รีเซต

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคดีฟ้อง "กกต." นัดฟังคําพิพากษา 8 ส.ค.นี้

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคดีฟ้อง "กกต." นัดฟังคําพิพากษา 8 ส.ค.นี้
TNN ช่อง16
18 กรกฎาคม 2566 ( 19:38 )
89
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคดีฟ้อง "กกต." นัดฟังคําพิพากษา 8 ส.ค.นี้

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำสั่งให้รับคดี ยื่นฟ้อง 7 กกต. ปมกล่าวหากลั่นแกล้ง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่ไต่สวนคดีหุ้น itv นัดฟังคําพิพากษา 8 สิงหาคม เวลา 09.30 น.


ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง แจ้งว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.20 นาฬิกา นายยงยุทธ เสาแก้วสถิต ยื่นพ้องนายอิทธิพร บุญประคอง ที่ 1 กับพวก รวม 7 คน ว่า โจทก์เป็นหนึ่งในจำนวนคนไทย หลายหมื่นที่ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชี รายชื่อ เขต 8 มีนบุรี กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศที่เลือกผู้สมัครและพรรคก้าวไกลรวมมากกว่าสิบสี่ล้านคน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2599 โดยคาดหวังว่าพรรคก้าวไกลจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และได้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ซึ่งมีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศไทยคนต่อไป 


โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้ง ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการ การเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลายฉบับ เช่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2560 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มีหน้าที่กำกับดูแลงานในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและ ของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 


จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลายฉบับเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมือง มีหน้าที่กำกับ ดูแล งานโดยทั่วไป งานธุรการ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาสและมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง งานในหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมือง กำกับดูแล พรรคการเมือง/การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองโดยจำเลยที่ 7 ขึ้นการบังคับบัญชากับจำเลยที่ 1 ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2566 ต่อเนื่องถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลากลางวันและกลางคืน วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด จำเลยทั้งเจ็ดได้บังอาจกระทำผิดเป็นเจ้าพนักงาน ของรัฐ กระทำการในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐ โดยทุจริต เจตนา ร่วมกันออกประกาศคณะกรรมการ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๖ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา 


โดยจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ลงนามในประกาศดังกล่าว กำหนดวันรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและ แบบบัญชีรายชื่อ ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจำเลยทั้งเจ็ดโดยทุจริต เจตนาร่วมกัน
แบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ออกแบบบัตรเลือกตั้งทั้งการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขต เลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อให้แต กต่างจากการเลือกตั้งหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา พิมพ์บัตรเลือกตั้ง เกินกว่าจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าเจ็ดล้านใบ ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศไม่เข้าใจ หรือสับสน วุ่นวาย รวมทั้งออกระเบียบ ประกาศต่างๆ ในลักษณะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้พรรครัฐบาลเดิมชนะการเลือกตั้งและได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งหรือเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 จำเลยทั้งเจ็ดก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าก่อนการเลือกตั้ง ประชาชนนิยมฝ่ายรัฐบาลน้อยกว่าฝ่ายค้าน โดยก่อน ขณะ หรือหลังรับสมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง 


จำเลยทั้งเจ็ดมีหน้าที่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนว่าผู้ใดไม่มีคุณสมบัติและ/หรือขาดคุณสมบัติที่จะสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมาย แต่จำเลยทั้งเจ็ดหาได้ทำตามอำนาจหน้าที่ของพวกตนไม่ จนปล่อยล่วงเลยมาจนถึงวันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 14พฤษภาคม 2566 มีนายเรื่องไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองหนึ่ง มายื่นคำร้องต่อจำเลยทั้งเจ็ดกล่าวหาว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นสื่อไอทีวี จำนวนเพียงประมาณ 42,000 หุ้น ในจำนวนหลายล้านหุ้น จึงอาจหรือขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 


และต่อมามีผู้อื่น ข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันอีกหลายคน แต่จำเลยก็ไม่ดำเนินการสืบสวน ไต่สวน และวินิจฉัย โดยพลันตามกฎหมาย หรือไม่ส่งเรื่องให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยทั้งเจ็ด ก็ทราบดีว่าคล้ายกับกรณีของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก ที่ถูกพวกจำเลยทั้งเจ็ดเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม2566 ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ลต.สสข.๙ / ๒๕๖๖ คดีหมายเลขแดงที่ ลต.สสข.๒๔ / ๒๕๖๖ คืนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้แก่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดนครนายก 


กรณีถูกกล่าวหา ว่านายชาญชัย ถือหุ้นสื่อเพียงประมาณ 200 หุ้นในจำนวนหลายล้านหุ้น ทั้งโจทก็ได้ส่งหนังสือคัดค้าน และชี้แจงให้จำเลยที่ 1 และที่ 7 ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จำเลยทั้งเจ็ดได้มีหนังสือด่วนที่สุดไปถึงนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ และผู้เกี่ยวข้อง แจ้งคำสั่งศาลฎีกาคืนสิทธิให้แก่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ดังกล่าว ทั้งนายพิธา เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 ปี หรือ 1 สมัย จนครบวาระ ครั้งนี้เป็นการสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ของนายพิธา การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ด ดังกล่าวข้างต้นที่ไม่รีบดำเนินการสืบสวน ไต่สวน วินิจฉัย หรือส่งศาลฎีกา มีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไปตามกฎหมาย 


กรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกร้องเรียนดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ทำให้บุคคลอื่นคือโจทก์หรือนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับ ความเสียหาย เมื่อระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ต่อเนื่องกันถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 จำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ กระทำการในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐ โดยทุจริต เจตนาร่วมกัน 


ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำเลย ทั้งเจ็ดมีพฤติการณ์ที่น่าเคลือบแคลงสงสัย หลายประการ เช่น ประกาศผลการเลือกตั้งได้ช้ากว่าที่ควร จำเลยทั้งเจ็ดปฏิเสธไม่รับความช่วยเหลือ จากหน่วยหรือองค์กรเอกชน และไม่เลือกใช้การสื่อสารที่ทันยุคทันสมัยแต่อย่างใด โดยผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ปรากฎว่าประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งมากกว่าสิบสี่ล้านคนรวมทั้งโจทก์ด้วยเลือกพรรคก้าวไกล จนพรรคก้าวไกลได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับหนึ่งคือได้จำนวน 151 คน 


โดยโจทก์และผู้ลงคะแนนเสียงเลือกนายพิธา และ พรรคก้าวไกลเหตุเพราะเห็นว่านายพิธา เป็นคนมีความรู้ความสามารถสูงเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมุ่งหวังจะให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและนายพิธาเป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อไป แต่จำเลยทั้งเจ็ดโดยทุจริต เจตนาร่วมกัน กลั่นแกล้งนายพิธา ด้วยการประชุมวินิจฉัย ลงมติ หรือมีความเห็นร่วมกันส่งเรื่องที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกร้องเรียนว่าถือหุ้นสื่อไอทีวี ต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลการเมือง อย่างเร่งรีบ เพื่อให้วินิจฉัยว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่มีคุณสมบัติและ/หรือขาดคุณสมบัติที่ จะสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะถือหุ้นสื่อ และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยจำเลยทั้งเจ็ดมิได้ดำเนินการสืบสวน ไต่สวน และวินิจฉัยให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน ตามอำนาจหน้าที่ หรือตามขั้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด 


อันเป็นการดำเนินการก่อนหรือขณะวันโหวตเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็น นายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เพื่อลดความน่าเชื่อถือของนายพิธา และพรรคก้าวไกล ต่อสมาชิกรัฐสภา ทั้งที่นายพิธา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจนครบหนึ่งสมัยหรือสี่ปีแล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีผู้ใดร้องคัดค้านแต่อย่างใด จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ทำให้บุคคลอื่นคือโจทก์และ/หรือนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับความเสียหาย
เหตุเกิดที่ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร


ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำสั่งให้รับคดีไว้เพื่อตรวจพ้อง ให้นัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา  






ภาพจาก AFP/กกต.

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง