รีเซต

ผลิตในเมืองจีนแต่ไปทิ้งในชิลี กระแสฟาสต์แฟชันที่มาเร็ว-เลิกใช้เร็ว แล้วเสื้อผ้าที่โลกไม่ต้องการไปไหนต่อ?

ผลิตในเมืองจีนแต่ไปทิ้งในชิลี กระแสฟาสต์แฟชันที่มาเร็ว-เลิกใช้เร็ว แล้วเสื้อผ้าที่โลกไม่ต้องการไปไหนต่อ?
TNN ช่อง16
9 พฤศจิกายน 2564 ( 19:58 )
389
ผลิตในเมืองจีนแต่ไปทิ้งในชิลี กระแสฟาสต์แฟชันที่มาเร็ว-เลิกใช้เร็ว แล้วเสื้อผ้าที่โลกไม่ต้องการไปไหนต่อ?

ฟาสต์แฟชันกับปัญหาระดับโลก


ทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากมลภาวะที่เกิดจากฟาสต์แฟชันที่เติบโตรวดเร็วขึ้นเรื่อย  เห็นได้จากภูเขาเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งร้างกองมหึมา


ฟาสต์แฟชัน คือ แนวทางในการออกแบบ สร้างสรรค์ และการตลาดของแฟชันเสื้อผ้า ที่เน้นทำให้กระแสแฟชันเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกที่สุด


ขณะที่ผลกระทบทางสังคม จากการบริโภคที่ลุกลามในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า อาทิ การใช้แรงงานเด็กในโรงงาน หรือการกดค่าแรง ล้วนเป็นที่รู้จักกันดี แต่ผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม กลับเป็นที่รู้จักน้อยลงเรื่อย 


ภูเขาเสื้อผ้าที่อาจเพิ่มพูนไม่รู้จบ


ชิลี เป็นศูนย์กลางเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ซึ่งเสื้อผ้าเหล่านี้ล้วนผลิตในจีนหรือบังกลาเทศ และส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย หรือสหรัฐฯ ก่อนเดินทางมาถึงชิลี ซึ่งจะขายทอดไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา


ในแต่ละปี มีเสื้อผ้าประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเกในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ ทางตอนเหนือของชิลี


บรรดาพ่อค้าจากซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ 1,800 กิโลเมตร ต่างเดินทางมาซื้อเสื้อผ้า ขณะที่เสื้ออีกจำนวนมาก จะถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศอื่น  ในลาตินอเมริกา และเสื้อผ้าอย่างน้อย 39,000 ตัน ที่ไม่สามารถขายได้ จะจบลงด้วยการกลายเป็นขยะในทะเลทรายแห่งนี้


เสื้อผ้าพวกนี้มาจากทั่วทุกมุมโลก” อเล็กซ์ คาร์เรโน อดีตพนักงานในพื้นที่สินค้านำเข้าของท่าเรือ กล่าว


เพราะไม่มีใครจ่ายภาษี เสื้อผ้าที่ไม่ได้ขายให้พ่อค้าในซันติอาโก หรือส่งไปยังประเทศอื่น  จะยังคงอยู่ในเขตปลอดอากรเช่นนี้” 


อุตสาหกรรมสิ่งทอก็สร้างน้ำเสีย


ตามรายงานของสหประชาชาติเมื่อปี 2019 พบว่า การผลิตเสื้อผ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในปี 2000-2014 และอุตสาหกรรมนี้ “เป็นต้นตอของน้ำเสียทั่วโลกถึง 20%” โดยการผลิตกางเกงยีนส์ เพียงแค่ตัวเดียว ต้องใช้น้ำถึง 7,500 ลิตร 


ปัญหา คือ เสื้อผ้าไม่สามารถย่อยสลายเองได้และมีสารเคมี ดังนั้นจึงไม่สามารถฝังกลบในพื้นที่ของเทศบาลได้” แฟรงคลิน เซเปดา ผู้ก่อตั้ง EcoFibra บริษัทที่ผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อน โดยใช้เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว กล่าว


ผมอยากเปลี่ยนจุดที่เป็นปัญหา ให้กลายเป็นทางออก” เขากล่าวถึงบริษัทของตัวเอง ที่สร้างขึ้นในปี 2018


เสื้อผ้าที่โลกทิ้ง สู่มือเจ้าของใหม่


รายงานเดียวกันนี้ ยังระบุว่า การผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ถึง 8% และ “ทุก  วินาที สิ่งทอจำนวนหนึ่ง ที่เทียบเท่ารถบรรทุกขยะ ล้วนถูกฝังหรือเผาในที่ใดที่หนึ่งบนโลก


ไม่ว่ากองเสื้อผ้าจะถูกทิ้งไว้กลางแจ้งหรือฝังไว้ใต้ดิน พวกมันจะสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษสู่อากาศหรือช่องทางน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เสื้อผ้าอาจต้องใช้เวลา 200 ปี ในการย่อยสลายทางชีวภาพ และเป็นพิษพอ  กับยางรถยนต์หรือพลาสติกที่ถูกทิ้ง


แต่ก็ใช่ว่าเสื้อผ้าทั้งหมดจะสูญเปล่า คนยากจนที่สุดบางส่วนจากภูมิภาคนี้ ซึ่งมีประชากร 300,000 คน ต่างรื้อกองขยะเพื่อหาเสื้อผ้าแบบที่ต้องการ หรือสิ่งที่สามารถขายได้ ในย่านท้องถิ่นของพวกเขาเอง


โซเฟียและเจนนี่ ผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา ซึ่งเดินทาง 350 กิโลเมตร ข้ามไปยังชิลีราวสองสามวันก่อน ก็กำลังค้นหากองเสื้อผ้า ขณะที่ลูกของพวกเขาคลานไปมาบนนั้นด้วยเช่นกัน


พวกเธอกำลังมองหา “เสื้อผ้าไว้ใช้ในฤดูหนาว” เนื่องจากอุณหภูมิตอนกลางคืนในทะเลทรายของชิลี อาจลดลงในระดับที่พวกเธอไม่เคยเจอมาก่อน 


โลกเริ่มตระหนักถึงปัญหา


ชิลี ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาใต้ ขึ้นชื่อเรื่องการบริโภคที่มากเกินความพอดีของคนในท้องถิ่น การโฆษณาฟาสต์แฟชัน “จึงช่วยโน้มน้าวว่า เสื้อผ้าทำให้เราดูน่าดึงดูดยิ่งขึ้น ทำให้เรามีสไตล์ หรือแม้กระทั่งแก้ความวิตกกังวล” โมนิกา ซารินี ผู้ผลิตสินค้าจากเสื้อผ้ารีไซเคิล กล่าว


โรซาริโอ เฮเวีย ซึ่งเปิดร้านรีไซเคิลเสื้อผ้าเด็ก ก่อนจะก่อตั้งบริษัท Ecocitex ในปี 2019 โดยบริษัทของเธอผลิตเส้นด้าย จากเศษสิ่งทอและเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งในสภาพที่ย่ำแย่ โดยไม่ใช้น้ำหรือสารเคมี 


เธอบอกว่า “เราบริโภคกันแบบนี้มานานหลายปี แต่กลับไม่มีใครสนใจว่า ขยะสิ่งทอพวกนี้ถูกสร้างมากขึ้นเรื่อย


โชคยังดีที่ตอนนี้ ผู้คนเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองบ้างแล้ว

—————

เรื่องพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: MARTIN BERNETTI / AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง