รีเซต

รู้หรือไม่ กองทุนประกันสังคมคืออะไร

รู้หรือไม่ กองทุนประกันสังคมคืออะไร
TNN ช่อง16
19 ตุลาคม 2564 ( 13:46 )
175
รู้หรือไม่ กองทุนประกันสังคมคืออะไร

สำนักงานประกันสังคม มีกองทุนประกันสังคมเพื่อสร้างหลักประกันให้กับสมาชิกที่มีรายได้และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง


กองทุนประกันสังคม คืออะไร


กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ทดแทนเมื่อต้องเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพและว่างงาน โดยมีเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำณวนจากค่าจ้างจริงที่ลูกจ้างได้รับในอัตราเงินสมทบร้อยละ 5 ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15000 บาท ซึ่งเงินสมทบขั้นต่ำอยู่ที่เดือนละ 83 บาท และไม่เกิน 750 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง โดยผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ซึ่งผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเอง ซึ่งควรเป็นสถานพยาบาลที่ใกล้ที่พักหรือสถานที่ทำงาน


ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเมื่อใด




ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


  1. 1. กรณีประสบภัยอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน


จะได้รับบริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอะคริลิก ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บําบัดโรค การบําบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ํายาแบบถาวร และการปลูกถ่ายไต การปลูกถ่ายไขกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา


2. กรณีคลอดบุตร 

จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร


3. กรณีทุพพลภาพ 

จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บําบัดรักษาโรค ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทําศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย 


4. กรณีตาย 

จะได้รับเงินค่าทําศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย

 

5. กรณีสงเคราะห์บุตร 

จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร สําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน 


6. กรณีชราภาพ 

จะได้รับเงินบําเหน็จชราภาพ หรือเงินบํานาญชราภาพ ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการนําส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน 


7. กรณีว่างงาน 

หากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 180 วัน หากลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่


1. กรณีเจ็บป่วยฯ และกรณีทุพพลภาพ 

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ 


2. กรณีคลอดบุตร 

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด 


3. กรณีตาย 

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย 


4. กรณีสงเคราะห์บุตร 

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 


5. กรณีชราภาพ 

มีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเมื่อเสียชีวิต 


6. กรณีว่างงาน 

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน



สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ มีอะไรบ้าง 


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


  1. 1. กรณีเจ็บป่วย 

ผู้ประกันตนได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น และได้รับเงินทดแทนการขาด รายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยได้รับตามที่หยุดงานจริงตามคําสั่งแพทย์ แต่ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วัน ต่อปี เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน 


หากไม่สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรฯ 


ผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นได้ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น โดยมีเหตุผลอันสมควร 

  1. - กรณีประสบอันตราย คือการพบกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่ทําให้บาดเจ็บอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 

- กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ โรคหรืออาการของโรคซึ่งเกิดขึ้นโดยเฉียบพลันที่มีลักษณะ รุนแรงอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลเป็นการด่วน 


ถ้าเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นและผู้ประกันตนได้ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสํานักงานประกันสังคมในอัตราที่กําหนด ดังนี้ 


  1. 1. เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ไม่ว่ากรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้ 

1.1 ผู้ป่วยนอก 

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น 


1.2 ผู้ป่วยใน 

สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงไม่นับวันหยุดราชการ ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท 

  • กรณีประสบอันตราย ผู้ประกันตนสามารถขอรับค่าบริการทางการแพทย์คืนได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง 
  • กรณีเจ็บปวยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนสามารถขอรับค่าบริการทางการแพทย์คืนได้ ประเภท ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในประเภทละไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี 


2. เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ไม่ว่ากรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยฉุกเฉินป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้ 


2.1 กรณีผู้ป่วยนอก

- สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท  

- สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้หากมี การตรวจรักษาตามรายการในประกาศฯ ดังนี้การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด การฉีดสารต่อต้าน พิษจากเชื้อบาดทะยักการฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะเข็มแรก การตรวจอัลตร้าซาวด์ กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลังในช่องท้องการตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กําหนด การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอดหรือตกเลือดจากการแท้งบุตร ค่าฟื้นคืนชีพและกรณีที่มีการสังเกต อาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป 


2.2 กรณีผู้ป่วยใน

- ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกิน วันละ 2,000 บาท  

- ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท  

  • - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห่อง ICU เบิกได่ไม่เกินวันละ 4,500 บาท  
  • - กรณีที่มีความจําเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000- 16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด  
  • - ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท  
  • - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการและหรือเอกซเรย์ เบิกได้ในวงเงิน ไม่เกินรายละ 1,000 บาท  
  • - กรณีมีความจําเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่การตรวจคลื่นไฟฟ้า หัวใจการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงการตรวจคลื่นสมองการตรวจอัลตร้าซาวด์  
  • - การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์การส่องกล้องการตรวจด้วยการฉีดสี การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กําหนด 


3. กรณีมีความจําเป็น ต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจการวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งซึ่งไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะตามอัตราดังนี้


- ภายในเขตจังหวัดเดียวกันสําหรับค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล จ่าย ตามจํานวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสําหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล

- ในกรณีข้ามเขตจังหวัดจ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีก ตามระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางกรมทางหลวง)


4. เมื่อผู้ประกันตนเข้ารับการรักษา ในสถานพยาบาลอื่นผู้ประกันตนหรือญาติผู้เกี่ยวข้อง จะต้องรับแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรังรองสิทธิฯทราบโดยด่วนเพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลต่อไป สําหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบ สํานักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) ตามประเภทและอัตราที่ ประกาศกําหนด ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกินอยู่ในความรับผิดชอบของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ นับตั้งแต่เวลาที่สถานพยาบาลตามบัตรฯ ได้รับแจ้ง


5. กรณีไม่มีบัตรรับรองสิทธิฯ ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ เป็นประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จําเป็นต้องเข้ารับการ รักษาพยาบาล ให้รีบแจ้งสํานักงานประกันสังคมทราบโดยเร็วเพื่อจะได้กําหนดโรงพยาบาลให้รักษาตัวโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายต่อไปและหากไม่มีการแจ้งสํานักงานประกันสังคมภายใน 72 ชั่วโมง สํานักงาน ประกันสังคมจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


กรณีทันตกรรมผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ดังนี้


- กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็นไม่เกิน 250 บาทต่อครั้งและไม่เกิน 500 บาทต่อปี

- กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ วันที่ใส่ฟันเทียม ดังนี้

1. 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นไม่เกิน 1,200 บาท 

2. มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ไม่เกิน 1,400 บาท


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


2. กรณีคลอดบุตร


ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง โดยมีสิทธิดังนี้

1. ผู้ประกันตนหญิงหรือผู้ประกันตนชายที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินฉัน สามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสสามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนําสําเนาสูติบัตรของ บุตร สําเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) หรือหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (เฉพาะกรณีผู้ประกันตนชายใช้ สิทธิ แล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภริยา) มาเบิกเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร ที่สํานักงานประกันสังคมได้ ครั้งละ 12,000 บาท

2. สําหรับผู้ประกันตนหญิงนอกจากจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรแล้วสํานัก ประกันสังคมยังจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


3. กรณีทุพพลภาพ


- ผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยได้รับเป็น รายเดือนไปตลอดชีวิต (ค่าจ้างเฉลี่ย หมายถึง ค่าจ้าง 3 เดือน สูงสุดใน 9 เดือนก่อนเดือนที่ทุพพลภาพซึ่งมี อัตราค่าจ้างไม่ต่ํากว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

-  ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท

- ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจ และ อาชีพตามประกาศสํานักงานประกันสังคม เรื่องกําหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพเท่าที่จ่าย จริงตามความจําเป็น ไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย

- ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป หากเสียชีวิตจะได้รับค่า ทําศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


4. กรณีตาย


- ได้รับค่าทําศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้ จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยคูณ 3

- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย คูณ 10 (ค่าจ้างเฉลี่ย หมายถึง ค่าจ้าง 3 เดือน สูงสุดใน 9 เดือนก่อนเดือนที่ตาย ซึ่งมีอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่า เดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

5. กรณีสงเคราะห์บุตร


ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สําหรับบุตรชอบด้วย กฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม


6. กรณีชราภาพ จะได้รับเงินทดแทนดังต่อไปนี้


เงินบํานาญชราภาพ

1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบํานาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

2. กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบํานาญชรา ภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน


สูตรคํานวณเงินบํานาญชราภาพค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย 20% (+จํานวนที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)


เงินบําเหน็จชราภาพ

1. กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบําเหน็จชราภาพเท่ากับจํานวนเงิน สมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ

2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบําเหน็จชราภาพเท่ากับจํานวน เงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ่ายจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและ ชราภาพพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สํานักงานประกันสังคมประกาศกําหนด

3. กรณีผู้รับเงินบํานาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับ เงินบํานาญชราภาพ จะได้รับเงินบําเหน็จชราภาพ จํานวน 10 เท่าของเงินบํานาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับ คราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย


สูตรคํานวณเงินบําเหน็จชราภาพ 

- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1-11 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว 

- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง+ผลประโยชน์ตอบแทน


**เงินบํานาญชราภาพ จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต เงินบําเหน็จชราภาพ จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว**


ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

7. กรณีว่างงาน


ถูกเลิกจ้าง

- ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยครั้งละไม่เกิน 180 วัน


ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

- ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยครั้งละไม่เกิน 90 วัน (ค่าจ้างเฉลี่ย หมายถึง ค่าจ้าง 3 เดือนสูงสุดใน 9 เดือน ก่อนเดือนที่ว่างงานซึ่งมีอัตราค่าจ้างไม่ต่ํากว่า เดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

- หากใน 1 ปี ปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานทั้ง 2 กรณีให้นับ ระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน หมายเหตุ : ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สํานักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลาออก


ลาออกหรือถูกเลิกจ่ายหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สํานักงานประกันสังคมเขต พื้นที่ จังหวัดทั่วประเทศ หรือขอรับประโยชน์ทดแทนทางโทรศัพท์หรือส่งแบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนได้ ทางไปรษณีย์สําหรับกรณีว่างงานผู้ประกันตนกรณีว่างงานต้องยื่นแบบคําขอรับประโยชน์ทดแทนที่ สํานักงานจัดหางานของรัฐทั่วประเทศ


ผู้ประกันตนสามารถขอรับเงินประโยชน์ทดแทนได้ทางไหนบ้าง

- รับเงินด้วยตนเอง/หรือมอบอํานาจรับเงินแทน 

- รับเงินทางธนาณัติ 

- รับเงินผ่านธนาคาร 9 แห่ง ได้แก่ 

1. ธนาคารกสิกรไทย

5. ธนาคารทหารไทย 2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

6. ธนาคารกรุงไทย 3. ธนาคารกรุงเทพ

7. ธนาคารนครหลวงไทย 4. ธนาคารไทยพาณิชย์

8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

9. ธนาคารไทยธนาคาร


ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเช็กสิทธิประกันสังคมแต่ะละมาตราได้ที่นี่

เช็กประกันสังคมมาตรา 33 ได้สิทธิอะไรบ้าง

เช็กประกันสังคมมาตรา 39 ได้สิทธิอะไรบ้าง

เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้าง



ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th/

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม,AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง