รู้จักสิทธิ บัตรทอง ในด้าน ทันตกรรม
บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า บัตรทอง (บัตร30บาท) รัฐจัดให้สำหรับผู้ป่วยที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ สามารถรับบริการด้านทันตกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม โดยต้องรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่ท่านอยู่ ถ้ารักษาต่างโรงพยาบาลต้องมีหนังสือส่งตัวระบุโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จึงจะสามารถใช้สิทธิได้
สิทธิบัตรทองจะใช้สิทธิด้านทันตกรรมอะไรได้บ้าง?
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองการรักษาด้านทันตกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ณ โรงพยาบาลของรัฐที่ระบุในบัตรทอง ดังต่อไปนี้ - การอุดฟัน - การรักษาโรคปริทันต์ - การถอนฟัน - การผ่าฟันคุด, การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร - การเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี - การรักษารากฟันน้ำนม - การใส่เครื่องมือปิดช่องเพดานโหว่ - การใส่ฟันเทียมพลาสติกแบบถอดได้ ระยะเวลา 5 ปี / ชิ้น ( สอบถามสิทธิ์บัตรทองได้ที่สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง)
เอกสารประกอบการใช้สิทธิ
1. ใบส่งตัวฉบับจริงพร้อมถ่ายสำเนา 2 ฉบับ
2. สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนา 2 ฉบับ
3. กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีใช้สำเนาสูติบัตร และสำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง 2 ฉบับ
วิธีการใช้สิทธิ
- ผู้ป่วยใหม่ติดต่อที่งานเวชระเบียนพร้อมหนังสือส่งตัว
- ผู้ป่วยเก่าติดต่อหน่วยสิทธิประโยชน์ก่อนเข้ารับการรักษาในคลินิก
สามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการตามสิทธิที่ลงทะเบียนไว้ สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.
หมายเหตุ กรณีที่ผู้ป่วยมีการย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ที่ใหม่ก่อนใบส่งตัวหมดอายุ ใบส่งตัวใบเดิมจะใช้ไม่ได้อีก
ต้องขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลในจังหวัดที่ท่านย้ายไปอยู่มาใหม
++++++++++++++++++++