รีเซต

ส่อง 5 อันดับ "เรื่องเศรษฐกิจ" ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2565!

ส่อง 5 อันดับ "เรื่องเศรษฐกิจ" ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2565!
TNN ช่อง16
26 ธันวาคม 2565 ( 09:20 )
43
ส่อง 5 อันดับ "เรื่องเศรษฐกิจ" ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปี 2565!

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เผยแพร่ในเพจเฟสบุ๊กธนาคารแห่งประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจที่พูดถึงมากที่สุดในปี 2565 มี 5 เรื่องสำคัญ คือ

1.เงินเฟ้อไทย โดยเงินเฟ้อปีนี้เกิดจากด้านอุปทาน จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่หากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้คนเริ่มคาดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อยๆ ยากที่จะลดลง 

แบงก์ชาติจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยดูแลเงินเฟ้อในภาวะที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากโควิด ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

2.เงินสำรองระหว่างประเทศ มีไว้เพื่อเป็นกันชนรองรับความเสี่ยงด้านต่างประเทศ เช่น กรณีมีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก หรือตลาดการเงินขาดสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศเฉียบพลัน หากประเทศมีเงินสำรองฯ เพียงพอ จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนฃ

โดยฐานะของเงินสำรองฯของไทย ยังแข็งแกร่งและอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล 

3. CBDC (Central Bank Digital Currency) คือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งต่างจากคริปโทเคอร์เรนซีที่ออกโดยภาคเอกชน เช่น บิตคอยน์ ซึ่งมักมีมูลค่าผันผวนและความเสี่ยงที่ขึ้นกับผู้ออกเหรียญ 

ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้พัฒนารูปแบบการโอนเงินแบบเครือข่ายหลายประเทศภายใต้โครงการ CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน (mBridge) ร่วมกับธนาคารกลางจีน ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอยู่หว่างเตรียมทดสอบการใช้งาน CDBC จริงกับรายย่อย (Retail CBDC) ในวงจำกัดร่วมกับภาคเอกชน เพื่อประเมินประโยชน์ ความเสี่ยงและความเหมาะสมของเทคโนโลยีต่อไป

4 .ค่าเงินบาท ในปีนี้ค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่นในเอเชีย เคลื่อนไหวผันผวนภายใต้ความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกที่สูงจากโควิด การปรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา 

โดยเงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่าจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

และ5. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ยืดเยื้อแบงก์ชาติได้ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วยแก้หนี้เดิมและเพิ่มเงินใหม่ ซึ่งได้ปรับมาตรการการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และตรงกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม และได้ร่วมมือกับกระทรวงการคลัง จัดงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหน้ต้องแก้ไขเริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สมัครเข้าร่วมได้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 ฟรี ไม่มีค่าจ่าย 

ที่มาข้อมูล : TNN ONLINE

ที่มาภาพ : TNN 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง