รีเซต

คอลัมน์ People In Focus: อเล็กซ์ ซัลมอนด์  อดีตมุขมนตรีสกอตแลนด์สู่คอกจำเลยในศาล

คอลัมน์ People In Focus: อเล็กซ์ ซัลมอนด์  อดีตมุขมนตรีสกอตแลนด์สู่คอกจำเลยในศาล
มติชน
26 มีนาคม 2563 ( 14:29 )
59

คอลัมน์ People In Focus: อเล็กซ์ ซัลมอนด์  อดีตมุขมนตรีสกอตแลนด์สู่คอกจำเลยในศาล

อเล็กซ์ ซัลมอนด์ อดีตมุขมนตรีแห่งสกอตแลนด์ ผู้เคยเป็นนักการเมืองแกนนำรณรงค์ให้สกอตแลนด์เกือบได้แยกตัวออกจากอังกฤษ ในการลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี 2014

แต่ในปี 2018 นักการเมืองผู้มีพรสวรรค์มากที่สุดแห่งยุค ต้องดิ้นรนสู้คดีคุกคามทางเพศหลายข้อหา หนึ่งในนั้นคือข้อหาพยายามข่มขืน คดีซึ่งทำให้ซัลมอนด์ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคชาตินิยมสกอต (เอสเอ็นพี) ไปในเวลานั้น

ล่าสุดศาลยกฟ้องข้อหาทั้งหมดแล้วในคดีซึ่งซัลมอนด์ระบุว่าเป็นดคีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง
ซัลมอนด์ นักการเมืองวัย 65 ปี คร่ำหวอดในวงการ ด้วยบุคลิกขี้เล่น คล่องเแคล่ว เป็นตัวแทนของสายชาตินิยมสกอตแลนด์ มานานกว่า 20 ปี

ซัลมอนด์ ทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ให้กับ ธนาคารกลางสกอตแลนด์ ก่อนจะเข้าสู่เส้นทางการเมืองในฐานะสส.ก่อนที่จะได้รับเลือกให้นั่งเป็นหัวหน้าพรรคเอสเอ็นพี ในปี 1990

ซัลมอนด์ ก้าวเป็นหัวหน้าพรรคเอสเอ็นพี และสร้างภาพลักษณ์พรรคเอสเอ็นพีขึ้นใหม่ นำเอสเอ็นพี ก้าวสู่เวทีการเมืองแถวหน้าของอังกฤษอย่างสง่างาม

การปฏิรูปกฎหมายของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ อย่างโทนี่ แบลร์ ส่งผลให้ชาวสก็อตแลนด์สามารถเลือกผู้แทนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรใน กรุงเอดินเบอระ ได้เป็นครั้งแรกในปี 1999 อย่างไรก็ตามพรรคเอสเอ็นพี พ่ายแพ้ให้กับพรรคแรงงาน และซัลด์มอนด์ ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคในทันที

อย่างไรก็ตามซัลมอนด์ก็ได้รับเลือกกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคเอสเอ็นพีอีกครั้งในปี 2004 ก้าวหน้าขึ้นเป็นถึงเป็นมุขมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลเสียงข้างน้อยสกอตแลนด์ เมื่อปี 2007 ก่อนที่ในปี 2011 เอสเอ็นพี จะได้ครองเสียงข้างมากและจัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวออกจากอังกฤษในปี 2014 แนวคิดซึ่งเป็นธงในใจของซัลมอนด์มาโดยตลอด

เสน่ห์ของซัลด์มอนด์ มีผลอย่างยิ่งกับการรณรงค์หาเสียงในฝั่งที่ต้องการแยกตัวจากอังกฤษ ผู้สนับสนุนต่างชื่นชมความมุ่งมั่น และแน่วแน่ในอุดมการณ์ที่มีมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตามหลังจากผลการลงประชามติฝ่ายแยกตัวแพ้ไปด้วยสัดส่วนคะแนน 45 ต่อ 55 เปอร์เซ็นต์ ซัลมอนด์ รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งมุขมนตรีและหัวหน้าพรรคเอสเอ็นพีในทันที
คู่แข่งทางการเมืองมักโจมตีซัลมอนด์ว่าเป็นคนมีบุคลิกเย่อหยิ่ง รังเกียจผู้หญิง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เป็นที่นิยมในสายการเมืองแบบประชานิยม

แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ว่าจะฝ่ายสนับสนุนหรือคู่แข่งเห็นตรงกันก็คือ ซัลมอนด์ เป็นนักการเมืองที่มีพรสวรรค์ที่สุดคนหนึ่งของสกอตแลนด์ในยุคนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง