รีเซต

'ธรรมนัส' สั่งสำรวจความเดือดร้อนเกษตรกร แก้วิกฤตน้ำแล้ง ผลผลิตเกษตรตกต่ำ

'ธรรมนัส' สั่งสำรวจความเดือดร้อนเกษตรกร แก้วิกฤตน้ำแล้ง ผลผลิตเกษตรตกต่ำ
ข่าวสด
24 พฤษภาคม 2564 ( 00:57 )
46
'ธรรมนัส' สั่งสำรวจความเดือดร้อนเกษตรกร แก้วิกฤตน้ำแล้ง ผลผลิตเกษตรตกต่ำ

 

'ธรรมนัส' สั่งพด.สำรวจความเดือดร้อนของเกษตรกรหลายจังหวัด แก้ปัญหาวิกฤตน้ำแล้ว ผลผลิตเกษตรตกต่ำ และผลกระทบการส่งออกเนื่องจากโควิด-19

 

 

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2564 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในงานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดินครบรอบ 58 ปี เพื่อระลึกถึงวันก่อตั้งกรมพัฒนาที่ดิน(พด.)ว่า กรมพัฒนาที่ดินถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการที่ดินและการพัฒนาฟื้นฟูปรับปรุงดิน เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาเพิ่มคุณภาพของที่ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตร ให้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดระยะเวลาที่เข้ามาดูแล กรมพัฒนาที่ดิน ถือเป็นหน่วยงานที่มีสมรรถณะสูง แก้ปัญหา สร้างความสุขให้เกษตรกร

 

 

 

 

ทั้งนี้ ช่วงนี้เกิดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับมีกลุ่มแรงงานบางส่วนกลับภูมิลำเนา หันหน้าเข้าสู่อาชีพเกษตร ทำให้เจ้าหน้าที่ของพด.และหมอดินอาสาต้องทำงานอย่างหนัก จัดหาแหล่งน้ำ พัฒนาพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาให้เกษตรกรทั้งรายเดิม รวมทั้งเกษตรกรรายใหม่ที่กลับสู่ภูมิลำเนา ดูแลเกษตรกร เสมือนเพื่อน ญาติ ที่เราหมั่นดูแลอยู่ตลอดเวลา

 

 

 

 

"เพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรในหลายๆ พื้นที่ โดยจะต้องสำรวจความเดือนร้อนเกษตรกรในหลายๆ จังหวัด เพื่อหาแนวทางเร่งวางแผนแก้ปัญหาวิกฤตน้ำแล้ง ผลผลิตภาคเกษตรตกต่ำ อาทิ จ.นครนายก ที่กำลังประสบปัญหาการปลูกไผ่ ทุเรียนราคาตกต่ำ จ.ปราจีนบุรี ทุเรียนแปลงใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จ.นครปฐม ปัญหากล้วยไม้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประสบปัญหาการส่งออก รวมทั้งพื้นที่จ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ที่สวนมะพร้าว ส้มโอกำลังประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงด้านการตลาด" ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

 

 

ด้าน น.ส.เบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินงานขับเคลื่อนทั้งการใช้ที่ดินอย่างมั่นคง การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นองค์กรอัจฉริยะทางดิน ขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570 เพิ่มทักษะดิจิทัล นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและวิถีของเกษตรกร เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว ด้วย Big Data Ai E-Service และ Application เชื่อมโยงการทำงานแบบกลุ่ม ทำงานเชิงรุกอย่างคล่องแคล่ว ปรับตัวเร็ว มีความยืดหยุ่น ส่งผลต่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง