รีเซต

ทำไมบ้านอัจฉริยะต้องมี 'เอไอ'

ทำไมบ้านอัจฉริยะต้องมี 'เอไอ'
มติชน
24 มีนาคม 2563 ( 14:35 )
120
ทำไมบ้านอัจฉริยะต้องมี 'เอไอ'

เทรนด์ของบ้านอัจฉริยะกับการนำ AI (เอไอ) มาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นแนวคิดที่แอลจีให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นวัตกรรม LG ThinQ ที่เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2560 เมื่อแอลจีได้เปิดตัว Artificial Intelligence Lab หรือแล็บ AI ในกรุงโซลอย่างเป็นทางการ เพื่อรวบรวมผลการวิจัยทั้งหมดเกี่ยวกับหลากหลายเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการจดจำ คาดการณ์ และเรียนรู้จากเสียง วิดีโอ และเซ็นเซอร์ ซึ่งแล็บแห่งนี้มีบทบาทในการพัฒนาเครื่องปรับอากาศเครื่องแรกของโลกที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบ เพื่อปรับการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะอื่นๆ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและหุ่นยนต์ดูดฝุ่น โดยภายใต้ LG ThinQ นี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริการที่ใช้งาน AI ทั้งหมดมีความสามารถในการเรียนรู้เชิงลึกและเชื่อมต่อสื่อสารกันเองระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการใช้งานเทคโนโลยี AI ที่หลากหลายจากพันธมิตรอื่นๆ และ DeepThinQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ของแอลจีเอง

ในปี พ.ศ.2561 แอลจีตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคภายใต้ปรัชญา “แพลตฟอร์มแบบเปิดรับ ความร่วมมือแบบเปิดรับ และการเชื่อมต่อแบบเปิดรับ” (“open platform, open partnership and open connectivity”) ด้วยการพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี AI แบบเปิดรับ เช่น การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน การพัฒนาการใช้งาน AI ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ Google Assistant และ Amazon Alexa และการเชื่อมต่ออย่างไร้ขีดจำกัดระหว่างผลิตภัณฑ์ เพื่อมอบให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมการใช้งานได้ยิ่งขึ้น และความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งต่อมาถูกพัฒนาเป็นแนวคิด “พัฒนา-เชื่อมต่อ-เปิดรับ” (Evolve, Connect, Open) ในปี พ.ศ.2562 โดยเสริมศักยภาพของเทคโนโลยี AI เพื่อเปลี่ยนทุกมุมของชีวิตด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับชีวิตของพวกเขาได้อย่างไร้รอยต่อ และเปิดโอกาสไปสู่ระบบนิเวศแห่งนวัตกรรมที่แข็งแกร่งขึ้นผ่านความร่วมมือต่างๆ

ในปัจจุบัน แอลจียังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้งาน AI ที่แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่เกิดจากการที่อุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือฟังก์ชั่นของระบบใดระบบหนึ่งถูกควบคุมผ่านช่องทางเดียวได้ เช่น ผ่านระบบการจดจำเสียง ระดับที่สองคือ การปรับประสิทธิภาพการทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคล (Personalization) ผ่านการเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมต่างๆ เพื่อปรับฟังก์ชั่นการทำงานของอุปกรณ์ให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระดับที่สามคือ การใช้เหตุผล (Reasoning) ในการสังเกตถึงสาเหตุของการเกิดรูปแบบการใช้งานและพฤติกรรมต่างๆ เพื่อคาดการณ์และนำเสนอผลลัพธ์เชิงบวกให้กับผู้ใช้ และระดับสุดท้ายกับการสำรวจ (Exploration) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา AI ของแอลจี โดยเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ ระบบต่างๆ ที่ถูกขับเคลื่อนโดย AI จะสามารถพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ผ่านการสร้างและทดสอบสมมุติฐานต่างๆ นำไปสู่ข้อสรุปใหม่ๆ เปิดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค สอดคล้องกับสโลแกน “Innovation for a Better Life” ของแอลจี

บ้านอัจฉริยะของแอลจีจึงเน้นการนำนวัตกรรมอันล้ำสมัยของ LG ThinQ ที่เชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี AI เสริมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น เริ่มจาก LG Smart Door ที่ยืนยันตัวตนของผู้ใช้ผ่านระบบการจดจำใบหน้า ควบคู่กับระบบการยืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำ ลำโพงอัจฉริยะที่สามารถใช้งานร่วมกับ Google Assistant และ Alexa เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านการสั่งงานด้วยเสียงได้อย่างสะดวกสบาย เครื่องซักผ้าแอลจีระบบ AI DDTM ที่ช่วยคำนวณวงจรการซักที่เหมาะสมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะเนื้อผ้า และยังสามารถสั่งงานล่วงหน้าผ่านอินเตอร์เน็ต ตู้เย็น InstaView Door-in-Door? ที่สามารถตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารสดแต่ละชนิดภายในตู้เย็น พร้อมนำเสนอสูตรอาหารต่างๆ ที่ประกอบด้วยวัตถุดิบนั้นๆ และยังสามารถสั่งงานเตาอบให้ตั้งค่าตามสูตรอาหารเหล่านั้นได้โดยตรง เครื่องปรับอากาศที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้คนที่อยู่ในห้องเพื่อปรับการกระจายอากาศให้เหมาะสม โดย LG ThinQ ยังสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้และปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เหมือนกับที่เคยสั่งงานครั้งก่อนได้ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะ (LG HomBot) ที่สามารถสั่งงานให้เริ่มทำความสะอาดเมื่อออกจากบ้านผ่านการตั้งค่าระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งสมาร์ททีวีที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียงที่ถูกพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยความสามารถในความเข้าใจถึงบริบทของการสั่งงานของผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่กำลังเล่นอยู่บนทีวี เช่น การสอบถามถึงสถานที่ตั้งของฉากหรือแบรนด์เสื้อผ้าที่นักแสดงสวมใส่ในภาพยนตร์ที่กำลังรับชม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้แอลจีได้นำมาจัดแสดงผ่านบ้านจำลองให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้สัมผัสภายในงานแสดงเทคโนโลยีระดับโลกทั้ง LG InnoFest ในปีที่แล้วและ CES เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์บางส่วนก็ได้เข้ามาในตลาดไทยให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ของบ้านอัจฉริยะกันแล้ว ต้องรอติดตามว่าในปี 2020 กับการมาของ 5G นี้ แอลจีจะนำนวัตกรรมทั้ง IoT และ AI มาเสริมความเป็นบ้านอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง