รีเซต

เปิดกฎหมาย "ห้ามตีเด็ก" ประเทศไหนริเริ่มเป็นที่แรกของโลก

เปิดกฎหมาย "ห้ามตีเด็ก" ประเทศไหนริเริ่มเป็นที่แรกของโลก
TNN ช่อง16
29 กันยายน 2563 ( 11:53 )
1.1K

ข่าวครูโรงเรียนอนุบาลทำร้ายเด็ก สร้างความสะเทือนใจแก่พ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมเป็นอย่างมาก  หลายคนต้องการให้ครูที่ทำร้ายเด็กเหล่านั้นถูกลงโทษทางกฎหมายอย่างหนัก  เรามาดูกันว่าประเทศอื่นๆ มีกฎหมายคุ้มครองเด็กอย่างไรบ้าง 


ไม่ใช่เพียงประเทศไทยที่ประสบปัญหาเด็กๆ ถูกผู้ใหญ่ล่วงละเมิด หรือทำร้ายร่างกาย หลายประเทศออกกฎหมายห้ามลงโทษเด็กด้วยการตี ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่โรงเรียน เพราะเชื่อว่า การอบรมที่ดีต้องปฏิบัติกับเด็กด้วยความอ่อนโยน  ไม่ควรทำให้เด็กอับอาย โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 5-6 ขวบ 


สวีเดนเป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายห้ามตีเด็กและลงโทษเด็กทางร่างกาย ตั้งแต่ปี 2522 หรือ 41 ปีมาแล้ว  การลงโทษเด็กไม่ว่าจะเป็นการ ตี ตบ หยิก ดึงผม ก็ทำไม่ได้ทั้งนั้น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน


ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการสวีเดนระบุว่า ในปี 2503 เด็กวัยอนุบาล 9 ใน 10 คน ถูกผู้ปกครองทำโทษที่บ้านด้วยการตี จากนั้นก็มีการสมัครใจเลิกลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงเริ่มจากที่บ้านก่อน และในปี 2501 ก็เลิกใช้ลงโทษด้วยการตีในสถานศึกษา


เรียกได้ว่าทัศนคติของผู้ปกครองและครูในเรื่องการทำโทษเด็กๆ มีการเปลี่ยนแปลงก่อนจะออกเป็นตัวบทกฎหมายเสียอีก ดังนั้นเมื่อรัฐสภาสวีเดนลงมติ ผู้ปกครอง 2 ใน 3 ก็เห็นด้วยกับคำสั่งทางกฎหมายนี้


เมื่อรัฐสภาลงมติในปี 2522 ผู้ปกครอง 2 ใน 3 เห็นด้วยกับคำสั่งห้ามทางกฎหมาย "


เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2522 สมาชิกรัฐสภาสวีเดนเป็นคนแรกในโลกที่ลงคะแนนเสียงห้าม กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522


Dr. STAFFAN JANSSON  คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย คาลสตัด ของสวีเดน ได้เขียนบทวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ The Lancet (แลนเซต) ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ระบุว่า  หลังสวีเดนออกกฎหมายห้ามทำโทษทางร่างกายเด็กๆ  มีเด็ก 1 ใน 3 ถูกตี และ ในปี 2533 ก็เหลือเพียง 1 ใน 5 ที่ยังคงถูกตีอยู่


การเคลื่อนไหวของสวีเดน ส่งผลให้อีกหลายประเทศออกกฎหมายห้ามลงโทษเด็กทางร่างกายเช่นกัน


ฟินแลนด์และนอร์เวย์ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของสวีเดนออกกฎหมายลักษณะเดียวกันในปี 2526 และ 2530 ออสเตรียตามมาในปี 2532 จากนั้นมีอีก 54 ประเทศได้ห้ามการลงโทษเด็ก 2562


เรียกว่าการริเริ่มของสวีเดนกลายเป็นบรรทัดฐานให้รัฐบาลมากกว่า 50 ประเทศได้ปฏิรูปกฎหมายการลงโทษเด็ก 


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline



ข่าวที่เกี่ยวข้อง