รีเซต

ขั้นตอนประเมินความเสี่ยง "ติดโควิด" ผ่าน "หมอพร้อม" Chatbot เช็กอาการโควิด ติดโอมิครอนหรือยัง?

ขั้นตอนประเมินความเสี่ยง "ติดโควิด" ผ่าน "หมอพร้อม" Chatbot เช็กอาการโควิด ติดโอมิครอนหรือยัง?
Ingonn
23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 13:44 )
1.1K
ขั้นตอนประเมินความเสี่ยง "ติดโควิด" ผ่าน "หมอพร้อม" Chatbot เช็กอาการโควิด ติดโอมิครอนหรือยัง?

โอมิครอน หรือ โอไมครอน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูง เสี่ยงต่อการติดโควิดได้ง่าย ซึ่งนอกจากการตรวจโควิด ด้วย ที่ตรวจ ATK หรือ ตรวจ RT-PCR แล้ว สิ่งที่สามารถทำได้เบื้องต้นอีกอย่างคือ การประเมินความเสี่ยง "ติดโควิด" ผ่าน "หมอพร้อม" โดยใช้ไลน์หมอพร้อม ฟังก์ชัน "หมอพร้อม Chatbot" ที่จะมาสำรวจอาการโควิด พร้อมแนะนำวิธีเข้ารักษาโควิดเบื้องต้น

 

กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาฟังก์ชันการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 บนระบบหมอพร้อม Chatbot เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยคัดกรองผู้ที่มีผลการตรวจโควิด 19 เป็นบวก ให้ได้รับคำแนะนำในการเข้ารับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ โดยการประเมินดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  1. การประเมินตนเองเพื่อคัดกรองภาวะวิกฤต 
  2. การประเมินตนเองเพื่อคัดกรองความเร่งด่วน 

หมอพร้อม Chatbot ดียังไง

เมื่อผู้ติดเชื้อทำแบบประเมินความเสี่ยง บนหมอพร้อม Chatbot ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพพื้นฐานของผู้ติดเชื้อ อาการและความพร้อมในการรักษาตัวที่บ้าน อ้างอิงจากผลการศึกษาทางวิชาการของกรมการแพทย์ สามารถประเมินให้ตนเองหรือบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อได้ โดยเครื่องมือการประเมินมีค่าความแม่นยำร้อยละ 85

 

ผลจากการประเมินเป็นการให้คำแนะนำในเบื้องต้น ไม่ใช่การวินิจฉัยทางการแพทย์ หากผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการรุนแรงขอให้เข้ารับการรักษาโดยเร่งด่วน และหากมีอาการนอกเหนือจากที่แบบประเมินกำหนด หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ 

 

ช่องทางการประเมินความเสี่ยงบนหมอพร้อม Chatbot

  1. LINE Official Account
  2. แอปพลิเคชัน หมอพร้อม
  3. ช่องทางแชทบน Facebook Page ของหมอพร้อม

 

ขั้นตอนประเมินความเสี่ยง "ติดโควิด" บน "หมอพร้อม Chatbot"

สำหรับผู้ที่มีอาการโควิด

  1. หมอพร้อม Chatbot จะมีเมนู “ติดโควิด คลิกที่นี่”
  2. จากนั้นระบบจะถามคำถามเพื่อประเมินและคัดกรองภาวะวิกฤต ได้แก่
    • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจไม่ทัน หายใจเหนื่อยจนซี่โครงบาน หายใจเร็วกว่า 20 ครั้งต่อนาที หายใจมีเสียงดัง
    • อาการซึมลง ไม่รู้สึกตัว
    • อาการตัวซีด เย็น
    • อาการเหงื่อท่วมตัว
  3. หากมีอาการจะแนะนำว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินให้ติดต่อ 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลหรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

 

สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย

  1. หากไม่มีอาการดังกล่าวจะแนะนำให้ทำแบบประเมินคัดกรองความเสี่ยงต่ออาการรุนแรง ซึ่งจะมีการสอบถามช่วงอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว
  2. สอบถามอาการ เช่น ไอ เจ็บคอ ไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หายใจลำบาก/ไม่อิ่ม จมูกไม่ได้กลิ่น ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน
  3. สอบถามว่าเป็นกลุ่มเปราะบางหรือไม่ เช่น ตั้งครรภ์ มีภาวะติดเตียง ประวัติโรคจิตเวช ซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด มีความพิการและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  4. จากนั้นระบบจะนำคำตอบทั้งหมดมาประเมินและให้คำแนะนำเบื้องต้น เช่น หากแนะนำการดูแลที่บ้าน จะระบุช่องทางติดต่อ 1330 รวมถึงให้คู่มือแนวทางการกักตัวที่บ้าน เป็นต้น

 

 

 

ข้อมูล หมอพร้อม

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง