สมาคมพิทักษ์สัตว์ จี้รัฐออกกม.พิทักษ์ลิง ผู้ส่งออกกะทิ-มะพร้าวรับยอดขายวูบ30%

สมาคมพิทักษ์สัตว์ ชงผ่าน”จุรินทร์”เร่งรัฐออกกม.พิทักษ์ลิงโดยเฉพาะ ผู้ส่งออกกะทิ-มะพร้าวยอมรับกระทบยอดขายวูบ30%
ที่กระทรวงพาณิชย์ นายโรเจอร์ โลหะนันท์ นายกสมาคมพิทักษ์สัตว์(ไทย)และประธานอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ กล่าวก่อนเข้าประขุมแนวทางการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย ที่มีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับประชุม ว่า สมาคมฯจะเสนอต่อที่ประชุมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งออกกฎหมายการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ในส่วนของลิงเข้าไปภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2547 ที่ปัจจุบันดูแลสวัสดิภาพสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว ช้าง แต่ยังไม่มีการออกกฏหมายเพื่อสวัสดิภาพของลิง
นายโรเจอร์ กล่าวว่า การที่มีองค์กรของต่างชาติออกมาให้ข่าวว่าประเทศไทยมีการใช้งานและทารุณลิงเป็นสิ่งที่ภาครัฐของไทยปฎิเสธไม่ได้เพราะมีการใช้แรงงานลิงอยู่จริงทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมมะพร้าว การท่องเที่ยว การแสดงละครสัตว์ ส่วนตัวมองว่าอุตสาหกรรมมะพร้าวเป็นเพียงเหยื่อและจุดเริ่มต้นของการโจมตีขององค์กรด้านพิทักษ์สวัสดิการสัตว์อื่นๆต่อไป และเชื่อว่าจะนำประเด็นการทารุณสัตว์ออกมาเรื่อยๆ หากไทยไม่มีการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์โดยเฉพาะทั้งลิง และสัตว์ที่ใช้แรงงานชนิดอื่น
นายโรเจอร์ กล่าวต่อว่า การใช้แรงงานลิงในการเก็บมะพร้าวของคนไทย ถือเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีมานาน ยากที่จะทำให้หมดไปดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์ที่คนนำมาใช้แรงงานและประกาศให้ทั่วโลกได้รับทราบและเข้าใจ แทนการออกมาแก้ตัวหรือกล่าวหาว่าประเทศไหนก็มีการใช้แรงงานสัตว์กันหากนำมาเป็นประเด็นตอบโต้ก็จะเถียงกันไม่จบไม่สิ้น
“ ทางออกที่ดีที่สุดคือการทำให้ทั่วโลกเข้าใจว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์ที่เรานำมาใช้แรงงานตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ “ นายโรเจอร์ กล่าว
นายเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการบริหารและผู้จัดการโรงงานชาวเกาะ บริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์กะทิชาวเกาะ กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า ตั้งแต่มีกระแสข่าวไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าว ส่งผลแบนสินค้ากะทิชาวเกาะที่อังกฤษและถูกถอดออกจากชั้นวางสินค้าในห้างขนาดใหญ่ 2-3 ห้าง นั้น ยอมรับว่ากระทบยอดขายหายไปประมาณ 30% ถือว่าสูงมาก อาจเพราะในรายงานของพีต้าระบุชื่อแบรนด์กะทิชาวเกาะชัดเจน ขณะนี้ลูกค้าที่สหรัฐฯสอบถามเข้ามาแต่ยังไม่กระทบยอดขาย เพราะบริษัทชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วว่าใช้แรงงานคน และลงนามเอ็มโอยูกับสวนบางแห่งแล้ว
นายแจ๊ค วัฒนาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทสุรีย์ อินเตอร์ฟู้ดส์จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์สุรีย์ และเอกไทย กล่าวว่าบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และซื้อมะพร้าวจากสวนที่ใช้แรงงานคนสอย พร้อมกับลงนามทำความเข้าใจกับชาวสวนมากว่า ว่าจะต้องไม่มีการใช้ลิง เนื่องจากมีลูกค้าจากบริษัมในเนเธอแลนด์เรีย ปีแล้ว เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยุโรปเน้นในเรื่องดังกล่าว เพราะประเทศเหล่านั้นมีกฎหมายเข้มงวดเกี่ยวกับการใช้แรงงานสัตว์
บทความน่าสนใจอื่นๆ
