รีเซต

นักวิจัยจีนพบ 'นักล่ายุคโบราณ' ญาติของเสือโคร่งปัจจุบัน วิวัฒนาการแยกเมื่อกว่า 2.6 แสนปีก่อน

นักวิจัยจีนพบ 'นักล่ายุคโบราณ' ญาติของเสือโคร่งปัจจุบัน วิวัฒนาการแยกเมื่อกว่า 2.6 แสนปีก่อน
Xinhua
7 สิงหาคม 2565 ( 13:43 )
74

ปักกิ่ง, 7 ส.ค. (ซินหัว) -- นักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนสามารถระบุสายพันธุ์เสือโคร่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งมีวิวัฒนาการแบบแยกสาย (divergent) อย่างลึกซึ้งจากเสือโคร่งปัจจุบัน ได้จากฟอสซิลที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งจะช่วยเผยให้เราเห็นถึงภาพการวิวัฒนาการที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นของเหล่าแมวยักษ์เหล่านี้บรรดานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (China University of Geosciences) ในนครอู่ฮั่น พบว่าสายพันธุ์เสือโบราณดังกล่าวซึ่งปัจจุบันถูกเรียกชื่อว่า "เสือต้าอัน" มีวิวัฒนาการแยกออกจากเสือโคร่งสมัยใหม่เมื่อประมาณ 268,000 ปีก่อน ซึ่งยาวนานกว่าสองเท่าของอายุบรรพบุรุษสือโคร่งสมัยใหม่ ซึ่งคาดว่ามีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 125,000 ปีก่อน

 

โคร่งในอดีตกาล และเป็นถิ่นอาศัยในปัจจุบันของเสือโคร่งอามูร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อเสือโคร่งไซบีเรียการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อไม่นานนี้ในโพรซีดดิงส์ ออฟ เดอะรอยัล โซไซตี บี (Proceedings of the Royal Society B) วารสารการวิจัยทางชีววิทยาของราชสมาคมแห่งลอนดอน ระบุว่าผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอที่หลงเหลืออยู่พบว่ากระดูกขากรรไกรนี้ไม่ใช่ของไฮยีน่า แต่เป็นของเสือโคร่งไม่ทราบสายพันธุ์ชนิดหนึ่ง และมันมีอายุเก่าแก่ถึงกว่า 43,500 ปีนักวิจัยสามารถกู้คืนข้อมูลจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งของไมโตคอนเดรียและนิวเคลียร์ของฟอสซิลดังกล่าวได้ เพื่อทำการศึกษาประวัติสายตระกูลทางฝ่ายแม่และฝ่ายพ่อของเสือโคร่งโบราณนี้

นักวิจัยยังพบซากฟอสซิลของสิงโตถ้ำในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย แม้ว่าจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพวกมันเคยมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับสายพันธุ์นักล่ายุคโบราณที่เพิ่งถูกค้นพบและเป็นญาติห่างๆ ของเสือโคร่งยุคใหม่สายพันธุ์นี้หรือไม่ อย่างไรก็ดี การศึกษาระบุว่าเมื่อมองจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ซ้อนทับกันระหว่างนักล่าสองชนิดนี้ ซึ่งปกติมักอยู่อาศัยในพื้นที่ที่แตกต่างกันอย่างมากนั้น ทำให้ข้อสังเกตนี้ยังคงไม่น่าเป็นไปได้ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าว ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเสือโคร่งก่อนถึงช่วงแตกแขนงสายวิวัฒนาการ (radiation) รอบล่าสุดพวกมัน ขณะเดียวกันก็ย้ำถึงความเก่าแก่ทางพันธุกรรมของฟอสซิลเสือโคร่งที่พบในประเทศจีน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง