ส่องวิวัฒนาการของ AI
ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากความชาญฉลาดของมัน เช่น บาร์ด (Beard) เอไอของกูเกิล (Google), แชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) และเอไอ โฟโต้ช็อป (AI Photoshop) ของอะโดบี (Adobe) แต่กว่าเอไอจะถูกพัฒนามาจนฉลาดได้อย่างปัจจุบัน มันเคยเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น
ปี 1950
“อลัน ทัวริง (Alan Turing)” ได้คิดค้นความเป็นไปได้ทางคณิตศาสตร์ของเอไอขึ้นมา แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ เพราะคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ สามารถทำตามคำสั่งได้อย่างเดียว อีกทั้งการเช่าคอมพิวเตอร์มีราคาสูงถึง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือประมาณ 6.8 ล้านบาท
ปี 1956
อัลเลน นิวเวลล์ (Allen Newell), คลิฟฟ์ ชอว์ (Cliff Shaw) และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert Simon’s) นำเสนอโปรแกรม “เดอะ โลจิก ทีออริสท์ (The Logic Theorist)” ในงานประชุมดาร์ทมุท ซัมเมอร์ รีเสิร์จ โปรเจ็ค ออน อาร์ทิฟิเชียล อินเทลลิเจน (Dartmouth Summer Research Project on Artificial Intelligence หรือ DSRPAI) โดยมันถูกฝึกให้เลียนแบบทักษะการแก้ปัญหาของมนุษย์
ปี 1980
คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้และประมวลผลเร็วขึ้น จึงมีการพัฒาเอไอที่แพร่หลายมากขึ้นและได้กำเนิดเอไอขึ้น 2 ระบบ คือ
- ดีพ เลิร์นนิ่ง (Deep Learning) โดยจอห์น ฮอปฟิลด์ (John Hopfield) และเดวิด รูเมลฮาร์ต (David Rumelhart) ที่เน้นให้เอไอเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยการเรียนรู้ชุดข้อมูลซ้ำ ๆ
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) โดยเอ็ดเวิร์ด ไฟเกนบอม (Edward Feigenbaum) ที่ให้เอไอเลียนแบบกระบวนการตัดสินใจจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์
ปี 1997
มีการทดลองนำเอไอไปใช้จริงกับมนุษย์ โดย “แกรี่ คาสปารอฟ (Gary Kasparov)” แชมป์หมากรุกโลกได้พ่ายแพ้ให้เอไอที่ชื่อว่า “ดีพ บลู (Deep Blue)”
ปี 2008
แอปเปิล (Apple) ได้เปิดตัวสิริ (Siri) เอไอที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วยเสียง
ปี 2014
แอมะซอน (Amazon) ก็ได้เปิดตัวเอไอลักษณะเดียวกันชื่ออเล็กซา (Alexa)
ปี 2016
ประเทศซาอุดิอะเรียเปิดตัวหุ่นยนต์พลเมืองชื่อ “โซเฟีย (Sophia)” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเอไอ ทำให้หุ่นยนต์สามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้า, การพูดคุยและความคิดเห็นของมนุษย์
ปี 2017
บริษัท เอมเปอร์ เทคโนโลยี (Amper Technology) จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัว “เอมเปอร์ (Amper)” ที่เป็นเอไอสำหรับสร้างเสียงดนตรี
ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ปี 2020
บริษัท โอเพ่นเอไอได้เปิดตัว “แชตจีพีที 3 (ChatGPT 3)” ซึ่งมีความสามารถในการถามตอบที่รอบรู้ โดยในปี 2023 บริษัท ไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้นำแชตจีพีทีมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟต์ เช่น บิง (Bing), เอดจ์ (Edge) และไมโครซอฟต์ 365 (Microsoft 365) ส่งผลให้กูเกิลต้องเร่งเปิดตัวบาร์ด เอไอประเภทเดียวกับแชตจีพีที ซึ่งก็คือโมเดลภาษา (Language Model)