รีเซต

ไขข้อสงสัย ‘แผ่นดินไหวถี่ๆ’ เกิดขึ้นจากอะไร-ก่อสึนามิได้หรือไม่?

ไขข้อสงสัย ‘แผ่นดินไหวถี่ๆ’ เกิดขึ้นจากอะไร-ก่อสึนามิได้หรือไม่?
TNN ช่อง16
7 กรกฎาคม 2565 ( 14:55 )
95

ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว .ภูเก็ต (ภาคประชาชนได้โพสต์ข้อความหลังจาก เกาะนิโคบาร์ เกิดแผ่นดินไหวติดต่อกันหลายครั้ง จนประชาชนกังวลว่าจะเกิดสึนามิเหมือนในอดีต  โดยระบุว่า 

ในช่วงสองสามวันนี้ มีคำถามมากมายเกิดขึ้นในหน้าเพจ ถ้าตัดความเชื่อในเรื่องสิ่งเร้นลับและความมั่นใจในอำนาจเหนือธรรมชาติจากบางคอมเม้นไปแล้ว ที่เหลืออยู่ก็เป็นคำถามที่ตั้งใจหาคำตอบว่า "ทำไมแผ่นดินไหวถี่จัง"

ก่อนจะรู้เหตุผลของทำไมนั้น ต้องรู้ก่อนว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหว เผื่อใครยังไม่รู้ว่าแผ่นดิน หรือเรียกอีกอย่างว่า "เปลือกโลก" นั้นเปรียบเหมือนแผ่นชิ้นขนมปังที่ลอยอยู่บนช็อคโกแล็ตข้นๆในแก้ว แต่เปลือกโลกมันต่อติดกันสนิทกว่านั้น

บางแผ่นเชื่อมต่อกันแบบขอบชนขอบ บางแผ่นต่อกันแบบมุดลงใต้อีกอัน บางแผ่นก็เกยกัน ตรงนี้เองเป็นตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น ทุกๆครั้งที่แผ่นเปลือกเคลื่อนที่ จะเกิดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน และสิ่งนี้เองที่เราเรียกว่า "แผ่นดินไหว"

แผ่นดินไหวเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 

1.ธรรมชาติ 

2.มนุษย์

แผ่นดินไหวที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก ส่วนแผ่นดินไหวจากมนุษย์ เกิดจากกิจกรรมต่างๆเช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่

แล้วทำไมครั้งนี้ถึงเกิดแผ่นดินหลายครั้ง?

ที่จริงแล้วในโซนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวรัวๆแบบนี้มาแล้วหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดที่เพจได้รายงานคือวันที่ 1 เมษายน 2019 ตั้งแต่หกโมงเช้า ยาวไปจนถึงห้าทุ่ม ไหวรวมๆกว่า 30 ครั้งเช่นกัน*

เนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและแผ่นพม่า ไปพร้อมๆกันมุ่งสู่ทางเหนือ ทีนี้ความเร็วในการเคลื่อนมันไม่เท่ากันเลยทำให้ขอบแผ่นทั้งสองเบียดกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นรัวๆ จนเป็นที่มาของคำถามว่า ‘ทำไมแผ่นดินไหวถี่จัง’? 

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวรัวๆใน มีดังนี้

1. 9 พ.ย. 2015 นิโคบาร์ จำนวน 9 ครั้ง

2. 2 ก.พ. 2019 สุมาตรา จำนวน 13 ครั้ง

3. 1 เม.ย. 2019 นิโคบาร์ จำนวน 30 ครั้ง

**ทุกครั้งไม่เกิดสึนามิ**

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุปกรณ์ตรวจจับ และเตือนภัยแผ่นดินไหวก็คือการเตรียมตัวรับมือของประชาชนเอง ควรศึกษาทางหนีภัย และการเตรียมอุปกรณ์ยังชีพเพื่อให้อยู่รอดระหว่างรับการช่วยเหลือ เราเคยมีประสบการณ์มาแล้ว เราเรียนรู้ธรรมชาติของมันแล้ว เหลือแต่เพียงว่าเมื่อไรจะได้เอาความรู้นั้นมาใช้เพื่อรักษาชีวิตรอด

ข้อมูลจาก  :  ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว .ภูเก็ต (ภาคประชาชน)

ภาพจาก  :    ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว .ภูเก็ต (ภาคประชาชน)/AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง