รีเซต

ครั้งแรกในจีน เมืองอี้อูไฟเขียวเช็กประวัติก่อนวิวาห์ คู่รักเคยใช้ความรุนแรงหรือไม่

ครั้งแรกในจีน เมืองอี้อูไฟเขียวเช็กประวัติก่อนวิวาห์ คู่รักเคยใช้ความรุนแรงหรือไม่
ข่าวสด
24 มิถุนายน 2563 ( 23:15 )
221

 

ครั้งแรกในจีน - วันที่ 24 มิ.ย. บีบีซี รายงานว่า ทางการเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน เตรียมนำระบบตรวจสอบประวัติการใช้ความรุนแรงมาใช้ เพื่อให้ประชาชนที่กำลังแต่งงานทราบว่า คู่รักของตัวเองมีประวัติดังกล่าวหรือไม่

 

Passengers wear masks as they walk past a scanning machine monitoring people's temperature following the new coronavirus outbreak in China, at Bandaranaike international airport in Katunayake, Sri Lanka January 24, 2020. REUTERS/Dinuka Liyanawatte

ระบบดังกล่าวจะเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เรียกเสียงชื่นชมในสื่อสังคมออนไลน์จีน ทั้งเรียกร้องให้ทั่วประเทศใช้ระบบนี้ และควรเพิ่มประวัติการทารุณเด็กด้วย ซึ่งครอบคลุมทั้งการทำร้ายร่างกายและการละเมิดทางเพศ เนื่องจากระบบดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะประวัติการทำร้ายเด็ก

 

เดอะเปเปอร์ เว็บไซต์ข่าวแดนมังกร รายงานว่า ผู้วางแผนวิวาห์จะต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอตรวจสอบว่า คู่สมรสมีประวัติความรุนแรงระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือระหว่างการอยู่ร่วมกันหรือไม่ ผู้ขอตรวจสอบต้องให้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่จะแต่งงาน และสามารถตรวจสอบได้สูงสุดปีละ 2 ครั้ง

AFP

นางโจว ต้านหยิง สมาชิกสหพันธ์สตรีเมืองอี้อู ยินดีกับการเคลื่อนไหวนี้ว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยปกป้องสตรีจากความรุนแรงในครอบครัว ส่วนฐานข้อมูลทะเบียนความรุนแรงในครอบครัวจะใช้ข้อมูลจากศาลและหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

 

หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ยังรายงานคำสัมภาษณ์ศาสตราจารย์กฎหมายท่านหนึ่งที่ระบุว่า ระบบดังกล่าวจะปกป้องสิทธิของบุคคลที่จะทราบข้อมูลบุคลิกภาพของอีกฝ่ายก่อนแต่งงาน

AFP

การใช้ความรุนแรงในจีน

ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการเรียกร้องมากขึ้นเพื่อเข้าถึงข้อมูลของผู้มีประวัติความรุนแรงในครอบครัว เนื่องจากก่อนปี 2544 การทำร้ายร่างกายไม่สามารถเป็นเหตุผลในการหย่าร้างได้ และจีนเพิ่งบังคับใช้กฎหมายลงโทษความผิดเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวเมื่อเดือนมี.ค. 2559

อย่างไรก็ตาม รายงานของตำรวจจีนระบุว่า ความรุนแรงในครอบครัวกลับมาเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ที่ประชาชนต้องอยู่ในบ้านจากมาตรการล็อกดาวน์

 

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว จีนออกกฎหมาย ระยะปลอดพันธะ 30 วัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2564 ให้เวลาทั้งสองฝ่ายคิดการตัดสินใจก่อนหย่าร้าง ทำให้การหย่าร้างยากขึ้น สร้างความกังวลต่อเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์กังวลว่า กฎหมายฉบับใหม่จะเปิดช่องให้ฝ่ายกระทำใช้กำลังหรือข่มขู่เหยื่อห้ามพูดความจริงหรือหนีความสัมพันธ์รุนแรงนี้ไปได้ ต่อให้ครอบครัวที่มีประวัติการใช้ความรุนแรงจะไม่ได้รับสิทธิจากกฎหมายฉบับนี้ แต่ไม่ใช่ทุกครอบครัวที่มีประวัติการใช้ความรุนแรงจะถูกตรวจสอบจากรัฐบาลได้ทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง