เช็คสิทธิ “กองทุนทดแทน ประกันสังคม” เยียวยา “แรงงาน” หลังผลกระทบ “แผ่นดินไหว”

สำหรับ “แรงงานก่อสร้าง”ที่เสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์อาคาร สตง. ถล่ม การเยียวยา “แรงงาน” และ “ลูกจ้าง”ที่ได้รับอันตรายอันเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับการทำงาน ประเทศไทยมีระบบกองทุนเงินทดแทน ช่วยดูแลอยู่ และกองทุนมีฐานะความมั่นคงทางการเงินในการดูแล ผลกระทบจากภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้
สำหรับ”แรงงาน” หรือ “ลูกจ้าง” ที่ได้รับผลกระทบอันตรายหรือสูญหายจากแผ่นดินไหวเนื่องจากการทำงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม สามารถดูแลตามเงื่อนไขของกฎหมายตามนี้
1. รักษาพยาบาล ตามความจำเป็นไม่เกิน 65,000 บาท กรณี โรงพยาบาลรัฐจ่ายตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษา กรณีโรงพยาบาลเอกชนสูงสุดไม่เกิน หนึ่งล้านบาท
2. หยุดงานจ่ายร้อยละ 70 ของค้าจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 14,000 บาท) ตั้งแต่วันแรกไม่เกิน 1 ปี
3. สูญเสียอวัยวะได้รับร้อยละ 70 สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
4. ทุพพลภาพได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ตลอดชีวิต
5. ตายหรือสูญหาย ค่าทำศพ 50,000 บาท และผู้มีสิทธิได้รับร้อยละ 70 ของค่าจ้างระยะเวลา 10 ปี และได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ กองทุนประกันสังคม
6.ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข
นอกจากนี้ “ผู้ประกันตน” มาตรา 33, 39 ที่ประสบอันตรายหรือได้รับผลกระทบสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีเจ็บป่วย กรณีเสียชีวิต กรณีทุพลภาพ (เงินทดแทนการขาดรายได้) กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (เฉพาะมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน) ส่วน มาตรา 40 ที่ประสบอันตรายหรือได้รับผลกระทบจะมีสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต