รีเซต

Zuchongzhi ชิปควอนตัมคอมพิวเตอร์จากจีน คว้าอันดับ 1 แรงกว่าของ Google

Zuchongzhi ชิปควอนตัมคอมพิวเตอร์จากจีน คว้าอันดับ 1 แรงกว่าของ Google
TNN ช่อง16
10 กรกฎาคม 2564 ( 16:12 )
284

คอมพิวเตอร์ธรรมดาที่เราใช้งานกันทั่วไป จะมีการประมวลผลบนระบบเลขฐานสอง (Binary Digits หรือหน่วย Bits) รูปแบบข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปจะมีเพียง 0 และ 1 เท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน กำลังของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่อาจไม่เพียงพอต่องานประมวลผลที่ซับซ้อนและมขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา



Quantum Computer คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล ที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้หน่วยที่เรียกว่า Qubit (Quantum Bit) ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลได้หลายสถานะในตำแหน่งเดียว


ความแรงของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะประเมินจากหน่วย Qubit ของหน่วยประมวลผล ซึ่งเมื่อปี 2019 นั้น Google ได้เปิดตัวหน่วยประมวลผล Sycamore ที่มีกำลังการประมวลผลขนาด 54-Qubit ในตอนนั้นถือว่ามันเป็นหน่วยประมวลผลของควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่คอมพิวเตอร์ธรรมดาทำไม่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว 


เป็นต้นว่าในการคำนวณหนึ่งที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้เวลาคำนวณ 200 วินาที ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในระบบเลขฐานสองที่แรงที่สุดในโลกจะต้องใช้เวลานานถึง 10,000 ปีเลยทีเดียว (ซึ่งในภายหลังมีประเด็นออกมาว่าสิ่งที่ Google บอกนั้นไม่เป็นความจริง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้ใช้เวลาเพียง 2.5 วันเท่านั้น ไม่ได้ใช้เวลา 10,000 ปีอย่างที่กล่าวอ้าง)


ทว่า ล่าสุดตำแหน่งนี้ดูเหมือนกำลังจะตกไปอยู่กับคอวนตัมคอมพิวเตอร์จากประเทศจีน ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีน ได้สาธิตประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลควอนตัมที่มีชื่อว่า Zuchongzhi ซึ่งมีกำลังการประมวลผลสูงถึง 66-Qubit เลยทีเดียว


ข้อมูลจากนักวิจัยเผยว่าหน่วยประมวลผล Zuchongzhi นี้ ใช้เวลาในการคำนวณราว 70 นาที ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดจะต้องใช้เวลานานถึง 8 ปี  อีกทั้งยังกล่าวว่าประสิทธิภาพของชิปนั้นรองรับภาระงานได้มากกว่า Google Sycamore ถึง 100 เท่า


แม้ว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ในปัจจุบันก็ยังถูกใช้อยู่เพียงแค่ในวงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องการผลิตและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ ทั้งนี้ เชื่อว่าในอนาคตมันจะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือมวลมนุษย์ เพราะมันอาจเผยความลับทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์รอคอยคำตอบก็เป็นได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง