตามตัวชี้วัดหรือไม่ แล้ววันนี้ก็น้อมรับว่าเรื่องของข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเกี่ยวกับโซเชียล มีเดียมีมีอิทธิพลมากและมีความรวดเร็วมากฉะนั้นสิ่งคอมเมนต์คณะกรรมการป.ป.ช. ไม่สบายใจและจะนำมาประกอบข้อมูลตรงนี้ให้แก่คณะกรรมการที่ประเมินตัวชี้วัดของโครงการดังกล่าวแล้วจะมีการปรับปรุงแก้ไข

 

 

“ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ถือว่าเป็นบทเรียนกับความผิดพลาด ส่วนข้อแนะนำต่างๆป.ป.ช.น้อมรับ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ต้านโกงฉะนั้นทำอะไรไปอาจจะมีผิดพลาดบ้างแต่ทุกอย่างเป็นการตั้งใจที่จะรณรงค์ให้ทุกคนมามีส่วนร่วมแต่ก็มีอะไรที่ทำไม่รอบคอบไปบ้าง ซึ่งก็จะเอามาประเมินและแก้ไขเพื่อให้ในครั้งหน้าจะไม่เกิดขึ้นอีกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง