รีเซต

ไวรัสโคโรนา : ค่ายผู้ลี้ภัย จะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไร

ไวรัสโคโรนา : ค่ายผู้ลี้ภัย จะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไร
ข่าวสด
30 มีนาคม 2563 ( 18:53 )
80
ไวรัสโคโรนา : ค่ายผู้ลี้ภัย จะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไร

 

ไวรัสโคโรนา : ค่ายผู้ลี้ภัย จะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไร - BBCไทย

สหประชาชาติระบุว่า ทุก ๆ สองวินาที จะมีใครคนหนึ่งจากที่ไหนสักแห่งต้องอยู่ในสภาพกลายเป็นคนพลัดถิ่น ผู้ลี้ภัยจะเป็นกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งเมื่อไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดไปถึง

การอยู่อาศัยกันอย่างแออัด ขาดสุขอนามัยที่ดี จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คนจะล้างมือเป็นประจำ และมีการเว้นระยะห่างทางสังคม

Rohingya family members gather as a part of religious ceremony in Kutupalong refugee camp in Ukhia near Cox's Bazar / Getty Images

ขณะนี้มีความกังวลกันว่าหากไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้แพร่ระบาดไปถึงค่ายผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ทั่วโลก หายนะจะเกิดขึ้น

"ไวรัสยังไม่ระบาดที่นี่ หากมันมาถึงค่ายต่าง ๆ ฉันคิดว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของคนที่นี่จะติดเชื้อ เพราะว่าเราอยู่กันอย่างแออัดมาก" ผู้อพยพคนหนึ่งบอกกับบีบีซี

แนวโน้มหายนะ

Chekufa
ครอบครัวเชกูฟานอนในเต็นท์ยาว 4 เมตร กว้าง 3 เมตร

เชกูฟาและสามี พร้อมลูกสาวสองคนและน้องสาว อาศัยอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอง เมืองคอกซ์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ทั้งหมดนอนรวมกันในเต็นท์ขนาดยาว 4 เมตร กว้าง 3 เมตร

ย้อนไปเมื่อปี 2017 ชาวโรฮิงญามากกว่า 7 แสนคน เดินทางออกจากเมียนมาไปยังบังกลาเทศเพื่อหลบหนีการถูกประหัตประหาร

3 ปี ผ่านไป พวกเขาก็ยังอยู่ที่นี่ เชกูฟาบอกว่าที่นี่มีห้องส้วมและห้องอาบน้ำอย่างละ 1 ห้อง สำหรับคน 10 ครอบครัวใช้ร่วมกัน และมีท่อสูบน้ำบาดาล 1 ท่อ สำหรับ 50 ครัวเรือน

"พวกเราจะหนีไวรัสพ้นได้อย่างไร"

มาตรการป้องกัน

A landscape view in the Kutupalong camp in Cox's Bazar, Bangladesh, October 16, 2018. Getty Images

ตั้งแต่ก่อนจะเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยจากเมียนมา บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกประเทศหนึ่งอยู่แล้ว

เชกูฟาเล่าว่า 2-3 วันที่ผ่านมา กิจกรรมในค่ายปิดตัวลง ไม่ว่าจะเป็นตลาด โรงเรียนสอนศาสนา หรือศูนย์การเรียนรู้

"บางคนก็ซื้อหน้ากากเตรียมไว้ ฉันได้ยินว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรบางกลุ่มเริ่มให้สบู่และสอนวิธีล้างมือให้ถูกต้อง"

สหประชาชาติคาดว่า มีคนมากกว่า 6.6 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามประเทศต่าง ๆ จากจำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ประเมินว่ามีทั้งหมด 26 ล้านคน

ราว 2 ล้านคน จากในจำนวนนั้นอาศัยอยู่ในค่ายที่ปลูกสร้างขึ้นเองง่าย ๆ จากวัสดุที่หาได้ในพื้นที่

ตั้งแต่ก่อนจะเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยจากเมียนมาอพยพเข้าประเทศ บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกประเทศหนึ่งอยู่แล้ว ถึงตอนนี้ บังกลาเทศมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แล้ว 5 คน และเชกูฟาหวังว่าจะมีการส่งบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเหลือที่ค่ายเพิ่ม.

UNHCR
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติติดตั้งจุดล้างมือสำหรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) บอกว่า ถึงตอนนี้ ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในค่ายในบังกลาเทศ พวกเขาได้เตรียมสถานที่สำหรับแยกรักษาคนไข้โควิด-19 แล้ว ซึ่งสามารถรองรับคนไข้ได้ 400 คน และกำลังหาที่สร้างสถานที่สำหรับเตียงเพิ่มอีก 1,000 เตียง

แต่กูตูปาลองเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่และแออัดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เตียงไม่พอ

นอกจากนี้ โรงพยาบาลในเมืองคอกซ์บาซาร์ก็มีความสามารถต่ำมากที่จะรองรับคนไข้สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 และจะไม่สามารถจัดการได้เลยหากมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้นที่นี่

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกำลังเร่งให้ผู้ทำงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ช่วยกันให้ความรู้คนว่าจะจำกัดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างไร แต่มีแนวโน้มว่ามาตรการเหล่านี้จะทำได้มากสุดก็แค่ชะลอการระบาดเท่านั้น

ค่ายที่ดีกว่า

Rozhan
โรซานและครอบครัวอยู่ในค่ายบีฮาชมา 6 เดือนแล้ว

อีกมุมหนึ่งของโลก ห่างจากบังกลาเทศไปราว 7,000 กิโลเมตร ที่ประเทศบอสเนีย ผู้อพยพบางคนดูจะมั่นใจในการรับมือโรคโควิด-19 มากกว่า

โรซาน อายุ 28 ปี อพยพมาจากอิรัก พร้อมกับสามีและลูกสามคน พวกเขาอยู่ในค่ายบีฮาชมา 6 เดือนแล้ว

ครอบครัวเธอพยายามจะเดินทางไปฟินแลนด์ซึ่งพี่สาวและเพื่อนบางคนอาศัยอยู่

"พวกเราหนีจากสงครามแล้วตอนนี้ต้องเผชิญกับไวรัสโคโรนา" โรซานบอกกับบีบีซี

เธอบอกว่าคนที่นี่รู้สึกกังวลอยู่ แต่ก็ไม่ถึงกับกังวลจนเกินเหตุ เธอยังมีความสุขอยู่และได้รับข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการ

ชีวิตเปลี่ยนอีกครั้ง

Sima
ครอบครัวซีมากักตัวเองอยู่ในค่ายบีฮาช

ซีมา อายุ 19 ปี เป็นผู้ลี้ภัยจากปากีสถานที่หนีภัยสงครามจากชายแดน อัฟกานิสถานมาพร้อมคนในครอบครัวอีก 5 คน

ทั้งหมดต้องการย้ายไปอยู่ฝรั่งเศสแต่ก็ติดอยู่ระหว่างทางมา 3 ปีแล้ว ขณะนี้ครอบครัวเธอกักตัวเองอยู่ในค่ายบีฮาช ซึ่งยังมีอาหารและอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอ และก็พยายามอย่างหนักที่จะป้องกันตัวเอง

"ฉันเพิ่งรู้เรื่องไวรัสโคโรนาเมื่อราว 20 วันก่อน และชีวิตเราต้องเปลี่ยนอีกแล้ว เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่นี้"

เดินทางผ่านอิหร่าน

ผู้ลี้ภัยหลายคนจากอัฟกานิสถานและปากีสถานอาศัยการเดินทางในทางบกผ่านอิหร่านซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 เพื่อจะไปยุโรป และพวกเขาก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อเพราะต้องเดินทางผ่านหลายประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคอยู่

ค่ายบีฮาชในบอสเนียมีผู้อพยพอาศัยอยู่ 7,500 คน โดย 5,200 คน ในจำนวนนี้ อยู่ในศูนย์ซึ่งมีแพทย์ให้บริการตรวจโรคโควิด-19 มากขึ้นแล้ว และมีการสร้างสถานที่กักตัวผู้ติดเชื้อแยกเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ดี ผู้อพยพที่อาศัยอยู่นอกค่ายนี้ไม่ได้มีมาตรการการป้องกันใด ๆ และนี่ทำให้มีความเสี่ยงแพร่ระบาดทั้งในหมู่ผู้อพยพเองและชุมชนในพื้นที่

ไม่ทิ้งใคร

Getty Images
ค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอง

องค์การอนามัยโลกบอกว่ากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่เปราะบางเหล่านี้

ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในค่ายผู้อพยพ แต่หากเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ละประเทศก็ต้องหามาตรการจัดการกันเอง

"เราคาดหวังให้ทุกประเทศดูแลผู้ลี้ภัยและผู้อพยพที่อยู่ในเขตแดนของตัวเอง พวกเขาไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง"

อย่างไรก็ดี ประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด มักจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและกำลังในการช่วยเหลือน้อยที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง